กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพกายใจเพื่อ ผู้สูงอายุวัยมีสุขภาพที่ดี ตำบลยาบหัวนา ปี 2563
รหัสโครงการ 02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลยาบหัวนา
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเสริฐ นวนดี และคณะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอาคม สมบัติเเก้ว
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีการจัดเก็บพันธุ์ข้าว ผัก และมีการเพาะพันธุ์ปลา กุ้ง ปู ในชุมชน
30.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
20.00
3 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
5.00
4 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
12.00
5 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)
8.00
6 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)
60.00
7 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)
70.00
8 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)
80.00
9 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)
70.00
10 จำนวนผู้ที่ต้องการลด ละ และเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(คน)
20.00
11 ร้อยละของผู้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ (เลิกติดต่อกันนานเกิน 6 เดือน โดยไม่กลับไปสูบซ้ำ)
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลจากการสำรวจคัดกรองเพื่อจำแนกผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และคัดครองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อที่ป้องกันได้ของอาสาสมัครสาธารณสุขในตำบลยาบหัวนา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่านปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ในการดูแลภาวะสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย ซึ่งอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลยาบหัวนาได้ดำเนินการร่วมกันกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบหัวนา สถานบริการสาธารณสุขชุมชนบ้านฮากฮาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อหอยและองค์การบริหารส่วนตำบลยาบหัวนา ในการดูแลสุขภาพและคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อที่ป้องกันได้ ทั้งโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและประเมินADL รวมทั้งพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มวัยสูงอายุในเรื่องของการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และอารมณ์กลุ่มวัยสูงอายุ ผู้สูงอายุ 7 หมู่บ้าน 561คน ได้รับการคัดกรองและประเมินพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์จำนวน210คน สรุป๕ องค์ประกอบคือ ๑. ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ วัน ครั้งละ ๑๕-๓๐ นาที ๒. รับประทานผักและผลไม้สดเป็นประจำ(อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๕ วัน) ๓. ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ ๘ แก้วเป็นประจำ ๔. ไม่สูบบุหรี่/ยาเส้น ๕. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์(เช่น สุรา เบียร์ ยาดองเหล้า) กลุ่มวัยผู้สูงอายุ ในเขตตำบลยาบหัวนามีจำนวนมากกว่าร้อยละ ๖๐ ที่มีพฤติกรรมสุขภาพไม่พึงประสงค์ และมีภาวะเครียดจากการถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียวและขาดลูกหลานดูแล ดังนั้นการได้จัดกิจกรรมกิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพกายและใจเพื่อผู้สูงวัยมีสุขภาพที่ดี ตำบลยาบหัวนา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ในกลุ่มวัยผู้สูงอายุและการให้ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมสันทนาการคลายเครียดมีความรู้ด้านสุขภาพจิตเพื่อปรับสภาพจิตใจและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อลดอัตราความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเบาหวานและความดันโลหิตสูง อีกทั้งในรายกลุ่มที่เป็นโรคจะได้ช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ รวมทั้งช่วยลดการเกิดภาวะซึมเศร้า ดังนั้นชมรมผู้สูงอายุตำบลยาบหัวนาจึงได้จัดทำโครงการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพกายและใจเพื่อผู้สูงวัยมีสุขภาพที่ดี ตำบลยาบหัวนา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนตำบลยาบหัวนาและจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุใน 7 หมู่บ้าน โดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุ ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มครัวเรือนที่มีการจัดเก็บพันธุ์ข้าว ผัก และมีการเพาะพันธุ์ปลา กุ้ง ปู ในชุมชน

ร้อยละครัวเรือนที่มีการจัดเก็บพันธุ์ข้าว ผัก และมีการเพาะพันธุ์ปลา กุ้ง ปู ในชุมชน

30.00 70.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ที่ต้องการลด ละ และเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

จำนวนผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปัจจุบัน ทั้งดื่มประจำและครั้งคราว ที่ต้องการลด ละ และเลิกดื่ม เพิ่มขึ้นเป็น(คน)

20.00 50.00
3 เพื่อเพิ่มอัตราการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จติดต่อกันนานเกิน 6 เดือน โดยไม่กลับไปสูบซ้ำ

อัตราการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จติดต่อกันนานเกิน 6 เดือนโดยไม่กลับไปสูบซ้ำเพิ่มขึ้นเป็น(ร้อยละ)

10.00 20.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

5.00 1.00
5 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

12.00 3.00
6 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

8.00 0.00
7 เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

70.00 90.00
8 เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

80.00 95.00
9 เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

60.00 95.00
10 เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

70.00 95.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 25,000.00 0 0.00
1 - 30 ม.ค. 63 ร่วมกันประชุมวางแผน ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ 0 500.00 -
4 พ.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 ประชุมเรื่องสุขภาพกาย และใจ ความรู้เรื่อง การดูสุขภาพของผู้สูงวัยการออกกำลังกาย ที่เหมาะสม การบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ไม่หวาน ไม่เค็ม ไม่มัน 140 23,600.00 -
15 ก.ย. 63 - 15 ก.ค. 63 สรุปผลการดำเนินงาน 0 900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 80 ของแกนนำชมรมผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพกายจิต 2. แกนนำผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดูแลตนเองได้และเผยแพร่แก่สมาชิกในหมู่บ้านได้ 3. แกนนำผู้สูงอายุสามารถดำเนินกิจกรรมออกกำลังกายด้วยตนเองได้ ปลูกผักปลอดสารบริโภคในครัวเรือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2563 00:00 น.