โครงการตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือดของเกษตรกรปี2563
ชื่อโครงการ | โครงการตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือดของเกษตรกรปี2563 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลบางแก้ว |
วันที่อนุมัติ | 2 มีนาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 17,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางธัชกร สุทธิดาจันทร์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 เม.ย. 2563 | 30 ก.ย. 2563 | 17,800.00 | |||
รวมงบประมาณ | 17,800.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 130 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ถือเป็นสารเคมีอย่างหนึ่งที่มีความอันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและมีเกษตรกรส่วนมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีฯที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง จากการตรวจเลือดของเกษตรกรในประเทศไทย ปี พ.ศ.2560-2562 พบว่ามีผลการตรวจเลือด ไม่ปลอดภัยเฉลี่ย ร้อยละ 32.08 และมีความเสี่ยง เฉลี่ยร้อยละ62.31 (สำนักงานควบคุมโรค252) ระดับภาคใต้ พบมีผลการตรวจเลือด ไม่ปลอดภัยเฉลี่ย ร้อยละ 42.1 และมีความเสี่ยงเฉลี่ยร้อยละ 70.01 (สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม 2562) ในระดับจังหวัดพัทลุง พบมีผลการตาวจเลือดไม่ปลอดภัยเฉลี่ย ร้อยละ 51.03 รองลงมา มีความเสี่ยงเฉลี่ย ร้อย 30.15 และผลปกติเฉลี่ยร้อย 18.82 สำหรับอำเภอบางแก้ว พบมีผลการตรวจเลือดไม่ปลอดภัยเฉลี่ย ร้อย 41.02 รองลงมามีความเสี่ยเฉลี่ย ร่้อยละ 30.15 ซึ่งในพื้นที่ของเทศบาลตำบลบางแก้ว ตั้งแต่ปี 2560.2562 พบเกษตรกรมีผลการตรวจเลือดไม่ปลอดภัยเฉลี่ยร้อย 60.21 รองลงมา มีความเสี่ยงเฉลี่ยร้อยละ 30.10 และปลอดภัยร้อยละ 9.69 จากสถานการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าผลการตรวจเลือดเพื่อหาสารเคมีในร่างกายของเกษตรกรอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยซึ่งอาจจะส่งผลรุนแรงถึงแก่ชีวิต เนื่องจากการได้รับสารเคมีส่งผลในเกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลัน โดยอาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขี้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรังสารเคมีกำจัดศุตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกคิและโรคต่างๆเช่นมะเร็งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศและการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้นทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชนและผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขี้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสถานการณ์สารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางแก้วถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่มีอาชีพเกษตรกรรมและมีความเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี ดังนั้นจึงได้มีการจัดทำโครงการตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อให้เกษตรกรผู้ใช้สารเคมีได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดและเพื่อให้เกษตรกรได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2.เพื่อให้เกษตรกรผู้ใช้สารเคมีในการทำเกษตรได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 3.เพื่อให้เกษตรกรที่ตาวจพบสารเคมีคกค้างในเลือดในระดับที่เสี่ยงที่ไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการใช้สารเคมีในเกษตรกรอย่างถูกตอ้งแและปลอดภัย 4.เพื่อให้เกษตรกรที่เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดซ้ำ ภายใน 1 เดือน
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 | ตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือดของเกษตรกร ปี2563 | 130 | 17,800.00 | ✔ | 17,800.00 | |
รวม | 130 | 17,800.00 | 1 | 17,800.00 |
1.ประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมายและชี้แจงวัตถุประสงค์ 2.จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ 3.ดำเนินการจัดกิจกรรม 3.กิจกรรมที่ 1 -จัดประชุมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช -เจาะเลือดคัดกรองเกษตรกร 3.2กิจกรรมที่ 2 -ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันสารพิษตกค้างในเลือของกลุ่มเสี่ยง 3.3กิจกรรมที่ 3 -ติดตามเจาะเลือดซ้ำในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ที่ตรวจเลือดพบว่ามีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย 4.สรุปและรายงานผลโครงการ
1.เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักถุงอันตรายที่เกิดจากพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2.เกษตรกรได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 3.เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2563 09:25 น.