กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์การสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ตำบลปากน้ำ ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L5312-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ
วันที่อนุมัติ 27 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 5 มิถุนายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 43,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณรงค์ ปากบารา
พี่เลี้ยงโครงการ นายปรีชา ปันดีกา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.834,99.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การมีสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนต่างก็พึงปรารถนาที่จะมี เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะนำความสงบสุขให้กับชีวิต องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำนิยามคำว่า “สุขภาพ” คือ สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางด้านร่างกาย(Physical) จิตใจ(Psycho) จิตวิญญาณ(Spiritual) และสังคม(Social) มิเพียงแต่ปราศจากโรคและความพิการเท่านั้นดังนั้น "สุขภาพ" จึงหมายถึง การมีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บในทุกส่วนของร่างกาย มีสุขภาพจิตดี และสามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข ผู้มีสุขภาพดีถือว่าเป็นกำไรของชีวิต เพราะทำให้ผู้เป็นเจ้าของชีวิตดำรงชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขได้ จะเห็นได้ว่า สุขภาพนั้น ไม่ได้มีเพียงทางกาย และทางจิตใจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปรับตัวเข้าสู่สังคมได้อย่างมีความสุขด้วย เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เราก็ควรจะรักษาสุขภาพของเราให้ดีอยู่เสมอ เพื่อที่เราจะได้มีจิตใจที่มีความสุข รื่นเริง ไม่ติดขัด มีเมตตา มีสติ มีสมาธิ และการที่ครอบครัวจะมีความอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง และสังคมมีความยุติธรรมได้นั้น จะต้องเกิดขึ้นจากการจัดการทางสุขภาพในระดับต่างๆทั้งสุขภาพในระดับของปัจเจกบุคคล (Individual Health) สุขภาพของครอบครัว (Family Health) อนามัยชุมชน (Community Health) และสุขภาพของสาธารณะ (Public Health) ด้วยเช่นกัน จากรายงานสุขภาพคนไทย ปี พ.ศ.2559 ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า อายุเฉลี่ยเริ่มสูบบุหรี่ของคนไทยลดลงจาก 18.5 ปี เป็น 17.8 ปี ขณะที่ อายุเริ่มดื่มแอลกอฮอล์มีแนวโน้มดีขึ้น สูงขึ้นจากอายุ 20.2 ปี เป็น 20.8 ปี หากเปรียบเทียบตามกลุ่มอายุ คนไทยรุ่นใหม่ โดยเฉพาะในช่วงอายุ 15-24 ปี เริ่มสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ที่อายุเพียง 15-17 ปี เร็วกว่าคนไทยรุ่นก่อนอย่างเห็นได้ชัด จะเห็นได้ว่าคนที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นอยู่ในช่วงอายุยังน้อยโดยจะผลต่อสุขภาพด้านต่างๆ ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นโรคไม่ติดต่อที่เกิดจากพฤติกรรม โรคทางด้านจิตใจวิตกกังวล และปัญหาสังคมที่คนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขับรถแล้วประสบอุบัติเหตุชนบุคคลอื่น
สำหรับสถานการณ์ไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2559 มี จำนวนผู้ป่วยสะสม ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2559 พบ ผู้ป่วยจำนวน 63,310 ราย ผู้ป่วยตาย จำนวน 61 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 96.76 ราย อัตราตายต่อแสนประชากร 0.09 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.10 ราย ซึ่งมีอัตราการป่วยลดลงจากปี 2558 แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอละงู ปี 2559 ที่ทำการควบคุมป้องกันโรคทั้งหมด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งหมดจำนวน 1,877 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2,711.17 ต่อประชากรแสนคน มีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย อัตราตาย 1.44 ต่อแสน ตำบลปากน้ำ มีการกระจายของโรคไข้เลือดออก ทั้ง 6 หมู่บ้าน จำนวนผู้ป่วยมากที่สุดในเดือนสิงหาคม หมู่บ้านที่มีการระบาดมากที่สุดคือ หมู่ที่ 2 บ้านปากบารา จำนวน 70 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติ และหมู่ที่ 4 ตะโละใส จำนวน 29 ราย ทั้งนี้การป้องกันโรคไข้เลือดออก ยังคงเป็นสิ่งสำคัญและยังคงต้องทำต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนได้เกิดความตระหนักต่อการป้องกันโรค "กล่องโฟม" ภาชนะบรรจุอาหารที่นิยมใช้ตามท้องตลาดทั่วไป มีสีขาวๆ น้ำหนักเบา และราคาถูก แต่ สิ่งเหล่านี้ ทำมาจากของเสียเหลือทิ้งสีดำๆ จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ที่ผ่านกระบวนการผลิตให้ดูน่ากินน่าใช้ บรรจุภัณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วยสารสไตรีน (Styrene) ซึ่งผู้ที่ได้รับสารดังกล่าวในปริมาณที่ต่อเนื่อง จะทำให้สมองมึนงง และเสื่อมง่าย หงุดหงิดง่าย ในผู้หญิง จะมีผลทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ มะเร็งเต้านม ส่วนผู้ชาย จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และทั้งชายหญิง จะเสี่ยงต่อมะเร็งตับอีกด้วย อีกทั้งยังมีผลต่อทารกในครรภ์ สำหรับแม่ที่รับประทานอาหารบรรจุในกล่องโฟม ลูกมีโอกาสสมองเสื่อมเป็นเอ๋อ เสี่ยงพิการ

จากประเด็นปัญหาข้างต้น องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ มิได้นิ่งนอนใจต่อปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจัดกิจกรรมการรณรงค์ป้องกันมาอย่างต่อเนื่องและใน ปี 2560 องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมสุขภาพในประเด็น ปลอดเหล้า ปลอดโฟม ปลอดไข้เลือดออก เพื่อสุขภาพของคนในชุมชน จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนตำบลปากน้ำ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคติดต่อและไม่ติดต่อแก่ประชาชน

มีการเผยแพร่ความรู้

2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคติดต่อและไม่ติดต่อตระหนักต่อปัญหาสุขภาพของตนเอง

ประชาชนตระหนักต่อความสำคัญของโรคติดต่อและไม่ติดต่อ

3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

ประชาชนสุขภาพดีขึ้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติในหลักการ
    1. ประชุมเตรียมงานคณะทำงาน/ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ และ การสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีชุมชนโดยการประยุกต์ท่าเต้น “รอแง็ง” ในการออกกำลังกาย ให้แก่ เครือข่ายอาสาสมัครด้านสุขภาพ เจ้าหน้าที่ อบต.ปากน้ำ ผู้นำชุมชน ประชาชนทั่วไป จำนวน 100 คน ระยะเวลา 1 วัน 2.2 เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนตำบลปากน้ำ อาทิเช่น โรคไข้เลือดออก การลดใช้โฟมบรรจุอาหาร ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ การสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีชุมชนโดย “รอแง็ง” ในการออกกำลังกาย จำนวน 1 วัน
    2. ดำเนินการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินการ
    3. ดำเนินการตามแผนงาน
    4. สรุปผลและประเมินผลการดำเนินการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคติดต่อและไม่ติดต่อ
    1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคติดต่อและไม่ติดต่อตระหนักต่อปัญหาสุขภาพของตนเอง
    2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2560 11:24 น.