กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาภาวะแทรกซ้อนจากภาวะโลหิตจางและน้ำหนักน้อยในหญิงตั้งครรภ์
รหัสโครงการ 63-L3329-2-25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมจิตอาสานมแม่ ศูนย์สุขภาพชุมชนควนเสาธง (เครือข่ายโรงพยาบาลตะโหมด)
วันที่อนุมัติ 7 พฤษภาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฑาริตาทิพย์ เอียดฉิม
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของประชากร  ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ และการดูแลหลังคลอด เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน และมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงการเกิดโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ จากการขาดธาตุเหล็ก เป็นโลหิตจางที่พบได้บ่อยที่สุด เกือบร้อยละ 80 ในตลอดระยะการตั้งครรภ์ ร่างกายต้องการธาตุเหล็กทั้งสิ้นประมาณ 1 กรัม โดยใช้การสร้างเม็ดเลือดแดงของมารดา ประมาณ 500 มิลลิกรัม สำหรับเด็กในครรภ์และรก ประมาณ 300 มิลลิกรัม และอีก 200 มิลลิกรัม เป็นการสูญเสียตามปกติของร่างกาย ความต้องการธาตุเหล็กที่เพิ่มขึ้นนี้เกือบทั้งหมด เกิดในครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ โดยร่างกายต้องการธาตุเหล็กเฉลี่ยวันละ 6-7 มิลลิกรัม ปริมาณธาตุเหล็กที่ได้จากอาหารมีเพียง 1-2 มิลลิกรัมต่อวัน จึงไม่พอเพียง จำเป็นต้องให้ธาตุเหล็กเสริม หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับเหล็กเสริมในรูป iron salt วันละ 30 มิลลิกรัม ( เหล็กในรูปนี้ดูดซึมได้ประมาณร้อยละ 10-20 ) การขาดธาตุเหล็กขณะตั้งครรภ์ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ทารกน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย ทารกตายคลอด รวมถึงผลต่อพัฒนาการและระดับสติปัญญาของเด็กในช่วงเข้าวัยเรียนอีกด้วย
      ใน ปี2562 หญิงตั้งครรภ์ในเขตศูนย์สุขภาพชุมชนควนเสาธง จำนวน 42 คน พบภาวะซีด จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ57.14 และน้ำหนักน้อย จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 21.42และปี 2563 (ตุลาคม-มีนาคม)หญิงตั้งครรภ์ในเขตศูนย์สุขภาพชุมชนควนเสาธง จำนวน 23 คน พบภาวะซีด ร้อยละ52.17จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ52.17 และน้ำหนักน้อย จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 21.73 ปี ซึ่งส่งผลต่อเด็กมีน้ำหนักน้อยและพัฒนาการช้า ชมรมจิตอาสานมแม่ ศูนย์สุขภาพชุมชนควนเสาธง(เครือข่ายโรงพยาบาลตะโหมด)  เห็นความสำคัญจึงจัดทำโครงการขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์ที่มารดามีภาวะโลหิตจางและน้ำหนักน้อยระหว่างตั้งครรภ์ 2. เพื่อลดผลกระทบปัญหาเด็กพัฒนาล่าช้าและเด็กน้ำหนักน้อย

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขสำรวจหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ
  2. อาสาสมัครสาธารณสุขสำรวจติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์และฝาก 5 ครั้งตามเกณฑ์
  3. อาสาสมัครสาธารณสุขติดตามเยี่ยมบ้าน/ดำเนินกิจกรรมตามเกณฑ์ชมรมนมแม่
  4. อาสาสมัครสาธารณสุขประสานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินงานและการส่งต่อข้อมูล
  5. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาในหญิงตั้งครรภ์ที่น้ำหนักน้อยระหว่างการตั้งครรภ์
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2563 15:39 น.