กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยฟันดี
รหัสโครงการ L5199/2563
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ท่าประดู่
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 26 กุมภาพันธ์ 2564
งบประมาณ 7,158.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรัชนุ สุวรรณรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าประดู่ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.681,100.73place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปาก เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้เด็กมีสุขภาพดี การป้องกันโรคฟันผุสุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคนโดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยโรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรกและอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1 – 3 ปีสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุ ซึ่งมาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้องรวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ และส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้ เด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในชีวิต เด็กจึงควรได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและเหมาะสม เพื่อให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์และมีพัฒนาการตามวัย อย่างไรก็ตามจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบันส่งผลให้เด็กได้รับการดูแลเอาใจใส่น้อยลงเด็กส่วนหนึ่งต้องมีปัญหาสุขภาพอนามัยซึ่งส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาการของเด็กในด้านสติปัญญา และความสามารถในการเรียนรู้โรคฟันผุในเด็กเล็กนับเป็นปัญหาที่พบมาก อีกทั้งฟันผุในฟันน้ำนมมีการลุกลามถึงโพรงประสาทฟันได้อย่างรวดเร็วกว่าฟันแท้ เนื่องจากความหนาของเคลือบฟันและเนื้อฟันน้อยกว่าฟันแท้ และฟันผุในระยะแรกแรกสามารถลุกลามเป็นรูผุได้ในเวลา6 – 12เดือน เด็กที่เริ่มมีฟันผุในอายุน้อยมีการลุกลามได้เร็วและเริ่มผุในช่วงขวบปีแรกอัตราการผุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1 – 3 ปี การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัยที่สำคัญในช่วงนี้ได้แก่ การควบคุมอาหารหวาน และการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ วันละ ๒ ครั้ง ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันโรคฟันผุอื่น ๆ เช่น การใช้สารฟลูออไรด์ชนิดทา ร่วมกับการตรวจคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุ และการให้ทันตสุขศึกษา การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันฟันผุในเด็กต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของครอบครัว อสม.ชุมชน รวมทั้งครอบครัว(ผู้ปกครอง) ต้องให้ความสำคัญในการสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านของลูกน้อย การเกิดฟันผุในฟันน้ำนมนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้วยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือฟันน้ำนมที่เสียถูกถอนหรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวนเกล้มเอียงเข้าหาช่องว่างทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะปิดซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก สุขภาพในช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพในร่างกายเด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในชีวิตเด็กจึงควรได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและเหมาะสมเพื่อให้เด็กมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงและมีพัฒนาการตามวัยปัจจุบันเด็กได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่น้อยลง เด็กบางส่วนจึงมีปัญหาสุขภาพอนามัยซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กด้านสติปัญญาและความสามารถในการเรียนรู้ การป้องกันฟันผุในเด็กปฐมวัยต้องอาศัยความร่วมมือของ ผู้ปกครองและครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก เพื่อช่วยลดอัตราการเกิดฟันผุในวัยเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ท่าประดู่ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการการส่งเสริมดูแลสุขภาพฟัน และการป้องกันโรคในช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อให้เด็กมีสุขภาพฟันและช่องปากที่แข็งแรง จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยฟันดีขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากและเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย ในการดูแลช่องปากและฟันของเด็กให้ฟันดีห่างไกลโรคฟันผุอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

3.1 สำรวจข้อมูล 3.2 ประชุมปรึกษาหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไข 3.3 ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ทันตกรรมโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ 3.4 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ   3.4 ดำเนินงานตามโครงการ   3.5 ประเมินผลการดำเนินงาน   3.6 รายงานผลตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. นักเรียนและผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ท่าประดู่ ได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี
2. ผู้ปกครอง นักเรียน ครู ผู้ดูแลเด็กมีทัศนคติที่ดี มีความรู้และทักษะในการดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันของเด็กก่อนวัยเรียนที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2563 10:34 น.