โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตชีวีมีสุข ประจำปี 2563
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตชีวีมีสุข ประจำปี 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L5231-2-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารสุขหมู่ที่ 6 |
วันที่อนุมัติ | 27 มีนาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2563 |
งบประมาณ | 13,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางจันทนา ศีวิโรจน์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.183,100.313place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้คนในชุมชนต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ และค่านิยมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเครียด ความขับข้องใจแยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัวท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต มีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลงมีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจคนในชุมชนทั้งสิ้น และหากคนในชุมชนไม่ได้รับการดูแลใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้วจะยิ่งส่งเสริมให้คนในชุมชนมีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวังแยกตัวออกจากสังคมเป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของระบบสุขภาพประเทศไทย โดยประมาณการว่าประชากร ๑ ใน ๕ มีปัญหาสุขภาพจิตจากรายงานสถิติของกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุขพบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการเริ่มต้นถึงรุนแรงร้อยละ๑๔.๓ หรือ ๗ ล้านคน โดยเป็นผู้ป่วยจิตเภทประมาณร้อยละ ๐.๘ หรือ ๔๐๐,๐๐๐ คน โรคซึมเศร้าประมาณร้อยละ ๒.๘ หรือ ๑.๔ ล้านคน ในปี ๒๕๕๙ ผู้ป่วยจิตเภท ๒๖ล้านคน คิดเป็นอัตราป่วย ๗ ต่อ ๑,๐๐๐ คน ในประชากรอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปพบว่าอัตราการเข้าถึงบริการผู้ป่วยโรคจิตและโรคซึมเศร้ามีเพียงร้อยละ ๕๐ และร้อยละ ๓๓.๓๔ ตามลำดับ ดังนั้นทางคณะจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตชีวีมีสุข ขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์สุขของประชาชนในการเห็นความสำคัญถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี รวมทั้งได้มีการจัดกิจกรรมโดยการนำหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นคนดี มีศีลธรรม จึงได้พาคนในหมู่บ้านหนองเสาธงไปจัดกิจกรรมเข้ามาฟังธรรมโดยเชิญพระสงฆ์มาให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ เพื่อให้คณะและคนในชุมชนได้ร่วมกันปฏิบัติธรรม ฟังธรรม ทุกเดือนๆละ 1 ครั้ง ณ ออมทรัพย์บ้านหนองเสาธงเนื่องจากหมู่ที่ 6 ไม่มีวัด เพื่อช่วยให้เกิดความสงบร่มเย็นทางจิตใจ พร้อมปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ รวมถึงร่วมกันทำนุบำรุงพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามสืบต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้ที่เข้าอบรมให้ดีขึ้น ด้วยการฟังธรรมและปฏิบัติธรรม
|
0.00 | |
2 | 2.เพื่อให้ผู้ที่เข้าอบรมได้น้อมนำหลักธรรมคำสอนทางศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน
|
0.00 | |
3 | 3. เพื่อให้ผู้ที่เข้าอบรมได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมีการทำกิจกรรมร่วมกัน
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
10 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 | จัดกิจกรรมอบรมและฝึกปฏิบัติ เดือนละ 1 ครั้ง | 20 | 13,300.00 | - | ||
รวม | 20 | 13,300.00 | 0 | 0.00 |
1. 1. วิธีดำเนินการ(ขั้นเตรียมการ,ขั้นดำเนินการ,ขั้นสรุป)
2. 1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ
3. 2.ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความ เข้าใจในแนวเดียวกัน
4. 3.กำหนดรูปแบบกิจกรรมการให้ความรู้
5. 2.จัดกิจกรรมในชุมชน
6. 2.1 จัดอบรมให้ความรู้เพื่อเสริมทักษะให้แก่สมาชิก 1.1 การประเมินสุขภาพจิต/อารมณ์ 1.2 วิธีและคำนะนำเกี่ยวกับความเครียด
1. 3. ประสานงานผู้ร่วมกิจกรรมดำเนินโครงการ
2. 4. ประชาสัมพันธ์โครงการ
3. 5.ประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน
1.ทำให้ผู้ที่เข้าอบรมมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นและสามารถดำรงชีวิตอยู่กับชุมชนและครอบครัวได้อย่างมีความสุข
๒. ผู้ที่เข้าอบรมได้น้อมนำหลักธรรมคำสอนทางศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
๓. ทำให้ผู้ที่เข้าอบรมได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมีการทำกิจกรรมร่วมกัน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2563 14:08 น.