กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยสุขภาพดี ประจำปีการศึกษา 2563
รหัสโครงการ 63-L8287-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระพุทธ
วันที่อนุมัติ 4 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 67,725.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุนีย์ เขตเทพา
พี่เลี้ยงโครงการ นายวิโรจน์ รัตนาลัย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 67,725.00
รวมงบประมาณ 67,725.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเด็กไทยประสบปัญหาเรื่องรูปร่างที่ไม่สมส่วน ทั้งผอม เตี้ย อ้วน และสติปัญญาไม่ทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศซึ่งเกิดจากปัญหาโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง รับประทานอาหารไม่ครบถ้วน ไม่กินผักผลไม้ เน้นแต่ขนมกรุบกรอบ หากปล่อยทิ้งไว้ เชื่อว่าจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการเรียนของเด็กเอง ถ้าต้องการให้เด็กไทยมีโภชนาการที่ดี ด้วยการกินอาหารถูกหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ ลดขนมกรุบกรอบ และหันมาออกกำลังกาย อาหารถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อคนเรา โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชนที่กำลังอยู่ในช่วงของการเจริญเติบโต เพราะมันจะเป็นตัวช่วยพัฒนาสิ่งต่างๆ ในร่างกายของเด็กได้เป็นอย่างดี แต่ในปัจจุบันหลายครัวเรือนกลับมองข้ามเรื่องแบบนี้ จึงส่งผลให้เด็กไทยส่วนใหญ่ อ้วน เตี้ย ไม่สมส่วน นั่นส่งผลไปถึงการพัฒนาสมองของอนาคตของชาติต่อไปอีกด้วย ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีคุณภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไปก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน “โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์
          การที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาการในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิต มนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะ 2 ปีแรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ คือ ภาวการณ์เจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงดูลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง
          ภาวะโภชนาการที่ดีเป็นรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพดีตลอดชีวิตโดยเฉพาะในช่วงที่อยู่ในครรภ์มารดาจนถึงวัยรุ่นเนื่องจากการเจริญเติบโตมีทั้งด้านสมองและร่างกาย หากขาดสารอาหารสิ่งที่พบเห็นคือ เด็กตัวเล็ก ผอม เตี้ยซึ่งเป็นการแสดงออกทางด้านร่างกาย แต่ผลที่เกดขึ้นไม่ใช่แค่ทางด้านร่างกายเท่านั้น ยังมีผลต่อการพัฒนาด้านสมองด้วย ทำให้สติปัญญาต่ำ เรียนรู้ช้าไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่อยากเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว และเรียนรู้ช้า เป็นผลให้มีพัฒนาการไม่เหมาะสมตามวัย แม้เด็กจะได้รับการกระตุ้นพัฒนาการจะไม่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้หากยังไม่แก้ไขในเรื่องการขาดอาหารในเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระพุทธ มีหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย (อายุ 2-5 ขวบ) และมีการจัดประสบการณ์บนพื้นฐานของการอบรมเลี้ยงดู เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการตามวัยอย่างเหมาะสมเต็มตามศักยภาพที่เด็กแต่ละคนมีอยู่และกระตุ้นส่งเสริมให้เด็กมีความพร้อมทั้ง 4 ด้าน (ร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม สติปัญญา) อย่างเหมาะสมตามวัย และจากการเฝ้าระวังดูแลตรวจวัดน้ำหนักและส่วนสูงของเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระพุทธ ซึ่งปีการศึกษา 2563 มีเด็กนักเรียนทั้งหมด 122 คน ปรากฏว่ามีเด็กจำนวน 50 คน (โดยประมาณการ) มีน้ำหนักน้อย และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระพุทธจึง มีความประสงค์จะจัดทำโครงการหนูน้อยสุขภาพดี ประจำปีการศึกษา 2563 ขึ้น เพื่อเพิ่มมื้ออาหารแก่เด็กน้ำหนักน้อยและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ภาคเรียนที่ 1/2563

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนเด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

ร้อยละ 90 ของเด็กทุกคนจะต้องมีภาวะโภชนาการนำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์

90.00
2 เพื่อให้เด็กได้รับประทานผักที่มีประโยชน์และปลอดสารพิษ

ร้อยละ 100 ของเด็กได้รับประทานผักที่มีประโยชน์และปลอดสารพิษ

100.00
3 เพื่อเพิ่มความรู้ด้านโภชนาการและการบริโภคอาหารที่ถูกต้องให้กับผู้ปกครอง

ร้อยละ 60 ของผู้ปกครองซึ่งเข้าร่วมโครงการและได้รับความรู้ในเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโภชนาการ และการรับประทานผักที่มีประโยชน์และปลอดสารพิษ

60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 322 67,725.00 5 46,515.00
1 - 15 ก.ค. 63 ติดตามภาวะโภชนาการของเด็กภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระพุทธ 122 0.00 0.00
16 ก.ค. 63 การคืนข้อมูลสถานการณ์ภาวะโภชนาการเด็กและพัฒนาทักษะด้านโภชนาการแก่ผู้ปกครอง 50 2,050.00 1,775.00
17 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 หนูน้อยปลูกผักเพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย 50 5,175.00 4,570.00
17 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 อาหารเสริมและอาหารเช้าเพื่อเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพดี 50 59,250.00 39,195.00
30 ก.ย. 63 คืนข้อมูลให้กับผู้ปกครองสรุปผลการเปลี่ยนแปลงของเด็ก 50 1,250.00 975.00
  1. ครู ผู้ดูแลเด็ก ดำเนินการเก็บข้อมูล ดังนี้     - เก็บข้อมูลน้ำหนัก ส่วนสูง ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม – พฤศจิกายน พ.ศ.2563
  2. ลักษณะของการดำเนินโครงการ
        2.1 จัดอบรมให้วิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ โดยนักโภชนาการเพื่อนำเสนอกลยุทธวิธีการการเตรียมอาหารแก่เด็กที่เหมาะสมกับวัย     2.2 เชิญวิทยากรที่มีความรู้ทางด้านการปลูกผักสวนครัวให้ความรู้พร้อมกับลงแปลงปลูกผักกับเด็กโดยเน้นผักที่สามารถนำมาปรุงอาหารให้เกิดประโยชน์ได้มาก เช่น ผักกาด ผักบุ้ง ผักคะน้า ถั่วฝักยาว แตงกวา มะเขือเทศ     2.3 จัดอาหารเสริมประเภท เนื้อ นม ไข่ ถั่ว สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักย้อยกว่าเกณฑ์ โดยการออกแบบเป็น เมนูอาหารเช้าให้กับเด็ก เพื่อจะได้ส่งเริมให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นและติตามผลตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ
  3. นำข้อมูลตลอดระยะเวลาที่ดำเนินโครงการมาสรุปและชี้แจงกับผู้ปกครองถึงการเปลี่ยนแปลงของเด็ก
  4. สรุปผลโครงการ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2563
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. 1.เด็กนักเรียนที่มีน้ำหนักน้อย ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 50 คน ได้รับการส่งเสริมอย่างถูกต้องได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้น
  2. 2.เด็กที่มีน้ำหนักน้อย ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 50 คน มีร่างกายเจริญเติบโตอย่างสมส่วน สมวัย มีความพร้อมที่จะเรียนรู้อย่างมีคุณภาพต่อไป
  3. ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2563 11:01 น.