กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเข้าใจ เข้าถึง รวมพลัง สร้างแรงใจ ให้สตรีห่างไกลจากโรคมะเร็งเต้านมและปากมดลูก
รหัสโครงการ 60-L1506-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นปรง
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 มีนาคม 2560 - 24 มีนาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นปรง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นปรง ตำบลนาชุมเห็ด อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.477,99.822place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคมะเร็งกำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกโดยโรคมะเร็งปามดลูกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทยมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลามอัตราการอยู่รอด 5 ปีประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่และรายเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 60,000 คนทั่วประเทศแต่อัตราการอยู่รอด 5 ปีจะดีขึ้นถ้าพบในระยะเริ่มแรกส่วนโรคมะเร็งเต้านม ก็เป็นโรคมะเร็งที่ทำให้เกิดความสูญเสีย และเป็นสาเหตุการตายในอัตราที่สูงแต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้และการพยากรณ์โรคค่อนข้างดีถ้าสามารถตรวจพบและให้การรักษาในระยะเริ่มแรกซึ่งร้อยละ 80ของมะเร็งเต้านมสามารถตรวจพบได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือนเพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านมซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการแนะนำให้ปฏิบัติมากที่สุดเนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยากสามารถปฏิบัติได้ง่ายด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษใดๆ ช่วยในการตรวจประหยัดเวลาและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่าร้อยละ60ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาเมื่อระยะของโรคได้ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้วทั้งนี้เนื่องมาจากสตรีเหล่านี้ไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเองเลยจึงไม่ได้ไปพบแพทย์ในระยะเริ่มแรกทั้งนี้เนื่องจากกลัวและวิตกกังวลว่าจะเป็นโรคมะเร็งเต้านมรวมทั้งการขาดความรู้ขาดความเชื่อมั่นในการตรวจเต้านมและไม่เห็นความสำคัญของการตรวจอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนจึงไม่เกิดพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทางรพ.สต บ้านต้นปรงได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของโรคดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเข้าใจ เข้าถึง รวมพลังสร้างแรงใจ ให้สตรีห่างไกลจากโรคมะเร็งเต้านมและปากมดลูก ขึ้น เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชนทั่วไปตื่นตัวและเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรอง และเข้าถึงการบริการได้ง่ายขึ้น โดยจะมีกิจกรรมให้ความรู้ ฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และบริการตรวจเต้านมและมะเร็งปากมดลูกโดยเจ้าหน้าที่ให้ฟรีนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเยี่ยมเยียนเพื่อเสริมสร้างกำลังใจแก่ผู้ที่ป่วยอยู่แล้วเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วยที่มีในชุมชนอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก การดูแลตนเองเพื่อลดเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  • ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก การดูแลตนเองเพื่อลดเสี่ยงต่อการเกิดโรค
2 2.เพื่อตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมให้แก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่

-สตรีอายุ 35 – 70 ปีได้รับการตรวจมะเร็งเต้านม ร้อยละ 90

3 3.เพื่อตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกให้แก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่

-สตรีอายุ 30 – 60 ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 70

4 4.เพื่อเยี่ยมให้กำลังใจผู้ป่วยโรคมะเร็งในการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อสู้กับอาการของโรคที่เป็นอยู่

-ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกคนได้รับการเยี่ยมดูแลที่บ้าน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลตนเองเพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกแก่กลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงโรคมะเร็งและแกนนำผู้ป่วยโรคมะเร็ง
    1. อสม และ แกนนำโรคมะเร็งออกรณรงค์ในชุมชนบ้านต้นปรง บ้านหนองเป็ด บ้านมาบเมา และบ้านโคกโดน ให้สตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน
  2. จัดกิจกรรมให้บริการตรวจมะเร็งเต้านมฟรีให้แก่สตรีอายุ35 – 70 ปี โดยเจ้าหน้าที่
  3. จัดกิจกรรมให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกฟรี แก่สตรีอายุ 30 -60 ปีโดยเจ้าหน้าที่
  4. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติเพื่อลดเสี่ยง ลดโรคมะเร็ง ร่วมกันระหว่างผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกกับกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะเสี่ยง
  5. จัดกิจกรรมสายใยจิตอาสาร่วมใจ เยี่ยมให้กำลังใจผู้ป่วยโรคมะเร็งที่บ้าน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรี อายุ 35 – 70 ปีในชุมชนเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมอย่างน้อยร้อยละ 80 2.สตรี อายุ 30 – 60 ปีในชุมชนเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยร้อยละ 80 3.ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกคนได้รับการเยี่ยมดูแลที่บ้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2560 14:25 น.