กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชน ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและกลุ่มโรคเบาหวาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
รหัสโครงการ 63-L3044-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนัสรียา สะอุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโลย อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.781,101.439place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ก.ค. 2563 17 ก.ค. 2563 20,200.00
รวมงบประมาณ 20,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลก(WHO) เล็งเห็นว่ากลุ่มโรค NCDs นั้น ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ  โดย สาเหตุหลักของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เกิดจากพฤติกรรม อาทิขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ กินอาหารไม่เหมาะสม เช่น อาหารหวาน มัน เค็ม กินผักน้อยลง เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ ปัจจุบันยัง พบว่า สาเหตุการตายส่วนใหญ่ของคนไทย เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มากถึงร้อยละ 60 เช่น เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวแล้วจำเป็นต้องรับประทานยาตลอดชีวิต(คนไทยกินยาสูงถึงปีละ 47,000 ล้านเม็ด หรือเฉลี่ยวันละ 128 ล้านเม็ด) หรือถ้าหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
จากผลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ตำบลตันหยงจึงงา อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ในปีงบประมาณ 2563 กลุ่มเป้าหมายตรวจคัดกรองโรคเบาหวานจำนวน 758 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 730 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.31 ตรวจพบประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 97 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.29 และกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.23 และกลุ่มเป้าหมายตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง จำนวน 651 ราย ได้รับการตรวจคัดกรองจำนวน 622 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.16  ตรวจพบประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 54 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.63 และกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 26 ราย  คิดเป็นร้อยละ 4.15
ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ รวมทั้ง สามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนเพื่อป้องกัน โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตำบลตันหยงจึงงา อำเภอยะหริ่ง ปี 2563 ขึ้น เพื่อลดอัตราป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่อาจจะตามมาภายหลังหากไม่มีการควบคุมที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 20,200.00 2 20,200.00 0.00
17 ก.ค. 63 ตรวจสุขภาพเบื้องต้น ทำแบบสัมภาษณ์ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เพื่อทดสอบความรู้และประเมินพฤติกรรมสุขภาพก่อนเข้าร่วมโครงการ 100 6,300.00 6,300.00 0.00
17 ก.ค. 63 ให้ความรู้แกนนำ กลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเป็นโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 100 13,900.00 13,900.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 200 20,200.00 2 20,200.00 0.00

3.1 ขั้นเตรียมการ   3.1.1 จัดทำแผนกำหนดวันคัดกรองและอบรม   3.1.2 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ   3.1.3 แจ้งกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการ 3.2 ขั้นตอนดำเนินการ   3.2.1 คัดกรองกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป   3.2.2 จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง และแกนนำ ระยะเวลา 1 วัน - ผู้เข้ารับการอบรมชั่งน้ำหนักเพื่อตรวจวัดไขมันในร่างกาย วัดและตรวจดัชนีมวลกาย วัดส่วนสูง, วัดความดันโลหิต, วัดรอบเอว, วัดรอบสะโพก, เจาะน้ำตาลในเลือด, และทำแบบสัมภาษณ์ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เพื่อทดสอบความรู้และประเมินพฤติกรรมสุขภาพก่อนเข้าร่วมโครงการ - ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค / การปฏิบัติตัวโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงและผู้ดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน - ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับโรค - สาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย - ให้ความรู้เรื่องสุขภาพจิตและการจัดการความเครียด - ให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสม - ทำแบบทดสอบความรู้หลังอบรม   3.2.3 ผู้ที่ผ่านการอบรมสามารถเป็นแกนนำในการขยายผลสู่สมาชิกที่อาจเป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ที่อยู่ในชุมชนของตนเอง โดยการถ่ายทอดความรู้เรื่องเบาหวานและความดันโลหิตสูง   3.2.4 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ติดตามตรวจ / ประเมินภาวะสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ดังนี้ - ชั่งน้ำหนัก, วัดรอบเอว, รอบสะโพก เพื่อประเมินค่าดัชนีมวลกาย, สัดส่วนร่างกาย, วัดความดันโลหิต, ตรวจน้ำตาลในเลือด ทุก 3 เดือน   3.2.5 สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค สามารถประเมินและแก้ไขภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้ 7.2 แกนนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีการขยายผลแก่สมาชิกกลุ่มเสี่ยงในชุมชน 7.3 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเอง 7.4 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2563 11:38 น.