กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการใช้กระบวนการ DHS (District health systems) ในปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L7452-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลยะลา
วันที่อนุมัติ 18 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 113,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนฤมลฉายแสงเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววริยากาลัญกุล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

— แนวโน้มการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะมีการระบาดมาก ปีเว้น 2 ปี โดยตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีการระบาดใน ปี 2553, 2556 และ 2559ตั้งแต่ปี 2557 ถึง 2559 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 46, 28 คน และ 76 คน ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย 90.14, 58.75 และ 151.90 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (เกณฑ์ไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร) พบมากในวัยเรียน อายุ 5- 24 ปี ปี 2559 ศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองบ้านสะเตงพบผู้ป่วยมากที่สุด อัตราป่วย 210.1 ต่อแสนประชากร รองลงมาศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง ตลาดเก่า ผังเมือง 4เทศบาล เวชกรรม และธนวิถี อัตราป่วย 192.9, 160.2, 105.2, 88.9 และ 62.4 ตามลำดับจากการวิเคราะห์ประชาชนยังขาดความตระหนักในการป้องกันตนเองและไม่ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย จากการสุ่มประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนเขตเทศบาลนครยะลา เดือนสิงหาคม 2559 ผลการประเมินร้อยละ 17.5 (เกณฑ์ ไม่เกินร้อยละ 10) ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกได้ จึงต้องมีการดำเนินการสร้างความตระหนัก หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผน ดำเนินกิจกรรมและประเมินผลเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน
ดังนั้น กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลยะลาร่วมกับสำนักการสาธารณสุขเทศบาลนครยะลา จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการใช้กระบวนการ DHS (District health systems) ในปีงบประมาณ 2560 ขึ้น โดยทำในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองธนวิถี ตลาดเก่า และเวชกรรม (ปี 2559 นำร่องทำในพื้นที่บ้านสะเตง ผังเมือง 4 และเทศบาล จำนวน 20 ชุมชน)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2560 15:33 น.