กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน


“ โครงการเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ตำบลตลิ่งชัน ปี 2563 ”

ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
เจะอาเรน บินหมัด

ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ตำบลตลิ่งชัน ปี 2563

ที่อยู่ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 63-L5179-02-01 เลขที่ข้อตกลง 02/2563

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ตำบลตลิ่งชัน ปี 2563 จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ตำบลตลิ่งชัน ปี 2563



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน (2) เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (2) ติดตามกลุ่มเป้าหมาย

ข้อเสนอแนะ ได้แก่

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
  2. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  2. ติดตามกลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,689
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ
  3. ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพตนเอง
  4. เกิดบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่ถูกต้อง เหมาะสม ในชุมชน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

วันที่ 25 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้ เรื่องโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคและภาวะแทรกซ้อนของโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดัน/เบาหวาน ประชาชนมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพตนเอง

 

3,689 0

2. ติดตามกลุ่มเป้าหมาย

วันที่ 29 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

คัดกรองกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม.ติดตามกลุ่มเป้าหมาย หลังอบรม 3 ครั้ง ในเดือนที่ 1,3,6 ลงข้อมูลในสมุดบันทึกสุขภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนจะได้รับการติดตามความต่อเนื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง

 

230 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 76 คน มีภาวะเสี่ยงลดลง 85 ร้อยละ 76.31
  2. กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดัน จำนวน 48 คน มีภาวะเสี่ยงลดลง 21 ร้อยละ 43.75
  3. กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดัน จำนวน 29 คน มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง จำนวน 12 คน ร้อยละ 41.37 มีภาวะเสี่ยงโรคความดันลดลง จำนวน 15 คน ร้อยละ 51.72
  4. กลุ่มป่วย โรคเบาหวาน จำนวน 10 คน สามารถควบคุมระดับน้ำตาล 5 ร้อยละ 50
  5. กลุ่มป่วยโรคความดัน จำนวน 21 คน ความดันโลหิตสูงให้คงที่ 11 ร้อยละ 52.38
  6. กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดัน จำนวน 16 คน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่ จำนวน 9 คน ร้อยละ 56.25 สามารถความดันโลหิตสูงให้คงที่ จำนวน 11 คน ร้อยละ 62.5
  7. กลุ่มป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ทักษะในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น ร้อยละ 100
  8. กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง
9.30 7.10

 

2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง
12.10 5.30

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 3689 3430
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,689 3,430
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน (2) เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (2) ติดตามกลุ่มเป้าหมาย

ข้อเสนอแนะ ได้แก่

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

กลุ่มเฝ้าระวังและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ทุกกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้รับรับมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม ตามหลัก 3อ. 2ส. เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารและควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสม มีบางกลุ่มที่มีค่าระดับน้ำตาลในเลือด และค่าความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช่นเดิม เน้นอาหารที่ชอบ ตามวิถีชีวิตประจำวัน ส่งผลให้มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดและค่าความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ร่วมถึงการออกกำลังกายค่อนข้างน้อย มีผลต่อกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆปรับเปลี่ยนสุขภาพเพื่อภาวะสุขภาพที่ดีแบบยังยืน ส่งเสริมให้กลุ่มเฝ้าระวังและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเอง เกิดแรงจูงใจและมีความตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมากขึ้น เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง คนในครอบครัว และคนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีกันถ้วนหน้า


โครงการเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ตำบลตลิ่งชัน ปี 2563 จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 63-L5179-02-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( เจะอาเรน บินหมัด )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด