กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L3070-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ยาบี
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 63,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปราณี สาแล๊ะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายแวฮาซัน โตะฮิเล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.246place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3980 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกของจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปี 2562 - ปี 2563 (ณ วันที่ 1 ตค.2562-19 พค.2563) พบว่ามีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอยู่ในพื้นที่ พบอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกทั้งหมด  (585 ราย) 142.57 ต่อแสนประชากร , (297 ราย) 133.66 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ในอำเภอหนองจิก ตั้งแต่ปี 2559 - ปี 2563 (ณ วันที่ 1 ตค.2562- 19 พค.2563) พบว่ามีผู้ป่วยทั้งหมด (45 ราย) คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 62.20 ต่อแสนประชากร , (165 ราย) คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 235.76 ต่อแสนประชากร , (22 ราย) คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 33.34 ต่อแสนประชากร , (67 ราย) คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 100.84 ต่อแสนประชากร และ (23 รายคิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 34.38 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ตำบลยาบี พบว่า ตั้งแต่ปี 2559 – 2563 (ปี 2563 ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตค.2562 – 19 พค. 2563) พบว่ามีผู้ป่วยทั้งหมด
(3 ราย) คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 73.42 ต่อแสนประชากร , (3 ราย) คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 73.21 ต่อแสนประชากร , (0 ราย) คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 0.00 ต่อแสนประชากร , (3 ราย) คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 81.57 ต่อแสนประชากร และ (3 ราย) คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ 0.00 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ทำให้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าว พบว่า ประชาชนยังขาดความตระหนักในเรื่องวิธีการป้องกันและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายตามครัวเรือนของตนเอง ,การจัดระเบียบและการรักษาความสะอาดรอบๆบริเวณบ้านแต่ละครัวเรือนยังน้อย ,ในช่วงฤดูฝนบางพื้นที่ก็อาจจะมีน้ำขัง ซึ่งทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้ แต่อย่างไรก็ตามในภาคใต้มักจะมีฝนตกมากในช่วงปลายปี (พฤศจิกายน - ธันวาคม) จึงมีโอกาสที่จะเกิดการระบาดในช่วงปลายปีแล้วต่อเนื่องไปยังต้นปีของปีถัดไป อีกทั้งชุมชนตำบลยาบีเรายังมีทีมงานเครือข่ายที่เข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ส่วนในปี 2563 จึงได้มีการขยายเครือข่ายทีมงานพ่นหมอกควันในชุมชนเพิ่มขึ้น

ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ปี 2563 ขึ้น โดยมีการดำเนินงาน 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานแก่ อสม.และทีมงานพ่นหมอกควัน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ครู ฯ ,ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดในชุมชน วัด มัสยิด และในโรงเรียน กิจกรรมที่ ๒ ประชุมชี้แจงทีมงานลงประเมินบ้านสะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลายในชุมชนและในโรงเรียน และกิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมแจกทรายอะเบท เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชน ,เพื่อลดดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า CI ในชุมชน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลยาบี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากรเเสนคน

1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากรเเสนคน

100.00
2 2.เพื่อลดดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI เเละค่า CI ในชุมชนไม่เกินร้อยละ 15

2.เพื่อลดดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI เเละค่า CI ในชุมชนไม่เกินร้อยละ 15

100.00
3 3.เพื่อให้ประชาชน ,อสม.มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และมีความตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง วิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออกและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนของตนเอง ในชุมชนและในโรงเรียน

3.ประชาชน/อสม.มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80 และมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเอง และวิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออกและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนของตนเอง ร้อยละ 60

100.00
4 4.เกิดมาตรการทางสังคมในชุมชนหรือมีกฏกติกาในชุมชน

4.ร้อยละของชุมชนมีมาตรการทางสังคมหรือมีกฏกติกาในชุมชน ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 98 63,200.00 3 63,200.00
19 - 30 มิ.ย. 63 1.ประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการ 62 7,100.00 7,100.00
19 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 3.กิจกรรมสำรวจ ควบคุม และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย พร้อมแจกทรายอะเบท 12 52,500.00 52,500.00
29 ก.ค. 63 - 15 ก.ย. 63 2.ประชุมชี้แจงทีมลงประเมินบ้านสะอาด ปราศจากลูกน้ำยุงลายในชุมชนและในโรงเรียน 24 3,600.00 3,600.00

1.ประชุมชี้แจงคณะทีมงานเครือข่ายในชุมชนได้แก่ แกนนำในชุมชน ,ครู ,อสม.,ทีมพ่นหมอกควัน

2.ประชุมชี้แจงให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกกับนักเรียนและคุณครูในโรงเรียนและในชุมชนทุกหมู่บ้าน

3.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายภายในบริเวณโรงเรียนและในชุมชน พร้อมแจกทรายอะเบท

4.ทีมงานไปลงประเมินบ้านสะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลาย ร่วมกับแกนนำในชุมชน อสม.ฯลฯ

5.ปักธงสี (เขียว เหลือง แดง) ตามครัวเรือนที่ทีมลงไปประเมินบ้านสะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลาย

6.มอบใบประกาศ “ชุมชนบ้านสะอาด ปราศจากลูกน้ำยุงลาย”

7.มอบใบประกาศ “โรงเรียนสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย 100%”

8.ควบคุมการระบาดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย โดยการใช้เครื่องพ่นหมอกควันในการกำจัดยุงในบ้านผู้ป่วยและรัศมี 200 เมตร ถ้ามีรายป่วยจำนวนมากแล้วให้พ่นทั้งหมู่บ้าน เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

2.ดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า CI ในโรงเรียนและในชุมชนลดลง

3.ประชาชน ,อสม.,คุณครู ,นักเรียน มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และมีความตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง วิธีการป้องกันและการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนของตนเอง ในชุมชนและในโรงเรียน

4.เกิดมาตรการทางสังคมในชุมชนหรือมีกฎกติกาในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2563 15:14 น.