กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างพลังชุมชน เพื่อลดปัญหาขยะมูลฝอยบ้านโหนดหมู่
รหัสโครงการ 60-L3339-02-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหารเทา
วันที่อนุมัติ 5 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๙ บ้านโหนดหมู่
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,100.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันตำบลหารเทามีปริมาณขยะถึง 3ตันต่อวัน ซึ่งมาจากการดำรงชีวิตของคนในชุมชน และการท่องเที่ยว หากคิดเฉลี่ยเป็นรายบุคคลแล้ว ๑ คนจะก่อให้เกิดขยะในปริมาณ 0.33 กิโลกรัมต่อวัน จึงเป็นภาระหนักของ เทศบาลตำบลหารเทา ในการบริหารจัดการการจัดขยะเหล่านั้น ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมากมายทุกวัน ส่งผลให้มีขยะตกค้าง เป็นจำนวนมากในแต่ละวันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนมากมาย ได้แก่ บ้านเมืองสกปรก ไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ และพาหนะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น โรคไข้เลือดออกอหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง บาดทะยัก โรคทางเดินหายใจ เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดิน และแหล่งน้ำแหล่งน้ำเน่าเสีย ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็น สาเหตุของปัญหาน้ำท่วม เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ และเกิดก๊าช มีเทนจากการฝังกลบขยะ และขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่นโฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมาเทศบาลตำบลหารเทา ร่วมกับ บ้านโหนดหมู่หมู่ 9ริเริ่มดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะล้นชุมชน และไม่มีที่กำจัดขยะ โดยสร้าง กระบวนการเรียนรู้ในชุมชน จัดตั้งองค์กรชุมชนในการบริหารจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และ ก่อให้เกิดการสร้างรายได้ควบคู่การสร้างจิตสำนึกต่อการรักษ์บ้านเกิดของคนในชุมชน นอกจากจะเป็นการส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชน ของตนเองจนเกิดชุมชนต้นแบบการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อมในตำบลแล้ว ยังเป็นการลดปริมาณขยะที่นำไปกำจัดโดยการเผาและฝังกลบได้ ทำให้ช่วยลด สภาวะ เรือนกระจก (Green House Effect) ลดปริมาณก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผลให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น ตามมา หรือ เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Globel Warmming) เทศบาลตำบลหารเทา และบ้านโหนดหมู่ หมู่ 9 มีปณิธานร่วมกันที่จะขยายผลโครงการจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการสามระบบ ในรูปขยายผลสู่หมู่บ้านที่มี ความประสงค์จะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะในรูปธนาคารขยะหมู่บ้าน โดยเป็นหมู่บ้านที่ผ่านการลงมติประชาคม หมู่บ้านแล้ว และขยายผลสู่โรงเรียนในพื้นที่อีก ๑ โรงเรียน ทั้งนี้ จะทำให้ตำบลหารเทา เกิด กระบวนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนและความร่วมมือของ หมู่บ้าน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการบริหาร จัดการขยะแบบคัดแยกจากต้นกำเนิด และจัดการขยะอย่างเป็นระบบและถูกวิธี ส่งผลให้ตำบลหารเทา เป็นตำบลต้นแบบ แห่งการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ ลดงบประมาณเพื่อการจัดการขยะมูลฝอยและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลมาจากขยะมีพิษ และสิ่งปฏิกูลต่างๆ

 

2 ๒. เพื่อรณรงค์และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมถิ่นเกิด และบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น สอดคล้องหลักการของเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมร่วมกับประชาคมของชุมชนเพื่อสะท้อนสภาพปัญหาด้านสุขาภิบาลและแนวทางการจัดการขยะของชุมชนนั้นเพื่อให้ทราบสภาพที่แท้จริงและการจัดการบ้านเรือนในชุมชนและร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาโดยให้เน้นถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนในเรื่องการจัดการด้านสุขาภิบาลในชุมชน แนวทางการจัดการขยะ เพื่อดำเนินงานในระดับครัวเรือน และพัฒนาเป็นอาสาสมัครรณรงค์การคัดแยกขยะ และตกลงกติกาการดำเนินงานของกลุ่มให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการกลุ่มหรือบริหารงบประมาณหากมีจัดตั้งกองทุนการกำจัดขยะโดยผู้สนใจที่เข้าร่วมโครงการ ในหลังคาเรือนจะมีการแยกขยะเป็นชนิด โดยแบ่งเป็น
    • ขยะสดที่เป็นเศษอาหารมีการกำจัดโดยทิ้งใส่ถังหมักที่มีกากน้ำตาล เพื่อเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพนำไปบำรุงดิน หรือพัฒนาเป็นน้ำหมักไล่แมลงรดพืชผัก ต้นไม้ ที่ปลูกในสวนหรือไร่นา
    • ขยะแห้งให้มีการคัดแยกแต่ละชนิดในครัวเรือน พลาสติก กระดาษ แก้ว อาจแยกขยะใส่ภาชนะที่จัดเก็บหรือใช้ถุงปุ๋ยที่มีมากอยู่แล้วในชุมชนเก็บไว้แล้วทำการนัดหมายสมาชิกกลุ่มมารวมขยะเพื่อจะบันทึกน้ำหนักขยะ ของแต่ละครัวเรือนพร้อมนัดหมายรถรับซื้อขยะเข้ามาชื้อขยะรีไซเคิลในชุมชน และนำเงินที่ได้บริหารจัดการตามข้อตกลงของกลุ่ม 2.ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่แกนนำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      สร้างความเข้าใจแก่หน่วยงานและองค์กรต่างๆเพื่อแสวงหาแหล่งทุนและความร่วมมือในการดำเนินงานจัดการขยะอย่างครบวงจร 3.ชุมชนร่วมกันรณรงค์ จัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน และชุมชนให้น่าอยู่เน้นปลุกจิตสำนึกสมาชิกให้ตระหนักในการรักษาความสะอาดโดยกิจกรรมกำจัดขยะครั้งยิ่งใหญ่ในชุมชน เพื่อเป็นการสร้าง กระแสและประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันทั้งหมู่บ้าน 1 ครั้ง
  2. อบรมให้ความรู้การจัดการขยะอย่างครบวงจรโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ แก่ประชาชนในหมูบ้านและอสม.เพื่อเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน
  3. จัดเวทีประชาคมตัวแทนครัวเรือน หมู่บ้าน ทุกหมู่บ้าน เพื่อวิเคราะห์ปัญหา /วางแผนแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย -กำหนดกิจกรรมการจัดการขยะอย่างครบวงจร 5.1คัดเลือกแกนนำ กลุ่ม อสม. กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเยาวชน และตัวแทนกลุ่มทุนต่างๆในพื้นที่เพื่อเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรม
    5.2จัดตั้งกลุ่มกิจกรรมการจัดการขยะ เช่น กลุ่มเก็บขยะสะสมขายเป็นเงิน กลุ่มทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ กลุ่มเยาวชนอาสาพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ มีการลดปริมาณขยะลงได้ เพราะเมื่อแยกวัสดุส่วนที่ยังมีประโยชน์ออกไป เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ ก็จะเหลือปริมาณขยะจริงที่จำเป็นต้องกำจัดหรือทำลายน้อยลง ซึ่งขยะนี้สถานที่ที่ใช้ทำลายขยะก็นับวันแต่ จะหายากลงทุกวัน
๒ ประหยัดงบประมาณลงได้ เพราะในเมื่อเหลือปริมาณขยะจริงที่จำเป็นต้องกำจัดหรือทำลายน้อยลง จึงใช้ งบประมาณน้อยลงในการเก็บขนและกำจัดหรือทำลายขยะ เช่น สามารถซื้อถังขยะให้น้อยลง สามารถซื้อรถเก็บขนขยะให้ น้อยลง สามารถมีคนงานจำนวนน้อยลง และใช้เงินจ้างในการกำจัดและทำลายขยะน้อยลง ถ้าปริมาณขยะลดลง งบประมาณก็สามารถเหลือนำไปพัฒนางานด้านอื่นได้ เช่น ซ่อมแซมถนน สร้างสวนสาธารณะ และการ รักษาพยาบาล ฯลฯ
๓ ได้วัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่เรียกว่า (Recycle) เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ เช่น กระดาษ ๑ ตัน ได้มาจากการตัดต้นไม้ใหญ่ถึง ๑๗ ต้น เพื่อมาใช้ทำเยื่อกระดาษ
๔ สงวนทรัพยากรธรรมชาติและประหยัดพลังงาน จากข้อที่ ๓ จะได้ผลเป็นการสงวน ทรัพยากรธรรมชาติ และประหยัดพลังงาน เพราะนอกจากจะลดการใช้วัสดุที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังไม่ต้องใช้ พลังงานในการขุดค้น เช่น ในการผลิตอุปกรณ์ที่เป็นพลาสติกนั้น แทนที่จะต้องใช้เม็ดพลาสติกใหม่ ซึ่งกว่าจะได้ต้องใช้ พลังงานมากมาย ก็ใช้พลาสติกที่ผ่านการใช้แล้วนำมาหลอมใช้ใหม่
๕ ช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เพราะในเมื่อขยะน้อยลง สิ่งแวดล้อมก็จะต้องดีขึ้น สะอาดขึ้น ปลอดภัยต่อ สุขภาพมากขึ้น ซึ่งผลประโยชน์ที่กล่าวมาทั้ง ๔ ประการก็เป็นผลประโยชน์ของทุกคนในท้องถิ่นร่วมกัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2560 10:05 น.