กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจ ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L2506-01-035
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบองอ
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 59,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิมะสากี นิจิยี่งอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 5000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
โรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม - กันยายน ของทุกปีซึ่งเป็นช่วงระหว่างปิดภาคเรียนพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุนชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน อบต. โรงพยาบาลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้โดยการให้ประชาชนร่วมมือกันทำความสะอาด ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านและชุมชน โดยนำมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5 ป 1 ข มาใช้ ได้แก่ 1. ปิด ปิดภาชนะกักเก็บน้ำ 2. เปลี่ยนเปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ ถังเก็บน้ำสำหรับอาบ 3. ปล่อยปลาหางนกยูง หรือปลากินลูกน้ำในอ่างบัว หรือที่กักเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด 4. ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมไม่ให้มีน้ำขังในที่ต่างๆ 5. ปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ และในช่วงฤดูร้อนต่อช่วงฤดูฝนต้องเพิ่ม 1 ข คือ ขัดภาชนะที่เคยใช้กักเก็บน้ำก่อนมารองรับน้ำครั้งใหม่ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบองอ ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของ สุขภาพประชาชน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจ ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกประจำปี 2563 ขึ้น ออกปฏิบัติหน้าที่ในการพ่นเคมีกำจัดยุงลายร่วมกับชุมชน และแจกเอกสารความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนในเขตตำบลบองอ ครอบคลุม ทุกครัวเรือน เพื่อกำจัดยุงลายซึ่งเป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออกและเพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงเป็นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก 2. เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในบ้านตนเองอย่างต่อเนื่อง 3. เพื่อให้เกิดความร่วมมืออันดีระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับชุมชน

 

5000.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
  2. ประชุมชี้แจง แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
  3. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์พร้อมประสานงานกับ อสม.คณะกรรมการชุมชนเพื่อร่วมดำเนินการ
  4. ดำเนินงานตามตารางการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย
    -พ่นหมอกควันเพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่ ได้แก่ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนตาดีกา
    -ประชาสัมพันธ์ วิธีป้องกันและควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคเกี่ยวกับความรู้และอาการสำคัญของผู้ป่วยไข้เลือดออกในหลากหลายช่องทาง เช่น ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย แผ่นพับป้ายประชาสัมพันธ์ รถเคลื่อนที่
    -รณรงค์จิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่นกิจกรรมคว่ำกะลา (บูรณาการร่วมกับรพสต.ในพื้นที่)แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์ กิจกรรมแจกทรายอะเบท
  5. สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดการระบาดของโรคไข้เลือดออก
    1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชน รพสต. และอบต.สามารถบูรณาการร่วมกันได้เป็นอย่างดี ในการป้องกันแก้ไข
      ปัญหายุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2563 00:00 น.