กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกำแพงเพชร


“ โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุ ”

ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
ทพ.ครรชิต แซ่ลือ

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุ

ที่อยู่ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 63-L8020-1-04 เลขที่ข้อตกลง 6/63

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 4 มิถุนายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุ จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกำแพงเพชร ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 63-L8020-1-04 ระยะเวลาการดำเนินงาน 4 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 35,500.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกำแพงเพชร เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพปีงบประมาณ 2561 ของจังหวัดสงขลา พบว่าเด็กอายุ 3 ปี ในอำเภอรัตภูมิ มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 55.6 ในขณะที่เด็กกลุ่มอายุ 12 ปี มีฟันดีไม่มีผุ (cavity free) คิดเป็นร้อยละ 74.8 ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาโรคฟันผุในทั้ง 2 กลุ่มอายุ ยังเป็นปัญหาที่ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง และต้องอาศัยการช่วยเหลือดูแลสุขภาพช่องปากจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆ กลุ่มอายุ ซึ่งในแต่ละกลุ่มอายุ ก็ยังมีพฤติกรรมในการดูแลทันตสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเช่นกัน การแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจาก พ่อ แม่ ครู ผู้ปกครอง และผู้สูงอายุที่ดูแลบุตรหลาน โดยจะต้องมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีทางทันตสุขภาพ ตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์ การเลี้ยงดูบุตร ตลอดจนครูพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูประจำชั้นในระดับประถมศึกษา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ป่วยโรคสำคัญได้แก่ โรคเบาหวานและกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคในช่องปากและจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมอีกด้วย     กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลรัตภูมิ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุต่างๆ ของเครือข่ายอำเภอรัตภูมิขึ้น เพี่อลดการเกิดโรคฟันผุ ส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มอายุต่างๆ และช่วยให้หญิงตั้งครรภ์, ผู้ปกครอง, ครูพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ครูในโรงเรียนประถมศึกษา, ผู้ป่วยเบาหวาน, อาสาสมัครสาธารณสุข, ผู้สูงอายุ ฯลฯ ได้มีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี ทั้งของตนเองและครอบครัว  อันจะส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายสำคัญ  คือ กลุ่มเด็กเล็กได้รับการใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม นำไปสู่การแก้ปัญหาทันตสุขภาพอย่างยั่งยืนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เด็กกลุ่มอายุ 0-12 ปี มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น
  2. 2. เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มอายุต่างๆอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 1. กิจกรรมแม่ลูกฟันดี (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.มนรัตน์ หงษ์สวัสดิ์)
  2. 2. กิจกรรมศูนย์ฯเด็กเล็กฟันสวย (ผู้รับผิดชอบ ทพ.ครรชิต แซ่ลือ)
  3. 3. กิจกรรมรักษฟัน (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.มะลิวัลย์ สุวรรณเจริญ)
  4. 4. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.จิตา หน่อพรหม)
  5. 5. กิจกรรมเบาหวานฟันดี (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.จิตา หน่อพรหม)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 296
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 454
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 475
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 18
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่เข้าโครงการมีความรู้ทักษะและทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีและสนใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก 3. มีการประสานงานและสัมพันธภาพที่ดีระหว่างงานทันตสาธารณสุขและทีมบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน รวมถึงเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีด้วย 4. นักเรียน ป.1–ป.6 มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ 5. ชมรมผู้สูงอายุมีการดำเนินกิจกรรมทันตสุขภาพที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น 6. ลดการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ และเพิ่มการบดเคี้ยวที่ดีในผู้สูงอายุที่ได้รับบริการฟันเทียม 7. ผู้ป่วยเบาหวานสามารถนำความรู้ด้านทันตสุขภาพที่ได้ไปดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมและลดภาวะแทรกซ้อนในช่องปากจากโรคเบาหวาน


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. 1. กิจกรรมแม่ลูกฟันดี (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.มนรัตน์ หงษ์สวัสดิ์)

วันที่ 17 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

คลินิกANC ให้บริการทุกวันพฤหัสบดี ซึ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลกำแพงเพชรที่รับฝากครรภ์เชิญชวนหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการรายใหม่ทุกรายขึ้นทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมแม่ลูกฟันดี และเจ้าหน้าที่ทันตบุคลากรให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก ให้ทันตสุขศึกษา สาธิตการแปรงฟัน และฝึกปฏิบัติทักษะการแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี จำนวน 12 คน และให้บริการส่งต่อนัดหมายเพื่อรับบริการทันตกรรมที่โรงพยาบาลรัตภูมิ อายุครรภ์ 4-6 เดือน ที่สามารถทำฟันได้อย่างปลอดภัย จำนวน 12 คน คลินิกWell Child Clinic ให้บริการในวันพุธที่ 2 ของเดือน โดยเจ้าหน้าที่ทันตบุคลากรจะให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากเด็ก และให้บริการทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุให้กับเด็กที่มารับบริการในคลินิกทุกคน รวมทั้งให้ความรู้และฝึกสอนแปรงฟันแนะนำการใช้แปรงซิลิโคนหรือแปรงเด็ก ให้เหมาะสมตามกลุ่มอายุแก่ผู้ปกครอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เนื่องด้วยสถานการณ์โคโรน่าไวรัส(COVID-19) ทำให้ไม่สามรถตรวจฟันหญิงตั้งครรภ์ได้ครบตามจำนวนกลุ่มเป้าหมาย 2.ผู้ปกครองไม่พาบุตรมารับบริการในวัน คลินิกWell Child Clinic
แนวทางแก้ไข 1.ให้เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลกำแพงเพชร กระตุ้นเตือนหญิงตั้งครรภ์ทุกๆครั้งที่มารับบริการ หรือหากเจอหญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่ได้รับบริการตรวจฟัน ให้โทรมาติดต่อวันนัดได้ที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลรัตภูมิ หรือประสานกับ อสม.ในพื้นที่ ลงให้บริการตรวจฟันหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน 2.จัดกิจกรรมออกเยี่ยมบ้านเด็ก 0-2 ปี เพื่อให้เด็กได้รับบริการตรวจฟันครอบคลุมมากขึ้น

 

140 0

2. 4. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.จิตา หน่อพรหม)

วันที่ 3 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ผู้สูงอายุจำนวน 88 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมตรวจฟันโดยทันตบุคลากร อบรมให้ความรู้ทันตสุขศึกษาในเรื่องของการดูแลสุขภาพช่องปาก สาเหตุของการสูญเสียฟัน และความจำเป็นในการใส่ฟันเทียม นอกจากนั้นกลุ่มผู้สูงอายุยังได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการในการฝึกทักษะการแปรงฟัน รวมถึงการใช้อุปกรณ์เสริมในการดูแลช่องปากเพิ่มเติมอย่างถูกวิธีอีกด้วย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.จำนวนครั้งในการเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมในกลุ่มผู้สูงอายุ มีค่อนข้างจำกัด เนื่องจากสาเหตุของตารางการดำเนินงานของทันตบุคลากร และการนัดหมายในชมรมไม่พร้อมกัน 2.จำนวนผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมน้อย

 

475 0

3. 2. กิจกรรมศูนย์ฯเด็กเล็กฟันสวย (ผู้รับผิดชอบ ทพ.ครรชิต แซ่ลือ)

วันที่ 21 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

1.ตรวจฟัน ทาฟลูออไรด์วานิช เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกลุ่มอายุ 3-5 ปี ทุกคน 2.ตรวจเยี่ยมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อรับทราบปัญหา สังเกตและให้คำแนะนำในกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารหลางวัน เวลา 08.30-11.30 น. 3.ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก 3-5ปี แก่คุณครูทุกท่านในศูนย์ เวลา 13.00-14.00น. 4.กิจกรรมพบปะให้ความรู้ผู้ปกครองขณะมารับเด็กหลังเลิกเรียน ในกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงโรคฟันผุสูง ช่วงเวลา 14.30-15.30 น.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครั้งที่1 ทันตบุคลากรโรงพยาบาลรัตภูมิ ได้เข้าตรวจเยี่ยมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกำแพงเพชร และโรงเรียนอนุบาลเจริญรัตน์ฯ(อนุบาล) ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคุณครูในศูนย์พัฒนาเด้กเล้ก พบว่าที่ศูนย์ฯ ยังมีมีสื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับจำนวนเด็กที่เพิ่มขึ้นทุกปี รวมทั้งยังขาดแคลนที่แขวนแปรงสีฟัน ไม่เพียงพอในห้องเรียน และแผ่นยึดที่แขวนแปรงมีการชำรุดบางส่วนด้วย ในส่วนของแปรงสีฟันและยาสีฟันที่มีอยู่ไม่ได้ใช้งบประมาณ แต่ผู้ปกครองของเด็กจัดซื้อมาเอง ครั้งที่ 2 ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากและเคลือบฟลูออไรด์เด็กทุกคนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 273 คน จากทั้งหมด 296 คน และให้บริการอุดฟันแบบ Smart Technique ในเด็กที่มีฟันผุ จำนวน 55 คน ครั้งที่ 3 จัดกิจกรรมพบปะผู้ปกครองของเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีฟันผุสูง ขณะมารับเด็กหลังเลิกเรียน จำนวน 6 ครอบครัว ได้ให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพ/อธิบายภาพของรอยโรคในช่องปากที่ถ่ายจากเด็กเล็กในศูนย์/ความสำคัญของฟันน้ำนม/ปัญหาจากการถอนฟันน้ำนมก่อนกำหนด และได้ตรวจฟันเด็กร่วมกับผู้ปกครอง อธิบายปัญหาและแนวทางแก้ไข ครั้งที่ 4 ประชุมกลุ่มย่อยให้ความรู้คุณครูผู้ดูแลเด็กทุกท่านในศูนย์ฯ ในหัวข้อดังนี้ - สภาวะทันตสุขภาพในปัจจุบัน -ความรู้ในการดูแลทันตสุขภาพในเด็กเล็ก -การทำความสะอาดช่องปากเด็กเล็กในวิธีต่างๆ -ซักถามปัญหาการดำเนินงาน -แนะนำวิธีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากเพื่อให้ปลอดภัยต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid -19 -มอบสิ่งสนับสนุน แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ที่ครอบแปรง และสื่อนิทาน

 

322 0

4. 3. กิจกรรมรักษฟัน (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.มะลิวัลย์ สุวรรณเจริญ)

วันที่ 27 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมวางแผนการดำเนินงานส่งเสริมทันตสาธารณสุขในโรงเรียนประถมศึกษาโดยทีมทันตบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง ประสานงานกับทางโรงเรียนบ้านชายคลอง โรงเรียนเจริญรัตน์ศึกษาวัฒนา เพื่อขอเข้าทำกิจกรรม โดยเจ้าหน้าที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลรัตภูมิ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลกำแพงเพชร ลงให้บริการตรวจฟันลงในแบบบันทึกการตรวจฟันเด็ก ชั้น ป.1-ป.6 ให้บริการเคลือบหลุ่มร่องฟันและทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุ และนัดหมายให้เด็กนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากมารับการรักษาที่โรงพยาบาลรัตภูมิตามความเหมาะสม ให้ความรู้ทันตสุขศึกษา สอนแปรงฟันและฝึกปฏิบัติ และมีการติดตามการดำเนินงานทันตสุขภาพในโรงเรียนและกระตุ้นการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน เดือนละ 1 ครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. นักเรียนมีอุปกรณ์การทำความสะอาดช่องปากที่ไม่เหมาะสม การดำเนินกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนพบว่ามีนักเรียนที่ไม่ได้นำแปรงสีฟัน และยาสีฟันผสมฟลูออไรด์มาจากบ้านเพราะทางบ้านมีฐานะยากจน ส่วนคนที่นำอุปกรณ์มาได้พบว่าส่วนใหญ่ แปรงสีฟันมีขนาดใหญ่กว่าช่องปาก ขนแปรงบาน และแข็งเกินไป การที่นักเรียนมีอุปกรณืแปรงฟันที่ไม่เหมาะสมจะทำให้การแปรงฟันไม่ได้ประสิทธิภาพ

 

485 0

5. 5. กิจกรรมเบาหวานฟันดี (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.จิตา หน่อพรหม)

วันที่ 16 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

เจ้าหน้าที่ทันตบุคลากร ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ออกหน่วยคัดกรองภาวะแทรกซ้อนสุขภาพช่องปากผู้ป่วยเบาหวาน โดยให้บริการตรวจฟัน/ให้ความรู้ทันตสุขศึกษา แจกแผ่นพับให้ความรู้เพื่อนำไปศึกษาเพิ่มเติม และให้บริการนัดมารักษาที่โรงพยาบาลรัตภูมิในรายที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก จะให้บริการนัดมารับบริการทางทันตกรรมที่โรงพยาบาลรัตภูมิ ซึ้งผู้เป่วยส่วนใหญ่สะดวกมารับบริการเอง ตามวันเวลาที่สะดวก จึงทำให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่ได้รับบริการอย่างทันท่วงที และผู้ป่วยที่ได้บริการนัดแล้วไม่มาตามนัด 2.ผู้ป่วยเบาหวานไม่นำสมุดประจำตัวโรคมาด้วยในวันที่มารับบริการทันตกรรม

 

140 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่เข้าโครงการมีความรู้ทักษะและทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีและสนใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก 3.มีการประสานงานและสัมพันธภาพที่ดีระหว่างงานทันตสาธารณสุขและทีมบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน รวมถึงเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีด้วย 4.นักเรียน ป.1-ป.6 มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น 5.ชมรมผู้สูงอายุมีการดำเนินกิจกรรมทันตสุขภาพที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น 6.ลดการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุ และเพิ่มการบดเคี้ยวที่ดีในผู้สูงอายุที่ได้รับบริการฟันเทียม 7.ผู้ป่วยเบาหวานสามารถนำความรู้ด้านทันตสุขภาพที่ได้ไปดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมและลดภาวะแทรกซ้อนในช่องปากจากโรคเบาหวาน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เด็กกลุ่มอายุ 0-12 ปี มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 70 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก 2. ร้อยละ 70 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติ และ plaque control 3. ร้อยละ 70 ของเด็ก 0-2 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก 4. ร้อยละ 70 ของผู้ปกครอง เด็ก 0-2 ปีได้รับการฝึกทำความสะอาดช่องปาก 5. ร้อยละ 60 ของเด็ก 0-2 ปี ได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช -2- 6. ร้อยละ 55 ของเด็ก 3-5 ปี ได้รับการตรวจช่องปาก 7. ร้อยละ 50 ของเด็ก 3-5 ปี เคลือบ/ทา ฟลูออไรด์เฉพาะที่ 8. ร้อยละ 10 ของเด็ก 3-5ปี ได้รับการอุดฟันด้วยวิธี SMART 9. ร้อยละ 50 ของเด็ก 6-12 ปี ได้รับการตรวจช่องปาก
0.00 0.00

 

2 2. เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มอายุต่างๆอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : 10. ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยเบาหวานได้รับบริการคัดกรองสุขภาพสุขภาพช่องปาก 11. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุในชมรมที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1243 800
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 296 273
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 454 427
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 475 88
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 18 12
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เด็กกลุ่มอายุ 0-12 ปี มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น (2) 2. เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในกลุ่มอายุต่างๆอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. กิจกรรมแม่ลูกฟันดี  (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.มนรัตน์  หงษ์สวัสดิ์) (2) 2. กิจกรรมศูนย์ฯเด็กเล็กฟันสวย  (ผู้รับผิดชอบ ทพ.ครรชิต  แซ่ลือ) (3) 3. กิจกรรมรักษฟัน  (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.มะลิวัลย์ สุวรรณเจริญ) (4) 4. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ  (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.จิตา หน่อพรหม) (5) 5. กิจกรรมเบาหวานฟันดี  (ผู้รับผิดชอบ ทพญ.จิตา หน่อพรหม)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุ จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 63-L8020-1-04

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ทพ.ครรชิต แซ่ลือ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด