กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก
รหัสโครงการ 63-L8020-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเจริญรัตน์ศึกษาวัฒนา
วันที่อนุมัติ 4 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 13,075.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกมลรัตน์ สุวรรณรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.087,100.287place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 มิ.ย. 2563 30 ก.ย. 2563 13,075.00
รวมงบประมาณ 13,075.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 24 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านสุขภาพในช่องปากเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในเด็กนักเรียน เมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้สาเหตุอาจมาจากพฤติกรรมด้านสุขภาพของเด็กที่เสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคในช่องปาก เนื่องจากการบริโภคขนมหวาน และขาดการดูแลเอาใจใส่ของเด็กนักเรียนและผู้ปกครองเด็กในการดูแลสุขภาพช่องปาก เช่น การสอนให้แปรงฟันที่ถูกวิธีและการดูแลให้แปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับเด็กนักเรียนส่วนใหญ่ยังเป็นเด็กเล็กทำให้ดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตัวเองได้ค่อนข้างน้อย ต้องอาศัยผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยงช่วยดูแลเรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธีและสม่ำเสมอ ทางโรงเรียนเจริญรัตน์ศึกษาวัฒนา ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเห็นว่าโรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หาก เริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพในช่องปากขึ้น เพื่อสร้างและฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดี ที่จะช่วยส่งเสริมและลดปัญหาสุขภาพในช่องปากของเด็กให้ดีขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างนักเรียนแกนนำด้านทันตสุขภาพในโรงเรียน

มีนักเรียนแกนนำด้านทันตสุขภาพที่ผ่านการฝึกอบรมแล้ว ห้องเรียนละ 2 คน

24.00
2 เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการแปรงฟันและรักษาสุขภาพช่องปาก

นักเรียนแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ ทั้งตอนเช้า กลางวัน และก่อนนอน

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพในช่องปาก

นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพในช่องปาก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 754 13,075.00 3 13,075.00 0.00
4 มิ.ย. 63 - 31 ก.ค. 63 กิจกรรมฝึกอบรม 24 7,285.00 7,285.00 0.00
4 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปาก 365 4,970.00 4,970.00 0.00
4 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปาก 365 820.00 820.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 754 13,075.00 3 13,075.00 0.00

วิธีการดำเนินงาน 1. อบรมนักเรียนแกนนำด้านทันตสุขภาพ ห้องเรียนละ 2 คน โดยวิทยากรด้านทันตสุขภาพ เพื่อเป็นผู้นำในการดูแลนักเรียนและจัดกิจกรรมส่งเสริมต่างๆด้านทันตสุขภาพในโรงเรียน 2. ตัวแทนนักเรียนแกนนำ ให้ความรู้ด้านการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันที่ถูกวิธี เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติแก่นักเรียนในโรงเรียน 3. จัดกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน โดยให้นักเรียนแกนนำของห้อง ตรวจสอบการแปรงฟันของนักเรียนในห้องตนเอง และบันทึกในแบบบันทึกการแปรงฟันของห้องเรียนทุกวัน 4. ครูประจำชั้นตรวจสอบพฤติกรรมการแปรงฟันที่บ้านของนักเรียน โดยดูจากบันทึกของผู้ปกครอง ในสมุดบันทึกการแปรงฟันตอนเช้า-ก่อนนอน ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์
5. จัดป้ายนิเทศ และนำเสนอข่าวสารหรือความรู้ด้านทันตสุขภาพแก่นักเรียน โดยแกนนำนักเรียน 6. จัดบูรณาการการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปากและฟัน โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 7. ตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนทุกคนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพปีละ 2 ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. มีแกนนำนักเรียนที่มีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพในช่องปาก และสามารถเป็นตัวแทนในการเผยแพร่ความรู้แก่นักเรียนคนอื่นๆได้
2. นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการแปรงฟันและการรักษาสุขภาพช่องปาก โดยรู้จักวิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธี และมีการแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ 3. นักเรียนทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพในช่องปาก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2563 11:22 น.