กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครองผู้บริโภค
รหัสโครงการ 63-l3007-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.สะกำ
วันที่อนุมัติ 18 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 1 พฤศจิกายน 2563
งบประมาณ 19,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซารพ๊ะ โสะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะกำ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 มิ.ย. 2563 30 ก.ย. 2563 19,050.00
รวมงบประมาณ 19,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ แต่จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคพบว่า การใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้นปีงบประมาณ 2563 ตำบลสะกำ มีมีร้านค้า ได้แก่ร้านชำ จำนวน 13 ร้าน และ แผงลอยจำนวน 4 ร้าน ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้ เลือก ซื้อสินค้า ตามร้านที่มีในชุมชน โดยผู้ประกอบการและผู้บริโภค ยังไม่ไตระหนักในการเลือกซื้อสินค้า ซึ่งผู้บริโภคเมื่อซื้อสินค้าและใช้ไป ถ้าสินค้าไม่ปลอดภัยอาจส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อป้องกันปัญหาด้านสุขภาพที่จะก่ออันตรายทั้งระยะสั้นและระยะยาว และเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกำ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและเฝ้าระวังคุณภาพสินค้าในร้านชำและแผงลอย

ร้อยละ  80 ผู้ประกอบการและเฝ้าระวังคุณภาพสินค้าในร้านชำและแผงลอย มีความรู้เกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า

0.00
2 2.เพื่อให้ ผู้ผู้ประกอบการและ บริโภคมีความรู้และความตระหนักในการเลือกสินค้า ที่ไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

ร้อยละ  80  ผู้ประกอบการและ บริโภคมีความรู้และความตระหนักในการเลือกสินค้า ที่ไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักและเฝ้าระวังเลือกบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ

ร้อยละ  80  ภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักและเฝ้าระวังเลือกบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและเฝ้าระวังคุณภาพสินค้าในร้านชำและแผงลอย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อให้ ผู้ผู้ประกอบการและ บริโภคมีความรู้และความตระหนักในการเลือกสินค้า ที่ไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : ข้อที่ 3 เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักและเฝ้าระวังเลือกบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

18 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่องค์กร อสม./แกนนำชุมชน/กสค 60.00 1,500.00 -
18 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 ดำเนินการสำรวจและตรวจร้านชำและแผงลอย 150.00 6,000.00 -
18 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานสำรวจ 60.00 6,000.00 -
18 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 การตรวจมาตรฐานการจัดตั้งร้านชำและแผงลอย 20.00 5,550.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นที่ 1 .ประชุมชี้แจงโครงการให้เครือข่ายและผู้เกี่ยวข้อง     2. ประสานชุมชนและผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการ     3.เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ
1. 1.ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการรณรงค์การคุ้มครองผู้บริโภค 1.2 สำรวจข้อมูล ร้านชำและแผงลอยในพื้นที่ 2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ดำเนินการตรวจ ร้านชำและแผงลอยในเขตตำบสะกำ 2.2 เชิญชวนร้านชำและแผงลอย ให้ดำเนินการพัฒนาสถานประกอบการของตนเองให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร 2.3 จัดเวทีแลกเปลี่ยน แก่ผู้ประกอบการ อสม. /แกนนำชุมชน /กสค.เป้าหมาย ทั้งหมด 60 คน 3.ขั้นติดตามประเมินผล - ดำเนินการตรวจมาตรฐานการจัดตั้งร้านขายอาหารซ้ำทุกๆ 1-3 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ     1 ผู้ประกอบการและเฝ้าระวังคุณภาพสินค้าในร้านชำและแผงลอย มีความรู้เกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า.     2.ผู้ประกอบการและ บริโภคมีความรู้และความตระหนักในการเลือกสินค้า ที่ไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพ.     3. ภาคีเครือข่ายและความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักและเฝ้าระวังเลือกบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2563 00:00 น.