กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโภชนาการดี พัฒนาการสมวัย
รหัสโครงการ 63-l3007-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.สะกำ
วันที่อนุมัติ 18 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มีนาคม 2563 - 30 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 1 กุมภาพันธ์ 2564
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัสหม๊ะ วาเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะกำ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 27 มี.ค. 2563 31 ธ.ค. 2563 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด ๐– ๕ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคมเด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมมีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีไม่เจ็บป่วยโรคติดต่อร้ายแรงมีการเจริญเติบตามวัยเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต จากผลการดำเนินงานการดูแลเด็กอายุ๐–๕ปีของตำบลกายูบอเกาะในปี๒๕๕๗-๒๕๕๙ พบเด็กมีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์เพียงร้อยละ๗๘.๗๘,๘๐.๖๑และ๗๙.๒๓มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าร้อยละ๑.๖๑,๓.๐๕และเด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมมีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานและมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกันโดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมดการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นเด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้มีอารมณ์แจ่มใสรู้จักควบคุมอารมณ์เข้ากับผู้อื่นได้ดีและมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัวในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดีมักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆนอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็กเด็ก๐–๕ปียังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการเฝ้าระวังโภชนาการ ประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างในการนี้ทางโรงพยาบาลรามันได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมเฝ้าระวังพัฒนาการและโภชนาการในเด็ก ๐ – ๕ ปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑ เพื่อพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญ การเฝ้าระวังและการกระตุ้นพัฒนาการเด็กแก่ผู้ปกครองในพื้นที่

ร้อยละ  80  ผู้ปกครอง มีความรู้และความเข้าใจในการกระตุ้นพัฒนาการการของเด็กได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถสังเกตความผิดปกติของบุตรได้

ร้อยละ  80  ผู้ปกครอง มีความรู้สามารถสังเกตความผิดปกติของบุตรได้

0.00
3 3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการตรวจพัฒนาการด้วยตนเอง

ร้อยละ  80  ประชาชน มีความรู้และความเข้าใจในการกระตุ้นพัฒนาการการของเด็กได้อย่างถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
27 มี.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 ฝึกทักษะการกระตุ้นพัฒนาการ การสังเกตเด็ก 0 0.00 -
27 มี.ค. 63 - 30 ธ.ค. 63 ฝึกลงข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะทพโภชนาการ 0 0.00 -
25 มิ.ย. 63 กิจกรรมการให้ความรู้และความเข้าใจในการดูแลเด็กให้มีสุขภาพดดี 120 20,000.00 -
รวม 120 20,000.00 0 0.00

ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ
1. เก็บรวบรวมข้อมูล 2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขอทรัพยากรและงบประมาณสนับสนุนโครงการฯ 3. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ
1. อบบรมผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะโภชนาการน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
2. สาธิตเมนูอาหารตามวัยที่เหมาะสม 3. ฝึกลงข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะทุโภชนาการ ในเด็ก 4. ฝึกกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ขั้นที่ 3 สรุปผล
      9. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กปฐมวัยทุกคน ได้รับการเฝ้าระวังตรวจประเมินพัฒนาการ ๒. เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการตรวจคัดกรองและแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ๓. เด็กได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ อายุ หากล่าช้าได้รับการติดตาม   ๔. เด็กมีน้ำหนักดีสูงดีสมส่วน และสามารถติดตามในรายที่มีน้ำหนักตัวน้อยได้ทันเวลา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2563 00:00 น.