กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2985-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด เทศบาลตำบลมะกรูด
วันที่อนุมัติ 20 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 63,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักปลัดเทศบาลตำบลมะกรูด ร่วมกับ pcu มะกรูด, อาสาสมัครชุมชนตำบลมะกรูด, ผู้นำชุมชน,หน่วย srrt อำเภอโคกโพธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.738,101.119place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2560 29 ธ.ค. 2560 63,000.00
รวมงบประมาณ 63,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่สำคัญของการสาธารณสุขของประเทศไทยเพราะเป็นเขตร้อนชื้น ไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย ตัวเมียกัดคนที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก แต่ในปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเกิดโรคกับผู้ใหญ่และมีจำนวนมากขึ้นทุกปี โรคนี้มักจะระบาดในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานที่ราชการและชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำ เช่นยางรถยนต์ จานรองขาตู้กับข้าว เป็นต้น ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการรณรงค์เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปี สถานการณ์ไข้เลือดออกของตำบลมะกรูด เมื่อปี 2559 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกรวมในทุกหมู่บ้านของตำบลมะกรูด ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ไม่มีความรุนแรง จึงไม่ได้สนใจต่อการเกิดโรคมากนัก โรคไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาอย่างมากสำหรับตำบลมะกรูด เพราะยังมีผู้ป่วย และเสียชีวิตจากโรคนี้อยู่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหนึ่งในการส่งเสริม การป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ เพราะเป็นหน่วยงานราชการที่ใกล้ชิดกับประชาชนในท้องถิ่นมากที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 - เพื่อลดอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 63,000.00 1 63,000.00
23 พ.ค. 62 สำรวจและประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และพ้นหมอกควันในพื้นที่ที่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 0 63,000.00 63,000.00

1 ประสานงานกับผู้นำชุมชน/สท./อสม./ศูนย์พัฒนาชุมชนตำบลมะกรูดและประชาชนในหมู่บ้านเพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงานในครั้งนี้ 2 ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชนทางหอกระจายข่าว แจกเอกสารแผ่นพับ
3 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทุกวันศุกร์โดยอสม.และชาวบ้าน 4 พ่นหมอกควัน ในโรงเรียน จำนวน 3 โรง ในเขตพื้นที่ตำบลมะกรูด, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาค้อใต้, โรงเรียนตาดีกา 5 พ่นหมอกควัน ในพื้นที่ที่เกิดผู้ป่วยไข้เลือดออก 2.6 ใส่ทรายอะเบท 2.7 ประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่
  2. สามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว, ลดอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  3. มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ รวมถึงประชาชนในพื้นที่ตำบลมะกรูด
  4. เด็กๆในสถานศึกษาปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2560 13:13 น.