โครงการข้อดีหนีข้อเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
ชื่อโครงการ | โครงการข้อดีหนีข้อเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย |
รหัสโครงการ | 63-L7251-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลระโนด |
วันที่อนุมัติ | 23 มิถุนายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 24,170.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวงามศิริ สิงห์คำป้อง |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.631,100.374place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภาวะโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆจากการที่ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน ประเทศไทยพบผู้ป่วยมากกว่า 6 ล้านคน ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป พบได้ถึงร้อยละ 50 อัตราความชุกของโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุในประเทศไทย พบปัญหาปวดข้อเข่าเสื่อมอับดับ 1 ผู้ที่เป้นข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวดข้อ ปวดตึงกล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่า บางครั้งมีอาการบวมแดงร่วมด้วย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากน้ำหนักตัวที่มาก การใช้ข้อเข่ามาก อาจใช้นานกว่าปกติหรือผิดท่า ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมากๆ จะมีอาการเจ็บหรือปวด ข้อเข่าผิดรูป ข้อฝืดหรือข้อติด เดินได้ไม่ปกติ การปฏิบัติภารกิจประจำวันต่างๆทำได้ไม่สะดวก ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมาณทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยปกติทางคลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลระโนด ได้มีการใช้ยาสมุนไพรพอกเข่าในการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม และการออกกำลังกายบริหารข้อต่างๆในร่างกายและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยผ้าขาวม้า นอกจากใช้การนวดประคบและรับประทานยาสมุนไพร เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาซึ่งพบว่าผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง มีระดับความเจ็บปวดของข้อเข่าลดลง มีการเคลื่อนไหวข้อเข่าดีขึ้น ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลบ่อตรุ พบว่ามีผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมเป็นจำนวนมาก การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตสังคมไทย โดยใช้วิธีการทางแพทย์แผนไทย นั้นคือ การใช้สมุนไพรในท้องถิ่นมาทำเป็นยาพอกเข่า ลดอาการปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อม รวมทั้งกระตุ้นการดูแลตนเองด้วยสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและใจที่ดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลบ่อตรุ ได้รับความรู้ความเข้าใจในการใช้สมุนไพรมากขึ้น ร้อยละ 80 ของกลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สมุนไพรมากขึ้น |
0.00 | |
2 | เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม มีระดับความเจ็บปวดของข้อเข่าลดลง มีการเคลื่อนไหวข้อเข่าที่ดีขึ้น ร้อยละ 60 ของกลุ่มผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม มีระดับความเจ็บปวดข้อเข่าลดลง มีการเคลื่อนไหวข้อเข่าดีขึ้น |
0.00 | |
3 | เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุ มีความรู้กายบริหารที่เหมาะสมกับวัยโดยใช้ผ้าขาวม้า ร้อยละ 80 กลุ่มผู้สูงอายุ มีความรู้กายบริหารที่เหมาะสมกับวัยโดยใช้ผ้าขาวม้า |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ 1. ศึกษาข้อมูลของผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาโรคข้อเข่าเสื่อม แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล 2. ประชุมชี้แจงโครงการร่วมระหว่างที่ มอสม.และผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลระโนด 3. นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ 4. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และจัดทำแผนลงเพื่อลงดำเนินโครงการ 5. จัดเตรียมยาพอกเข่าสมุนไพร โดยการนำสมุนไพร ได้แก่ ข้างสาร ปูนแดง หัวไพล และผักเสี้ยนผี หั่นและปั่นผสมกันและเก็บเตรียมในตู้เย็น ขั้นดำเนินการ 1. การตรวจคัดกรองผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม 2. การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมและสมุนไพรพอกเข่า 3. สอนการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าประกอบเพลงที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ 4. สอนเชิงปฏิบัติการทำสมุนไพรพอกเข่าในผู้สูงอายุด้วยตนเอง 5. เจ้าหน้าที่สอนสาธิตการพอกยาสมุนไพรในผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคข้อเข่าเสื่อม 6. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน
กลุ่มผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม มีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในด้านการดูแลข้อเข่าดีขึ้น ส่งผลให้ระดับความเจ็บปวดของข้อเข่าลดลง รวมทั้งกระตุ้นการดูแลตนเองด้วยสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2563 14:51 น.