โครงการสตรีสำนักเอาะ ใส่ใจ ต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปีงบประมาณ 2563
ชื่อโครงการ | โครงการสตรีสำนักเอาะ ใส่ใจ ต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปีงบประมาณ 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L5253-1-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำนักเอาะ |
วันที่อนุมัติ | 23 มิถุนายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2563 |
งบประมาณ | 21,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายเจริญศุกร์ ลาภศิริ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.505,100.802place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของสตรีที่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม | 20.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูในพื้นที่ รพ.สต.สำนักเอาะ พบว่า สตรีในกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกยังไม่ครอบคลุมเป้าหมาย คือ ร้อยละ 20 ต่อปี เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายขาดความตระหนักในการมาตรวจคัดกรอง มีปัญหาเรื่องเครื่องมือในการตรวจคัดกรองไม่เพียงพอต่อการตรวจ กลุ่มเป้าหมายมีความเขินอายไม่ให้ความร่วมมือ จากผลการคัดกรองได้น้อยก็ยิ่งทำให้การค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกได้น้อยด้วย ทำให้ไม่สามารถลดอัตราการป่วย การตาย ของสตรีด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้ จากปัญหาดังกล่าว รพ.สต.สำนักเอาะ จึงได้จัดทำโครงการสตรีสำนักเอาะ ใส่ใจ ต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมปีงบประมาณ 2563 เพื่อควบคุมและป้องกันการป่วย ตาย ด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก นำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี ของสตรีในพื้นที่บ้านสำนักเอาะ ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้สตรี อายุ 30 - 60 ปี ได้รับความรู้ มีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละของสตรี อายุ 30 - 60 ปี ได้รับความรู้ มีความตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพิ่มขึ้น |
25.00 | |
2 | เพื่อให้สตรี อายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยร้อยละ 20 มีความรู้และทักษะสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยผ่านการประเมินจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละของสตรี อายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีความรู้และทักษะสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยผ่านการประเมินจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพิ่่มขึ้น |
25.00 | |
3 | เพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก และผู้ป่วยได้รับการส่งต่อ รักษาอย่างถูกต้อง ต่อเนื่อง และทันท่วงที สตรีที่ตรวจพบอาการผิดปกติของมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกได้รับการส่งต่อ รักษาอย่างทันท่วงที |
100.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
28 ก.ค. 63 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ | 100 | 21,600.00 | - | ||
รวม | 100 | 21,600.00 | 0 | 0.00 |
- เตรียมการ
1.1 เตรียมบุคคล (ประชุมเจ้าหน้าที่ประจำ รพ.สต.สำนักเอาะ ร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อชี้แจงโครงการ วางแผนดำเนินการ ค้นหาและสำรวจ กลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่รับผิดชอบ)
1.2 เตรียมจัดเอกสาร (ออกหนังสือเชิญสตรีกลุ่มเป้าหมายตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 100 คน)
1.3 เตรียมวัสดุอุปกรณ์ (สื่อต่างๆ ที่จำเป็น เช่น แผ่นพับ , ป้ายไวนิล , แผ่นโปสเตอร์ เรื่องมะเร็งปากมดลูก พร้อมของที่ระลึกสำหรับผู้ที่รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก)
1.4 เตรียมการประชาสัมพันธ์ (ไปยังหอกระจายข่าวในหมู่บ้าน โดยจะให้อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นสื่อกลางในการเข้าถึงชุมชน)
1.5 เตรียมการประสานงานไปยังทีมสุขภาพเครือข่ายอำเภอสะบ้าย้อย เพื่อขอความร่วมมือในส่วนกำลังเจ้าหน้าที่ในการจัดทำโครงการ - ขั้นดำเนินการตามแผน
2.1 มีการประชุมวางแผนจัดเตรียมงานโดยกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขทำการสำรวจรายชื่อประชากร กลุ่มเป้าหมายสตรีที่มีอายุ 30-60 ปี จำนวน 100 คน
2.2 ส่งจดหมายถึงรายบุคคลตามรายชื่อที่ได้สำรวจไว้ (รวมถึงวิธีการบอกกล่าวด้วยวาจา และลายลักษณ์อักษร) เพื่อมารับการให้สุขศึกษาในเรื่องมะเร็งปากมดลูก
2.3 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มสตรี อายุ 30 - 60 ปี เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีกลุ่มเป้าหมายและแกนนำสุขภาพ พร้อมจัดทำ นำเสนอเอกสารและคำแนะนำ
2.4 ออกหนังสือเชิญสตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 30 - 60 ปี เพื่อมารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกในวันและเวลาที่กำหนด ติดตามบ่อยๆ
2.5 ทำการประชาสัมพันธ์ในชุมชน หมู่บ้าน ทางหอกระจายข่าวของหมู่บ้านโดยกลุ่มภาคีเครือข่ายสุขภาพ (อสม. , ผู้นำชุมชน , กำนัน , ผู้ใหญ่บ้าน)
2.6 ดำเนินการรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูกที่ รพ.สต. เป็นวันจันทร์ของทุกสัปดาห์โดยเจ้าหน้าที่ของ รพ.สต.สำนักเอาะและเชิญเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.ใกล้เคียงเป็นผู้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
2.7 ส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการและอ่านผล
2.8 รับผลตรวจเก็บรวบรวมข้อมูลและบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม JHCIS และแจ้งผลการตรวจแก่ผู้รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
2.9 การส่งต่อในรายที่ผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ ติดตามผลการรักษาภายหลัง และให้ตรวจเยี่ยมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ - ประเมิน และรายงานผล
- ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และตระหนักในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก โดยมารับบริการตรวจคัดกรองเพิ่มมากขึ้น
- ทำให้สามารถตรวจพบโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกของการป่วยซึ่งทำให้รักษาหายได้ ลดการสูญเสียทั้งชีวิตและงบประมาณในการรักษา
- สตรีที่ตรวจพบอาการผิดปกติของมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกได้รับการส่งต่อ รักษาอย่างทันท่วงที ร้อยละ 100
- ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ป่วย/ตาย จากโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมลดน้อยลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2563 11:00 น.