กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 63-L2515-1-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.มะนังปันยัง
วันที่อนุมัติ 20 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2563
งบประมาณ 92,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยามีนา มะแด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.423,101.587place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อ มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือบุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะจึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผลจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมะนังปันยัง มีจำนวนครัวเรือน ทั้งหมด ๗๐๖ ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด ๒,๘๖๕ คน ปัจจุบันพบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน ๒ รายคิดเป็นอัตราป่วย 6๙.๘๓ ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินเกณฑ์ทางระบาดวิทยา อัตราป่วย ๕๐ ต่อแสนประชากร โรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม - กันยายน ของทุกปีการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุนชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน อบต. โรงพยาบาลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้โดยการให้ประชาชนร่วมมือกันทำความสะอาด ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านและชุมชน โดยนำมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5 ป 1 ข มาใช้ ได้แก่ 1. ปิด ปิดภาชนะกักเก็บน้ำ 2. เปลี่ยนเปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ ถังเก็บน้ำสำหรับอาบ 3. ปล่อยปลาหางนกยูง หรือปลากินลูกน้ำในอ่างบัว หรือที่กักเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด 4. ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมไม่ให้มีน้ำขังในที่ต่างๆ 5. ปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ และในช่วงฤดูร้อนต่อช่วงฤดูฝนต้องเพิ่ม 1 ข คือ
ขัดภาชนะที่เคยใช้กักเก็บน้ำก่อนมารองรับน้ำครั้งใหม่ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมะนังปันยัง จึงได้จัดทำกิจกรรมโครงการชุมชนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 256๓ เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนมิให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปในวงกว้าง ป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรคและดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลให้ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกด้วย เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชนสถาบัน ต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคและร่วมกับชุมชน บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เช่น จัดกิจกรรม Big Cleaning Day ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกดีขึ้น เป้าหมายเด็กวัยเรียน,เยาวชน, และประชาชนทั่วไป จำนวน 1๐0 คน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2. เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

ตัวชี้วัด:จัดซื้อเครื่องพ่นหมอกควันแบบมือถือและวัสดุป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ชุมชน ๕ หมู่บ้าน จำนวน ๕ เครื่อง            ตัวชี้วัด: อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ๕๐ ต่อแสนประชากร

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. นำเสนอ/ทบทวนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกและโครงการแก้ไขปัญหา
  2. เสนอผู้บริหารขออนุมัติโครงการ
  3. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชน, อสม., ประชาชนในทุกหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจและขอความร่วมมือในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. จัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์เครื่องพ่นหมอกควันแบบมือถือ จำนวน ๕ เครื่องเพื่อใช้ในชุมชน ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน ๕ หมู่บ้าน
  5. ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้กับนักเรียนและประชาชนที่สนใจ ๑๐๐ คน
  6. รณรงค์ทำความสะอาดบ้านและบริเวณภายนอกกำจัดลูกน้ำยุงลาย รวมทั้งสถานที่ราชการ ได้แก่ โรงเรียน มัสยิด โรงเรียนตารีกา ศพด. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
  7. สำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลายในชุมชน บ้าน โรงเรียนประถมและมัธยม มัสยิด โรงเรียนตารีกา โดยอสม.และกลุ่มแกนนำนักเรียน เดือนละ ๑ ครั้ง
  8. ฉีดพ่นหมอกควันในชุมชน ๕ หมู่บ้าน โรงเรียนประถม ๑ โรง มัสยิด ๕ หมู่บ้าน โรงเรียนตารีกา ๕ หมู่บ้าน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.สามัคคี และรพ.สต.
  9. ทีมหน่วยเคลื่อนที่เร็วระดับตำบลดำเนินการสอบสวนโรคเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
  10. สรุปประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หน่วยงานและชุมชนมีวัสดุอุปกรณ์เพียงพอในการควบคุมและป้องกันโรคข้เลือดออก
  2. ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและลดอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชน
  3. เยาวชนนักเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2563 11:28 น.