โครงการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชน ปี 2563
ชื่อโครงการ | โครงการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชน ปี 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L5253-2-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5 |
วันที่อนุมัติ | 23 มิถุนายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2563 |
งบประมาณ | 30,765.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสารีผะ ประกอบแก้ว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.505,100.802place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 637 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น "ภัยเงียบ" เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5 บ้านสำนักเอาะ ดำเนินงานเน้นนโยบายเชิงรุก เร่งการป้องกันโรค โดยใช้เครือข่ายระหว่าง รพ.สต. กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของประชาชน จะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วน และใช้กระบวนการที่บูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงานโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ และเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5 บ้านสำนักเอาะ จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชน ปี 2563 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งรณรงค์ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ มีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ร้อยละของประชาชนที่ได้รับการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น |
60.00 | |
2 | เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และส่งต่ออย่างเป็นระบบ ร้อยละของผู้ป่วยรายใหม่ที่ได้รับการส่งต่ออย่างเป็นระบบ |
100.00 | |
3 | เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ |
60.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 637 | 30,765.00 | 0 | 0.00 | 30,765.00 | |
21 ก.ค. 63 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ | 637 | 30,765.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 637 | 30,765.00 | 0 | 0.00 | 30,765.00 |
ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ
1. เตรียมกลุ่มเป้าหมายที่ต้องตรวจคัดกรอง
2. จัดทำแผนกำหนดวันออกปฏิบัติงานเชิงรุกการดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการคัดกรอง เพื่อของบประมาณสนับสนุนโครงการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานใหม่
4. ประชาสัมพันธ์ โครงการฯ โดยเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายให้เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านทาง อสม. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชน
ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ
1. แต่งตั้งทีมสุขภาพสำหรับออกดำเนินงานคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
2. อบรม อสม. ให้มีทักษะในการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจน้ำตาลในเลือด การวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก คำนวณดัชนีมวลกายและวัดรอบเอว
3. อสม.ลงพื้นที่ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยมีการวัดความดันโลหิต ตรวจน้ำตาลในเลือด ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว และประเมินค่าดัชนีมวลกาย ในเขตรับผิดชอบของ อสม.
4. นำผลคัดกรองที่ได้มาแบ่งกลุ่มโรคตามปิงปองจราจรชีวิต 7 สี
5. นัดกลุ่มเสี่ยงที่ได้จากการคัดกรองให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคลและรายกลุ่ม
6. ติดตามวัดความดันโลหิตและตรวจเบาหวานหลังได้รับการปรับเปลี่ยนรายบุคคล และรายกลุ่ม 3 เดือนและ 6 เดือน
7. ส่งต่อผู้ที่ตรวจพบโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อทำการรักษาโดยแพทย์
- ลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลงได้
- ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
- ลดอัตราการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดลงได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2563 13:57 น.