โครงการสานสัมพันธ์ผู้สูงวัยบ้านสำนักเอาะ ปี 2563
ชื่อโครงการ | โครงการสานสัมพันธ์ผู้สูงวัยบ้านสำนักเอาะ ปี 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L5253-2-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | เครือข่ายผู้สูงอายุบ้านสำนักเอาะ |
วันที่อนุมัติ | 23 มิถุนายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2563 |
งบประมาณ | 18,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางประไพจิต สมถวิล |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.505,100.802place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
คุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลักของสังคม คือ ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกายและจิตใจทุกเพศทุกวัย จากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร จากนโยบายรัฐบาลให้มีการดูแลผู้สูงอายุ จึงมึความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนได้รับการดูแล
เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนประชากรผู้สูงอายุ บ้านสำนักเอาะ มีจำนวน 197 คน เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ เนื่องมาจาการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ จึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล เกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรค และมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และความสุขในบั้นปลายของชีวิต
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับความรู้ด้านสุขภาพ |
80.00 | |
2 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง จำนวนผู้สูงอายุที่สามารถดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาสุขภาพด้วยตนเอง |
80.00 | |
3 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีการพบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จำนวนผู้สูงอายุที่ได้มีการพบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ |
80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 80 | 18,900.00 | 0 | 0.00 | 18,900.00 | |
16 ก.ค. 63 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ | 80 | 18,900.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 80 | 18,900.00 | 0 | 0.00 | 18,900.00 |
- ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม. ผู้นำชุมชน และผู้นำกลุ่มเป้าหมาย
- จัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมาย
- ตรวจสุขภาพให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าอบรมทุกคน
- ชี้แจงแนวทางการดำเนินการชมรมผู้สูงอายุ สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมชมรมรายใหม่
- สนับสนุนให้ชมรมผู้สูงอายุจัดกิจกรรมร่วมกันทุกเดือน เช่น ทำบุญ ออกกำลังกาย สวดมนต์ไหว้พระ และฝึกสมาธิ การให้ความรู้ การสันทนาการต่างๆ และเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
- สรุปและประเมินผลโครงการ
- กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ เจตคติ ทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้อง
- กลุ่มเป้าหมายมีการปรับตัวได้ดีขึ้น สนใจเข้าร่วมกลุ่มร่วมกิจกรรมในชมรอย่างต่อเนื่อง
- กลุ่มเป้าหมายมีร่างกายแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุทีเกิดจาการปฏิบัติตนที่ไม่เหมาะสม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2563 14:56 น.