กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19)โรงเรียนรักเมืองไทย6บ้านโตนงาช้าง(เผียนประชาอุปถัมภ์)
รหัสโครงการ ปี2563-L5275-2-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนรักเมืองไทย6บ้านโตนงาช้าง(เผียนประชาอุปถัมภ์)
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 49,712.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุชาติ นวลเจริญ ผู้อำนวยการโรงเรียนรักเมืองไทย6บ้านโตนงาช้าง(เผียนประชาอุปถัมภ์)
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9,100.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 168 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๑๙ (COVID-๑๙) ที่กำลังแพร่ระบาดไปในหลายประเทศทั่วโลก อีกทั้งยังพบรายงานผู้ป่วยทั่วโลก จำนวน ๔,๘๙๑,๓๒๖ คน เสียชีวิตแล้ว จำนวน ๓๒๐,๑๓๔ ราย ในประเทศไทย พบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน ๓,๐๓๑ ราย เสียชีวิตแล้ว ๕๖ ราย (ข้อมูลศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ๑๙ (ศบค.) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓) โดยองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ส่วนในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ (Coronavirus Disease ๒๐๑๙ (COVID -๑๙)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โดยประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๓ เป็นต้นมา ซึ่งครม.ได้มีมติในคราวประชุมเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๓ เห็นชอบมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ข้อ ๒ ยับยั้งการระบาดภายในประเทศ  ข้อ ๒.๔ งดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย (สถาบันการศึกษา) โรงเรียน โรงเรียนนานาชาติ และสถาบันกวดวิชา หรือปรับวิธีการเรียนการสอนเป็นทางออนไลน์ และให้สถานศึกษาดำเนินการป้องกันโรคตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เมื่อสถานศึกษากลับมาเปิดสอนตามปกติ ประกอบกับกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกประกาศ ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๓ เรื่อง การเปิดเรียนของสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ โดยกำหนดให้เปิดเรียน ในวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
      โรงเรียนรักเมืองไทย6บ้านโตนงาช้าง(เผียนประชาอุปถัมภ์) เป็นสถานศึกษาที่เปิดทำการสอน ด้วยนักเรียนจำนวนมาก ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 115 คน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและถือปฏิบัติตามมาตรการหรือแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด จึงขอเสนออนุมัติ “โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคไวรัสโคโรนา ๑๙ (COVID-๑๙) โรงเรียนรักเมืองไทย6บ้านโตนงาช้าง(เผียนประชาอุปถัมภ์)” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้บุคลากร ครู และนักเรียน ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ได้ถูกต้อง

-  ร้อยละ ๑๐๐ ของบุคลากร ครู และนักเรียนสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยขณะอยู่ในสถานศึกษา -  ร้อยละ ๑๐๐ บุคลากร ครู และนักเรียนผ่านจุดคัดกรอง
-  ร้อยละ ๙๐ สามารถจัดกิจกรรม “Big Cleaning Day”

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 16 49,712.00 0 0.00
1 มิ.ย. 63 - 31 ก.ค. 63 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ 0 3,790.00 -
1 - 31 ก.ค. 63 การเตรียมงาน ๑.๑ แต่งตั้งคณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด ๑๙) เพื่อกำหนดมาตรการ และแนวทางของสถานศึกษา 16 800.00 -
1 - 31 ก.ค. 63 อบรมให้ความรู้ เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด ๑๙) 0 5,675.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมอื่นๆ 0 200.00 -
8 ก.ค. 63 กิจกรรมรณรงค์คัดกรอง 0 12,437.00 -
8 ก.ค. 63 กิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมภายในโรงเรียน “Big Cleaning Day” อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง 0 26,810.00 -

(๑) การเตรียมงาน ๑.๑ แต่งตั้งคณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด ๑๙) เพื่อกำหนดมาตรการ และแนวทางของสถานศึกษา
๑.๒ จัดประชุมวางแผนการดำเนินงาน ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน (๒) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้     ๒.๑ กิจกรรม “smart news smart kids” ผู้สื่อข่าวโควิดรุ่นเยาว์ ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวัง สื่อสารความเสี่ยง และประชาสัมพันธ์เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด ๑๙) ภายในโรงเรียน     ๒.๒ จัดบอร์ดนิทรรศการให้ความรู้ เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด ๑๙)
    ๒.๓ อบรมให้ความรู้ เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด ๑๙) (๓) กิจกรรมรณรงค์คัดกรอง     ๓.๑ จัดจุดคัดกรองก่อนเข้าสถานที่
    ๓.๒ รณรงค์ล้างมือ “Hand washing day” (๔) กิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมภายในโรงเรียน “Big Cleaning Day” อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง (๕) กิจกรรมจัดสถานที่เพื่อเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เช่น การเข้าแถว การเข้าคิว การจัดที่นั่งเรียน การจัดที่นั่ง รับประทานอาหาร ตามมาตรการ เว้นระยะห่างทางกายภาพ (Physical Distancing) (๖) สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(๑)  บุคลากร ครู และนักเรียนสามารถปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ได้ (๒) สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ในโรงเรียนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2563 15:02 น.