กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19)โรงเรียนพัฒนาการศึกษา
รหัสโครงการ ปี2563-L5275-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนพัฒนาการศึกษา
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 26,284.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแสละ หมัดอาดั้ม ผู้อำนวยการโรงเรียนพัฒนาการศึกษา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9,100.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 138 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019COVID-19.ในประเทศไทยวันนี้ ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่มีผู้ป่วยกลับบ้านได้3ราย ยอดผู้ป่วยสะสม 2,996รายหรือคิดเป็นร้อยละ95.57 ของผู้ป่วยทั้ง หมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล81ราย หรือร้อยละ 2.58 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 58รายผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น3,135 ราย จากสถานการณ์การติดเชื้อโควิด2019 ของประเทศไทยที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสืบเนื่องมาจากความร่วมมือร่วมใจของประชาชน องค์กรทุกภาคส่วน ที่ปฏิบัตจิตามมาตรการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อที่ภาครัฐกำหนดอย่างเข้มแข็งและรัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขได้เข้มมารการ เฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคทั้งในประเทศและผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ส่งผลให้ขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อของประเทศไทยอยู่ลำดับที่90 ของโลก จากหน่วยงาน กลุ่มภารกิจด้านข่าวและสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับนักเรียน บุคลากรและครู เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดภาคเรียนในวันที่1กรกฎาคม พ.ศ.2563 โรงเรียนพัฒนาการศึกษา เป็นสถานศึกษาที่เปิดทำการสอนมีทั้ง นักเรียนที่กลับไปและอยู่ประจำนวน120คน จำนวนครูบุคลากร จำนวน 18คน รวมทั้งสิ้น138 คนดั้งนั้นโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโคโรนา ตั้งรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โดยขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา เป็นเงินทั้งสิ้น 26,284 บาท (สองหมื่นหกพันสองร้อยแปดสิบสี่บาทถ้วน)ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้บุคลากร ครู และนักเรียน ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ได้ถูกต้อง

-  ร้อยละ ๑๐๐ ของบุคลากร ครู และนักเรียนสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยขณะอยู่ในสถานศึกษา -  ร้อยละ ๑๐๐ บุคลากร ครู และนักเรียนผ่านจุดคัดกรอง
-  ร้อยละ ๙๐ สามารถจัดกิจกรรม “Big Cleaning Day”

0.00
2 เพื่อให้บุคลากร ครู จัดเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเรียนได้
  • ร้อยละ 90สามารถจัดเตรียม ความพร้อมก่อนเปิดเรียน
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 18 26,284.00 0 0.00
1 - 30 มิ.ย. 63 การเตรียมงาน 18 900.00 -
8 ก.ค. 63 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ 0 9,810.00 -
8 ก.ค. 63 กิจกรรมรณรงค์คัดกรอง 0 9,029.00 -
8 ก.ค. 63 กิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมภายในโรงเรียน 0 6,345.00 -
8 ก.ค. 63 กิจกรรมอื่นๆ 0 200.00 -

(๑) การเตรียมงาน ๑.๑ แต่งตั้งคณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด ๑๙) เพื่อกำหนดมาตรการ และแนวทางของสถานศึกษา
๑.๒ จัดประชุมวางแผนการดำเนินงาน ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน (๒) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้     ๒.๑ กิจกรรม “smart news smart kids” ผู้สื่อข่าวโควิดรุ่นเยาว์ ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวัง สื่อสารความเสี่ยง และประชาสัมพันธ์เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด ๑๙) ภายในโรงเรียน     ๒.๒ จัดบอร์ดนิทรรศการให้ความรู้ เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด ๑๙)
    ๒.๓ อบรมให้ความรู้ เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด ๑๙) (๓) กิจกรรมรณรงค์คัดกรอง     ๓.๑ จัดจุดคัดกรองก่อนเข้าสถานที่
    ๓.๒ รณรงค์ล้างมือ “Hand washing day” (๔) กิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมภายในโรงเรียน “Big Cleaning Day” อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง (๕) กิจกรรมจัดสถานที่เพื่อเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เช่น การเข้าแถว การเข้าคิว การจัดที่นั่งเรียน การจัดที่นั่ง รับประทานอาหาร ตามมาตรการ เว้นระยะห่างทางกายภาพ (Physical Distancing) (๖) สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(๑)  บุคลากร ครู และนักเรียนสามารถปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ได้ (๒) สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ในโรงเรียนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2563 11:36 น.