กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 61-L2526-02-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. อบต.ซากอ
วันที่อนุมัติ 8 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลซากอ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.23,101.522place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างมั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ตำบลซากอ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลซากอ ตั้งแต่ ปี 2554-2559 จำนวน 2,8,13,15,8 และ 5 ราย ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย 21.74,84.92,135.13,155.45,83.04 และ52.73 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ ไม่มีผู้ป่วยตาย พบผู้ป่วยกระจายทุกหมู่บ้านจะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ และมีอันตรายถึงแก่ชีวิต การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม-กันยายน ของทุกปี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายของโรค สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณืของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการทำงายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและการควบคุมโรคด้านอื่นๆ ให้ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนในตำบลซากอ ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

มีการสนับสนุนให้ประชาชนสนใจในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

1.00
2 2.เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหนะของโรคไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดโรคและมีความตื่นตัวในการป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากยุง

1.00
3 3.เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือกออกในบ้านตนเองอย่าง ต่อเนื่อง

 

1.00
4 4.เพื่อให้เกิดความร่วมมืออันดีระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลซากอกับชุมชน

 

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

จัดทำโครงการเพี่อขออนุมัติงบประมาณ • ประชุมชี้แจงคณะกรรมการบริหารระบบกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลซากอเพื่อแจ้งสถานการณ์โรคและชี้แจง รายละเอียดโครงการฯ • ประชุมคณะทำงานกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเชิงรุก • จัดหาสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายและน้ำยาพ่นหมอกควัน • จัดเตรียมสื่อในการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก • จัดทำป้ายคัทเอาท์ประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก • จัดทำสื่อและรถประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก • จัดตั้งทีมเคลื่อนที่เร็ว พ่นหมอกควันในพื้นที่ • ประสานโรงเรียนขอความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ขั้นดำเนินการ • ให้ความรู้ประชาสัมพันธ์โดยใช้รถประชาสัมพันธ์ • ติดป้ายคัทเอาท์รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ในหมู่บ้าน • ดำเนินการรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย(BigCleaningDay) ทุกหลังคาเรือนโดยประชาชนเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขฯ นักเรียนอสม. ผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ วันศุกร์ของทุกสัปดาห์ • แจกใบปลิวรณรงค์ป้องกัน โรคไข้เลือดออกแก่ประชาชน • แจกสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือน • เดินรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยนักเรียนอสม.ผู้นำชุมชน ผู้บริหาร อบต. เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เจ้าหน้าที่สำนักปลัดและประชาชนทั่วไป • เดินรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดย อสม. จำนวน 6 หมู่ ๆ ละ 1 วัน • แจกครีมทากันยุงและยาฉีดพ่นฆ่ายุงตัวเต็มวัย บ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก • พ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยทีมเคลื่อนที่เร็วบ้านผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและรัศมีบ้านผู้ป่วย 100 เมตร • พ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนก่อนปิดและเปิดเทอม • พ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออกทุกหลังคาเรือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในพื้นที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายถูกทำลาย

2.จำนวนอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

3.การปฏิบัติงานป้องกันแก้ไขโรคไข้เลือดออกเป็นผลสำเร็จ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2560 08:43 น.