กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนตา ไต เท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต๋อม ปี 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต๋อม
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 มีนาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,425.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอัญชลี พรมมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพะเยา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การปฏิบัติตัวให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
60.00
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
2.19
3 ความรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ตา ไต เท้า
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เบาหวานเป็นโรคที่มักเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะวัยสูงอายุและคนที่มี น้ำหนักเกินมาตรฐาน ซึ่งโรคเบาหวานนั้นเมื่อเป็นแล้วผู้ป่วยจะไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ นอกจากปฏิบัติตามวิธีการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง เพื่อประคองอาการของโรคไม่ให้ทวีความรุนแรง อย่างไรก็ตามแม้โรคนี้จะดูเหมือนไม่โรคร้ายแรงมากนักเมื่อเทียบกับมะเร็ง หากแต่โรคเบาหวานก็ยังถือเป็นอีกโรคที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนได้สูง ผู้เป็นเบาหวานมานานหลายปีมักพบโรคแทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น ปัญหาด้านสายตา ไตวาย โรคหัวใจ อัมพาต ขาชา แผลเน่า โดยเฉพาะบริเวณเท้า ความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน และระดับน้ำตาลในเลือด ยิ่งควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงระดับปกติมากก็จะช่วยชะลอและลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนเรื้อรังได้มากเท่านั้น ที่สำคัญคือโรคแทรกซ้อนเรื้อรังนี้อาจกลับคืนสู่สภาพปกติได้ ถ้าผู้เป็นเบาหวานได้รับการตรวจพบความเปลี่ยนแปลงที่เริ่มเกิดขึ้น และได้รับการรักษาแต่เริ่มแรก โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการเป็นเบาหวาน ส่งผลต่อการทำงาน และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น และบางครั้งโรคแทรกซ้อนนั้นอาจอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หากมีความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของโรคดังกล่าว จะช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานมีสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดี รวมถึงลดค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับการรักษาโรคแทรกซ้อน ปี 2562 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต๋อม มีผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ 77 คน จากการคัดกรอง เสี่ยง 121 คน คิดเป็นร้อยละ 2.19 มีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 676 คน ได้รับการตรวจ HbA1C 418 คน คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี 153 คน คิดเป็นร้อยละ 22.63 ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่มีโรคร่วมเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด 662 คน ได้รับการคัดกรอง CVD Risk 529 คน คิดเป็นร้อยละ 79.91 ผล CVD Risk เสี่ยงสูง ระดับ 3 จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 1.89

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ เรื่องโรคเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และทำอย่างไรให้มีระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม

ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การปฏิบัติตัวให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 70

70.00 70.00
2 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ตา ไต เท้า

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ตา ไต เท้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ

70.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

2.19 1.50
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 15,425.00 3 15,425.00
25 ต.ค. 62 1.ประชุมคณะทำงานโครงการ 5 0.00 0.00
4 มี.ค. 63 2.จัดอบรมเชิงวิชาการการปฎิบัติตัวป้องกันภาวะแทรกซ้อนในโรคเบาหวาน 70 15,425.00 15,425.00
4 มี.ค. 63 3.ติดตาม สรุปผลโครงการ 5 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม ๒. ผู้ป่วยเบาหวานเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและหันมาดูแลสุขภาพตนเองมาก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2563 10:36 น.