กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างความรู้และการแก้ปัญหาครอบครัวในวัยเรียนและเยาวชน ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 2563-L3306-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านคู
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 29,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธนิต มูสิกปาละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 210 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์" หากเกิดขึ้นกับหญิงที่มีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นทางด้านสรีระร่างกาย วัย ภาวะ ด้านคุณวุฒิ และวัยวุฒิก็คงเป็นเรื่องที่น่ายินดี และสร้างความสุขให้กับครอบครัวของหญิงนั้นๆ แต่ถ้าหากเกิด ขึ้นกับผู้ที่ยังเป็น "เด็กหญิง" ซึ่งมีอายุระหว่าง ๙ – ๑๙ ปี ก็มักก่อเกิดปัญหาตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งต่อตัว เด็กเอง และครอบครัว มีข้อมูลจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าสภาวะการ ตั้งครรภ์ และคลอดบุตรก่อนวัยอันควรของหญิงอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์ และหญิงอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ – ๒๕๖๒ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบทุกปี การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือท้องวัยทีน คือ การตั้งครรภ์เมื่ออายุ ๑๙ ปี หรืออ่อนกว่านี้ พบร้อยละ ๑๐-๓๐ ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ของทุกประเทศทั่วโลก ใน ๑๐ ปี มานี้เอง ท้องในวัยทีนในประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จากร้อยละ ๑๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นกว่าร้อยละ ๒๐ ในปัจจุบัน นอกจากนั้นอายุของคุณแม่วัยทีนนับวันยิ่งน้อยลงต่ำสุด พบเพียง ๑๒ ปี ขณะที่ในประเทศสหรัฐอเมริกา แนวโน้มท้องในวัยทีนมีจำนวนลดลงตามลำดับ ปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อการท้องในวัยทีน ได้แก่ ฐานะยากจน เล่าเรียนน้อย ดื่มสุรา ติดยาเสพติด ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งเป็น ปัจจัยที่แก้ไขได้ยาก แต่มีปัจจัยหนึ่งซึ่งน่าจะแก้ไขได้ และเป็นปัจจัยที่ทำให้ท้องในวัยทีนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว คือ ค่านิยมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นนั่นเอง วัยรุ่น หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีอายุระหว่าง ๙ – ๑๙ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา โดยมีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ มีการพัฒนาทางร่างกาย โดยเฉพาะมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศ จนมีวุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการด้านจิตใจ ซึ่งเป็นระยะที่เปลี่ยนแปลงจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ และมีการ เปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม โดยเปลี่ยนจากการพึ่งพาครอบครัวมาเป็นผู้ที่สามารถประกอบอาชีพ และมีรายได้ของตนเอง หรือมีสิทธิ ทางกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ เช่น ห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์ทำงาน เยาวชนที่มีอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป หากกระทำผิดต้องขึ้นศาลผู้ใหญ่ เป็นต้น ในด้านพัฒนาการทางอารมณ์ และจิตใจ พบว่าวัยรุ่นอยากรู้ อยากเห็น และอยากทดลอง ต้องการการยอมรับจากเพื่อน ดังนั้น วัยรุ่นจึงเป็นวัยที่อาจถูกชักจูงได้ง่าย ขาดความนับถือตัวเอง รวมถึงขาดทักษะในการ ดำเนินชีวิต ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง (risk behavior) ในด้านต่าง ๆ เช่น ขับรถประมาท ยกพวกตีกัน ดื่มสุรา และใช้สารเสพติด มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ระวัง ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ทั้งนี้พฤติกรรม เสี่ยงดังกล่าว เป็นสาเหตุหนึ่งของการตายในวัยรุ่น โดยเฉพาะเพศหญิง ได้แก่ การทำแท้งเถื่อน การคลอดบุตร ทั้งที่มีอายุน้อย การติดเชื้อ HIV ฯลฯ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ สังคมไทยในปัจจุบัน ตัวเลขวัยรุ่นไทยตั้งท้องในวัยเรียนสูงเป็นอันดับ ๑ ของเอเชียอาคเนย์ และมีอัตราส่วนสูง กว่าวัยรุ่นในยุโรป และอเมริกา เฉลี่ยอายุของการตั้งครรภ์ในวัยเรียน น้อยสุด ๑๒ ปี และไม่เกิน ๑๙ ปี เพื่อเป็นการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นกับวัยรุ่นไทยในอนาคต ศูนย์พัฒนา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงดำเนินโครงการการให้ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัวและการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์/การตั้งครรภ์ไม่พร้อม แก่นักเรียน เพื่อเป็นการเสริมสร้าง ค่านิยมใหม่กับวัยรุ่นไทยให้รู้จักรักและเห็นคุณค่าของตัวเอง เป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่ พร้อมในวัยรุ่น ให้ลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปในอนาคต และให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดควบคู่ไปด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนัก และองค์ความรู้ เรื่อง บทบาท และคุณค่าของความเป็นชาย/หญิง ใน สังคม พัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ของวัยรุ่น การเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนได้รับความรู้ ความ เข้าใจ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และรู้จัก หน้าที่ความรับผิดชอบ รวมไปถึงวิธีป้องกันใน การมีเพศสัมพันธ์

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลที่
  เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย อันควรและการตั้งครรภ์
  ที่ไม่พร้อม ร้อยละ ๘๐

0.00
3 เพื่อเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ โดยใช้ โรงเรียนเป็นเครือข่ายเฝ้าระวัง

โรงเรียนมีการเฝ้าระวังพฤติกรรมนักเรียนทุกโรง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 210 29,100.00 1 29,100.00
14 - 16 ก.ค. 63 อบรมให้ความรู้ 210 29,100.00 29,100.00

๑. เสนอแผนงานให้อนุกรรมการกลั่นกรอง
      ๒. เสนอแผนงานต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
๓. อบรมให้ความรู้แก่นักเรียน ชั้น ม.๑ เพื่อสร้างความตระหนัก และองค์ความรู้เรื่องบทบาท และ
  คุณค่าของความเป็นชาย/หญิง ในสังคม พัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธภาพทางเพศ
  พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้างสุขภาพวัยรุ่น จำนวน ๒๑๐ คน         กิจกรรมการจัดอบรมความรู้ให้แก่นักเรียน โดยจัดฐานการเรียนรู้ ๕ ฐาน ได้แก่
๑) ฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ ปัญหา และผลกระทบจากการมี เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น ๒) ฐานเพศศึกษา ๓) ฐานทักษะชีวิต ๔) ฐานการวางแผนครอบครัว ๕) ฐานการป้องกันโรคเอดส์และโรคทางเพศสัมพันธ์       ๔. สรุป ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. นักเรียนมีทักษะ และภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ
๒. นักเรียนมีความภาคภูมิใจในตนเอง และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต ๓. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงผลที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการ   ตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2563 11:14 น.