กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกรและการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านการบริโภค ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 2563-L3306-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านคู
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 5,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธนิต มูสิกปาละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น เขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ ๘๐ ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ทำไร่ ทำสวน ปลูกพืชผัก ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังคงมีใช้อยู่ถึงแม้ไม่สูงมากแต่ก็เป็นภัยอันตรายจากการประกอบอาชีพได้ ในขณะที่ ข้อมูลรายงานการสำรวจขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ที่พบว่าประเทศไทย มีการใช้ยาฆ่าแมลงมากเป็นอันดับ ๕ ของโลก ใช้ยาฆ่าหญ้าเป็นอันดับ ๔ ของโลก ที่สำคัญจากการสำรวจในทุกปี ยังพบว่ามีพบสารเคมีตกค้างในผัก และสารเคมีพิษอันตรายที่ทั่วโลกห้ามใช้ ซึ่งนอกจากเกษตรกรซึ่งถือเป็นต้นน้ำของการผลิตที่เสี่ยงแล้ว ผู้บริโภคก็เสี่ยงต่ออันตรายด้านสุขภาพด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ ๔ สารพิษอันตราย ได้แก่ คาร์โบฟูราน (Carbofuran) เมโทมิล (methomyl) ไดโครโตฟอส (Dicrotophos) และ อีพีเอ็น (EPN) ที่ปนเปื้อนในพืช ผัก ผลไม้ ที่วางขายในท้องตลาด
จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคู จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการสำรวจความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองสารพิษ ตกค้างในเลือด

เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจ ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้เกษตรกรเกิดความรู้และนำไปสู่การปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการ ดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้องและลดความเสี่ยงลง
  • เกษตรกรที่ตรวจพบมีความเสี่ยง สามารถปฏิบัติตัวลด
      ความเสี่ยงได้ ร้อยละ ๕๐
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้เกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองสารพิษ ตกค้างในเลือด

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้เกษตรกรเกิดความรู้และนำไปสู่การปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการ ดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้องและลดความเสี่ยงลง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

14 - 21 ก.ค. 63 ประชุมให้ความรู็ 250.00 5,000.00 -
3 - 19 ส.ค. 63 คืนข้อมูลในที่ประชุมหมู่บ้าน 0.00 0.00 -
19 ส.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 เฝ้าระวัง ติดตามกลุ่มเสี่ยง 0.00 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑. สำรวจกลุ่มเสี่ยงในการใช้สารเคมีในเขตรับผิดชอบ พร้อมจัดทำทะเบียนรายหมู่บ้าน         - กลุ่มผู้สัมผัสโดยตรง เช่น เกษตรกร ผู้สัมผัส ผู้รับจ้างฉีดหญ้า
        - กลุ่มผู้บริโภค หรือประชาชนทั่วไป       ๒. เขียนแผนงาน/โครงการ เพื่อเสนอแผนงานให้อนุกรรมการกลั่นกรอง
      ๓. เสนอแผนงานต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
      ๔. ประชุมให้ความรู้และดำเนินการตรวจคัดกรองสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร
      ๔. ดำเนินการแปลผล และตรวจซ้ำในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มไม่ปลอดภัย ให้คำแนะนำ จ่ายยา หรือส่งพบแพทย์       ๕. คืนข้อมูลในที่ประชุมของหมู่บ้าน       ๗. เฝ้าระวัง ติดตามกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มไม่ปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง       ๘. สรุป ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมี มีความรู้ พฤติกรรมที่ถูกต้องในการประกอบอาชีพ การบริโภคอาหาร เกี่ยวกับการใช้สารเคมี 1.      ๒. กลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งต่อกรณีที่มีปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2563 11:15 น.