ตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกระแสเลือดของเกษตรกร หมู่ที่ 5 ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ปี 2563
ชื่อโครงการ | ตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกระแสเลือดของเกษตรกร หมู่ที่ 5 ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ปี 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L2475-2-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | มัสยิดนูรูลยากีน (ไอร์โซ) |
วันที่อนุมัติ | 17 มิถุนายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 26 สิงหาคม 2563 - 26 สิงหาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอาหามะ สะอะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในสวน การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่ารับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น หมู่บ้านไอร์โซ เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 90 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนผลไม้และสวนยางพาราผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงขึ้นทางนูรูลยากีน (ไอร์โซ) ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อัตราประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันอันตรายจากสารเคมี |
100.00 | |
2 | ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนเกษตรกรได้รับทราบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือด จำนวนประชาชนเกษตรกรได้รับทราบสารเคมีตกค้างในเลือด |
100.00 | |
3 | ข้อที่ 3 เพื่อให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวนประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช |
100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 20,000.00 | 0 | 0.00 | |
26 ส.ค. 63 | กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องสารเคมีกำจัดศัตรูพืช | 0 | 18,300.00 | - | ||
26 ส.ค. 63 | กิจกรรมที่ 2 เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือดของประชาชนเกษตรกร | 0 | 1,700.00 | - |
การดำเนินงานโครงการนี้คาดว่าประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันอันตรายจากสารเคมีและได้รับทราบสารเคมีตกค้างในร่างกายทำให้เกิดการตระหนักในการป้องกันตนเองได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่ให้มีผลอันตรายต่อร่างกายได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2563 00:00 น.