กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เชิงรุกบุกถึงบ้าน ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ L5221-2563-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอนอำเภอระโนดจังหวัดสงขลา
วันที่อนุมัติ 15 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กรกฎาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2564
งบประมาณ 33,280.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพสต.ท่าบอนโดยนายชยธร แก้วลอย
พี่เลี้ยงโครงการ นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.80637,100.358584place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ก.ค. 2563 31 ธ.ค. 2563 33,280.00
รวมงบประมาณ 33,280.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 167 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 312 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ ๒ ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านม ปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปี จะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ราย และเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก ๕,๐๐๐ ราย อัตราการเส
479.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทยรองจากมะเร็งเต้านมปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 10,000 ราย และเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก 5,000 ราย อัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก 7 คน/วันเป็น 14 คน/วันสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและครอบครัวตามมาอย่างมากมายแต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกร้อยละ 30 – 40 สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรอง มะเร็งที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที และอาจลดการตรวจลงเหลือเพียงตรวจทุก ๒ – ๓ ปีเมื่อผลตรวจคัดกรองปกติทุกครั้ง๓ครั้ง/๓ ปีติดต่อกันดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค , อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง จากผลการดำเนินงานปี 2562ที่ผ่านมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดจำนวน 101รายในจำนวนนี้มีผู้รับบริการรายเก่าจำนวน 35รายผู้รับบริการรายใหม่จำนวน66รายมีผลการตรวจปกติจำนวน100รายคิดเป็นร้อยละ 99.01แนะนำให้ตรวจปีละครั้งอย่างต่อเนื่อง3ปีมีพบก้อนเนื้อหรือติ่งบริเวณมดลูก จำนวน 1 ราย 0.99 งานป้องกันและควบคุมโรค ฯ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอนจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เชิงรุกบุกถึงบ้านปี 2563 เพื่อติดตามให้ผู้รับบริการที่ไม่เคยมารับบริการการตรวจ ได้รับการตรวจโดยเน้นการตรวจPapSmear เชิงรุกค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรกรวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นเพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วยซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลามและสร้างเสริมสุขภาพคนตำบลท่าบอนห่างไกลโรคด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกต่อเนื่อง
  1. หญิงวัยเจริญพันธุ์  อายุ 30 – 60 ปี ได้รับคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ไม่น้อยกว่า ร้อย 20
479.00 479.00
2 2. เพื่อค้นหาความผิดปกติของเซลล์มะเร็งที่ปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก
  1. หญิงวัยเจริญพันธุ์  อายุ 30 – 60 ปี ที่ได้รับคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และพบเซลล์ผิดปกติได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 100
479.00 479.00
3 ๓. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30 – 60 ปี ตระหนักในการตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก ๕ ปี

๑. หญิงวัยเจริญพันธุ์  อายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกต่อเนื่อง อย่างน้อย 5  ปี

479.00 479.00
4 ๔. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30 – 60 ปี ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างถูกวิธี

หญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 30 – 60 ปี ที่ได้รับคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และพบเซลล์ผิดปกติได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 100

479.00 479.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 479 33,280.00 2 54,550.00
15 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ตำบลท่าบอน เพื่อเป็นครู ก. ในการให้ความรู้ กระตุ้นและชักชวนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจ 167 21,270.00 21,270.00
15 ก.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 กิจกรรมในการลงพื้นที่เพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูกที่บ้าน 312 12,010.00 33,280.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกต่อเนื่อง อย่างน้อย 5ปี
2. สามารถค้นหาความผิดปกติของเซลล์มะเร็งที่ปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในหญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 30 – 60 ปี ในระยะเริ่มแรกได้ 3. หญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 30 – 60 ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2563 11:26 น.