กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อย.น้อยในโรงเรียน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านป่าทุ่ง
วันที่อนุมัติ 22 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 1 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านป่าทุ่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางเก่า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.764,101.591place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 212 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 212 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 67(3) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2546 กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลต้องมีหน้าที่ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับนโยบายของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบางเก่าที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาคาร จึงได้จัดทำโครงการ อย.น้อยในโรงเรียนขึ้นเพื่อส่งเสริมการให้ความรู้เบื้องต้นเรื่องความปลอดภัยของอาหาร เพื่อปลูกฝังให้เป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตลอดไป ไม่ว่าเด็กจะเติบโตขึ้นเป็นเพียงผู้บริโภค หรือเป็นผู้ประกอบการผลิตอาหารเองในอนาคตก็ตาม การตระหนักในความสำคัญของความปลอดภัยของอาหาร ความสะอาด รู้จักดูแล หยับจับเก็บรักษาอาหารอย่างถูกต้อง รู้จักปกป้องตนเอง รู้จักเลือก สังเกต หรือทดสอบและรู้จักปฏิเสธอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนตั้งแต่เด็กเพื่อให้สามารถนำไปใช้ปฎิบัติในชีวิตประจำวันได้ตลอดไปอย่างยั่งยืน โรงเรียนบ้านป่าทุ่งได้เล็งเห็นความสำคัญของการมีสุขภาพกายและใจที่ดี ย่อมมีผลดีต่อการเรียนรู้ของนักเรียน การส่งเสริมสุขภาพให้แก่นักเรียนเป็นความจำเป็นของครู ที่ต้องกระทำเมื่อเด็กมาโรงเรียน จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านป่าทุ่งทุกคนมีสุขภาพร่างกายที่ดี เกิดความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียน ครู ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดีต่อตัวผู้บริโภคเอง

 

2 2.เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์ให้ความรู้ด้านการบริโภคสู่เพื่อนนักเรียนและบุคคลอื่น ๆ ในโเรงเรียน

 

3 3.เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู พ่อค้า แม่ค้า ผู้ปกครอง และบุคลากรอื่นในโรงเรียนและชุมชนให้ตระหนักในความปลอดภัยในการบริโภคและการผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อสุขภาพผู้บริโภค

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ประสานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 3.วางแผนดำเนินการ 4.ดำเนินการตามแผน 5.วัดผลประเมินผล 6.สรุปผลและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียน ครู ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค 2.นักเรียนได้เผยแพร่และประชาสัมพันธ์การรณรงค์ให้ความรู้ด้านการบริโภคสู่เพื่อนนักเรียนและบุคคลอื่นๆ ในโรงเรียน 3.ทุกคนในชุมชนตระหนักในความปลอดภัยในการบริโภคและการผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อสุขภาพผู้บริโภค 4.ทุกคนในชุมชนสุขภาพและพลานามัยให้แข็งแรง สมบูรณ์มีสุขภาพที่ดี มีความสุขกายสุขใจ 5.นักเรียนมีการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลและการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2560 10:42 น.