กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการมหกรรมสุขภาพเครือข่ายแกนนำสร้างสุขภาพดีตำบลท่าเรือปีงบประมาณ ๒๕๖๐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพจังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหกรรมสุขภาพเครือข่ายแกนนำสร้างสุขภาพดีตำบลท่าเรือปีงบประมาณ ๒๕๖๐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพจังหวัดสตูล
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ท่าเรือ
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 19 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 101 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างสุขภาพถือเป็นกลยุทธ์ทางสุขภาพที่กำลังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าจะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้บุคคลเกิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของบุคคล ช่วยลดอัตราป่วยด้วยโรคต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอันเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเครียดและโรคมะเร็ง สาเหตุที่พบอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากกระบวนการสร้างสุขภาพ ไม่เพียงแต่จะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้การศึกษาด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดผลในทางปฏิบัติและสภาพการณ์ของการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม บรรทัดฐานทางสังคม สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็คือวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ของบุคคลและชุมชนนั่นเอง แม้ระบบสุขภาพของคนไทยที่ผ่านมาจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้สุขภาพของประชาชนในภาพรวมดีขึ้นและระบบบริการสุขภาพจะมีความก้าวหน้ามากขึ้นแต่ยังมุ่งที่การจัดบริการเพื่อการรักษาพยาบาลเป็นหลัก คำว่าสุขภาพในความหมายของคนทั่วไปกลายเป็นเรื่องของการรอให้เจ็บป่วยก่อนแล้วค่อยรักษา ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก แต่ให้ผลตอบแทนด้านสุขภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น นอกจากนี้แนวโน้มการเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพของประชาชนก็มีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นการแก้ไขด้วยวิธีคิด วิธีการและองค์ความรู้เดิมจึงไม่เพียงพอ ทุกภาคส่วนของสังคมต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยการสร้างสุขภาพและด้วยภูมิปัญญาของชุมชนโดยการเน้นให้ประชาชนมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องบริโภคอาหารที่สุก สะอาด ปลอดภัยไม่ติดยาเสพติด ส่งเสริมให้ประชาชนในแต่ละชุมชนรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมด้านสุขภาพในรูปของชมรมสร้างสุขภาพโดยมีวัตถุประสงค์ให้ชมรมสร้างสุขภาพเป็นศูนย์กลางและเป็นกลไกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพสู่ประชาชนส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังกายและมีโภชนาการที่ดีเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงง่ายๆด้วยต้นทุนต่ำป้องกันโรคต่างๆ อาทิโรคเบาหวานโรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูงฯลฯ ไม่ให้เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร ทำให้ประชาชนมีสมรรถภาพดีสามารถทำงานได้เต็มตามศักยภาพ ขณะเดียวกันก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพลงไปในตัวด้วย นอกจากนี้ ยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆ เช่นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคของกล้ามเนื้อกระดูกและข้อต่อต่างๆ ป้องกันโรคกระดูกพรุนในวัยกลางคน และโรคกระดูกตะโพกหักในวัยสูงอายุ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีอีกด้วย การที่แกนนำเครือข่ายชมรมสร้างสุขภาพจะสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้เพื่อขยายแนวร่วมการดำเนินงานสู่ภาคประชาชนได้จำเป็นจะต้องมีความรู้มีทักษะ และการให้คำแนะนำ ที่ถูกต้องรวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการสร้างสุขภาพดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ ร่วมกับแกนนำเครือข่ายชมรมชมรมสร้างสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการมหกรรมสุขภาพเครือข่ายแกนนำสร้างสุขภาพดีตำบลท่าเรือ ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อสร้างกระแสการสร้างสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ๒. เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้ มีวิธีการที่ถูกต้อง และตระหนักในการดูแลสุขภาพ ๓. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดทักษะและสามารถดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวและร่วมเป็นแกนนำในการรณรงค์ป้องกันกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒. จัดประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม ๓.ประสานพื้นที่เครือข่ายสร้างสุขภาพทุกชมรมทุกหมู่บ้านในเขตตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ ๔.จัดมหกรรมสุขภาพเครือข่ายแกนนำสร้างสุขภาพดีตำบลท่าเรือ จำนวน ๑ วัน มีกรอบการดำเนินงานดังนี้ ๔.๑ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เรื่อง กินอยู่ รู้คิด พิชิตโรค เพื่อสร้างความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่ ๔.๒ จัดบู๊ทนิทรรศการ จำนวน ๕ บู๊ท ดังนี้ ๑)นิทรรศการคลินิกไร้พุง ลดเสี่ยง ลดโรค จัดบริการเสริมทักษะและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่ ๒) นิทรรศการภาชนะบรรจุอาหารปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม(NO FOAM)รณรงค์ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายและชุมชนเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ปลอดภัย ๓) นิทรรศการนมแม่เพื่อโภชนาการสมส่วนและพัฒนาการสมวัย ส่งเสริมและสนับสนุนให้ความสำคัญแก่พ่อแม่ในการมีส่วนร่วมดูแลและส่งเสริมลูกน้อยในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการที่สมส่วนและการเฝ้าระวังส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยอย่างสมวัย ๔) นิทรรศการทันตสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปาก ๕) นิทรรศการทีมหมอครอบครัว ที่ปรึกษาด้านสุขภาพ ใกล้บ้านคุณ ๔.๓ ประกวดเมนูหนูน้อย ๔.๔ มอบรางวัลบุคคลต้นแบบควบคุมความดันเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้ดี ๕.ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เกิดกระแสการสร้างสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ๒.ประชาชนในพื้นที่มีความรู้มีวิธีการที่ถูกต้องแลพตระหนักในการดูแลสุขภาพ
๓. ประชาชนมีทักษะและสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว และร่วมเป็นแกนนำในการรณรงค์ป้องกันกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2560 11:14 น.