กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการติดตามกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วย โรคความดันโลหิตสูง ด้วยการวัดความดันโลหิตที่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านนาเกาะสัก ตำบลบ้าหวี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วย โรคความดันโลหิตสูง ด้วยการวัดความดันโลหิตที่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านนาเกาะสัก ตำบลบ้าหวี
รหัสโครงการ 63-L1543-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านาเกาะสัก
วันที่อนุมัติ 10 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 พฤษภาคม 2563 - 21 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2563
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอมรศักดิ์ เกษศิริ
พี่เลี้ยงโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบตำบลบ้าหวี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้าหวี อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.283,99.597place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้าหวี เป็น รพ.สต.ขนาดกลาง รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน ประชากรจํานวน 3,044 คน ลักษณะเป็นชุมชนชนบท ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม อาชีพเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาเป็นอาชีพรับจ้าง เศรษฐกิจดี การคมนาคมสะดวก ระยะทางห่างจากโรงพยาบาล หาดสําราญเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 7 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 8 นาที มีร้านขายกาแฟโบราณ จํานวน 6 ร้าน และสถานที่ออกกําลังกาย 3 แห่ง วัดพุทธ 3 วัด มัสยิด 4 แห่ง จากสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปทําให้วิถีการดําเนินชีวิตของประชาชนในชุมชนเมืองมีชีวิตแบบเร่งรีบ ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภค เช่น การรับประทานอาหารถุง อาหารสําเร็จรูป กาแฟ เครื่องดื่มชูกําลัง ขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ ประชาชนส่วนใหญ่ออกกําลังกายน้อย ทําให้มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่เพิ่มมากขึ้น จากการคัดกรองภาวะสุขภาพในประชาชน 35 ปีขึ้น ไป เป้าหมายหมู่ 1 จํานวน 346 คน ได้รับการคัดกรอง 325 คน คิดเป็น 93.93% พบว่าระดับความดันโลหิตกลุ่มเสี่ยง SBP มากว่า หรือเท่ากับ 130 ถึง น้อยกว่า 140 mmhg หรือ DBP มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 85 mmhg ถึง น้อยกว่า 90 mmhg มีจํานวน 86 คน คิดเป็น 26.46% และ ระดับความดัน โลหิตกลุ่มสงสัย SBP มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 140 ถึงมากกว่า 180 mmhg หรือ DBP มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 90 ถึงน้อยกว่า 110 mmhg จํานวน 3 คน คิดเป็น 1.69% ซึ่ง 2 กลุ่มนี้จะต้องได้รับการติดตาม โดยกระบวนการ วัดความดันโลหิตที่บ้าน (Home BP) เป็นเวลา 7 วัน และมีการติตตามวัด ค่าความดันโลหิตที่บ้าน HOME WARD ทุก 2 สัปดาห์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อมีเครื่องวัดความดันโลหิตที่เพียงพอสะดวกรวดเร็วในการติดตามค่าความดันโลหิต ของกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วย ที่มีค่าความดันโลหิตสูงให้ได้รับการติดตามดูแลอย่างน้อย 80.2% นำผลที่ได้จากการลงปฎิบัติงาน มาวางแผนขั้นต่อไป

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติตามขั้นตอน 2.ดำเนินกาจัดการหาเครื่องวัดความดันในการดำเนินการตามโครงการ 3.ประสาน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อติดตามวัดความดันโลหิต กับกลุ่มเป้าหมาย งบประมาณในการเตรียมความพร้อมเรื่อง เครื่องมืออุปกรณ์ในการปฎิบัติงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มสงสัยป่วย อย่างน้อยต้องได้รับการตรวจติดตาม จากกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ไม่ต่ำกว่า 80%

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2563 16:27 น.