กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการจัดเตรียมสถานที่กักกัน เพื่อควบคุมและสังเกตอาการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี (Local Quarantine) รอบที่ 3

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดเตรียมสถานที่กักกัน เพื่อควบคุมและสังเกตอาการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี (Local Quarantine) รอบที่ 3
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 10 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 เมษายน 2563 - 24 เมษายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,804.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.833,101.232place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต จำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง สถานการณ์ระบาด ยังไม่สามารถควบคุมได้ โรคติดเชื้อไวรัส    โคโรนา 2019 (COVID-19) จะทำให้เกิดอาการไข้ ไอ และสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบของปอดและเยื่อหุ้มปอดอักเสบอย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตามอัตราการเสียชีวิตมีเพียง 1-3 % น้อยกว่า  โรค SARS ซึ่งมีอัตราการตาย 10 % ดังนั้น มาตรการการป้องกันไม่ให้มีการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ถือว่ามีความจำเป็นด้วยการดำเนินมาตรการ การรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง หรือสถานที่มีคนพลุกพล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธี การสวมหน้ากากอนามัย การไม่นำมือไปสัมผัสใบหน้าโดยไม่จำเป็น ดังนั้น ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินไปของโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีชาวไทยเดินทางกลับจากประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย และต่างหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีมาตรการ คัดกรอง แยกกัก กักกัน ในสถานที่ที่ห่างไกลจากชุมชน เป็นระยะเวลา 14 วัน เพื่อสังเกตอาการของผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีโรคติดต่อ หรือเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา67(3) บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับการติดต่อของโรค ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16(19) เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560 ข้อ 13 ข้อ 14 และข้อ 15 หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท.0808.0/ว1727 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2563 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ 0808.2/ว1992 ลงวันที่ 1 เมษายน 2563 เรื่อง แนวทางการจัดหาอาหารในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา ที่ สปสช.5.33/ว 229 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 เรื่องขอความร่วมมือดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2503 ข้อ 10/1 องค์การบริหารส่วนตำบลปะกาฮะรังจึงได้จัดทำโครงการจัดเตรียมสถานที่กักกัน เพื่อควบคุมและสังเกตอาการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลปะกาฮะรัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี (Local Quarantine) รอบที่ 3 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคติดต่ออันตราย โดยจัดเตรียมพื้นที่กักกัน ควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้เดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อหรือพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวังและสังเกตอาการของผู้ถูกกักกันในสถานที่กักกัน เพื่อควบคุมและสังเกตอาการ (Local Quarantine)

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถควบคุมผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีระบาดของโรคได้
  2. ประชาชนมีความปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2563 09:32 น.