กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L5312-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ
วันที่อนุมัติ 27 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 เมษายน 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 60,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณรงค์ ปากบารา
พี่เลี้ยงโครงการ นายปรีชา ปันดีกา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.834,99.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10711 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอละงู ปี 2559 ที่ทำการควบคุมป้องกันโรคทั้งหมด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 พบรายงานผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 1887 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2711.17 ต่อประชากรแสนคน มีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย อัตราตาย 1.44 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยเพศชาย 881 ราย เพศหญิง 1006 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ 15-24 ปี รองมาคือ 10-14 ปี 5-9 ปี จำนวน 539,505 และ 382 ราย ตามลำดับ อาชีพที่พบมากที่สุดคือ นักเรียน ,รับจ้าง และเด็กเล็กในปกครอง ตามลำดับ พื้นที่ที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือตำบลน้ำผุดอัตราป่วย 4,226.43 ต่อแสนประชากร ตำบลเขาขาวอัตราป่วย 3,159.36 ต่อแสนประชากร ตำบลละงูอัตราป่วย 2,841.58 ต่อแสนประชากร ตามลำดับพบการระบาดสูงในทุกตำบลซึ่งตามเกณฑ์ในแต่ละตำบลจะต้องมีอัตราป่วยไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากรตำบลปากน้ำ มีการกระจายของโรคไข้เลือดออก ทั้ง 6 หมู่บ้าน จำนวนผู้ป่วยมากที่สุดในเดือนสิงหาคม หมู่บ้านที่มีการระบาดมากที่สุดคือ หมู่ที่ 2 บ้านปากบารา จำนวน 70 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติ หมู่ที่ 4 ตะโละใส จำนวน 29 ราย หมู่ที่ 1 บ่อเจ็ดลูก จำนวน 18 ราย หมู่ที่ 7 ท่าพะยอม จำนวน 13 ราย หมู่ที่ 5 บ้านท่ายางจำนวน 13 ราย หมู่ที่ 6 ท่ามาลัย 10 ราย ตามลำดับ ส่วนหมู่ที่ 3 เกาะบุโหลน ไม่มีผู้ป่วย (ศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอ ละงู : ธ.ค.59 )
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอละงู ปี 2560 พบว่าตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 – 31 มีนาคม 2560 มีผู้ป่วยแล้วจำนวน 16 ราย ตำบลละงู 5 ราย ตำบลเขาขาว 4ราย ตำบลน้ำผุด 3 รายตำบลกำแพง 2 ราย ตำบลแหลมสน ๑ ราย ส่วนตำบลปากน้ำ พบผู้ป่วย ๑ ราย (ศูนย์ระบาดวิทยาอำเภอ ละงู : มี.ค. 2560 ) ถึงแม้ว่าในภาพรวมระดับอำเภอละงูยังพบผู้ป่วยไม่กี่ราย แต่อย่างไรก็ตามการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกระบาดในพื้นที่ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ในรอบปีที่ผ่านมามีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในตำบลปากน้ำเป็นจำนวนมากส่งผลให้วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานควบคุมโรคหมดลงอย่างรวดเร็วมีไม่เพียงพอ
ดังนั้นเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อนำโดยแมลงอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำจึงร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านสาธารณสุขในพื้นที่ ตระหนักและเห็นความสำคัญต่อปัญหาดังกล่าวจึงจัดโครงการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2560 เพื่อเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่นำโดยแมลงและภัยคุกคามสุขภาพ

ประชาชนมีความรู้ ร้อยละ 80

2 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 จากค่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

3 เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้ในการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

มีวัสดุอุปกรณ์เพียงพอสำหรับการปฏิบัติงาน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติในหลักการ
  2. ดำเนินกาจัดซื้อวัสดุ/อุปกรณ์ สำหรับใช้ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค
  3. สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์แก่ทีม SRRT ตำบลปากน้ำ ในการดำเนินการควบคุมโรคเมื่อมีผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง
  4. มอบทรายอะเบทและเอกสารแผ่นพับ หมู่ที่ ๑ – ๗ และทำกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลาย โดย อสม. ทุกหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ อบต.ปากน้ำ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ปากน้ำ, รพ.สต.บ้านบ่อเจ็ดลูก นักเรียนทุกโรงเรียนในเขต และประชาชนทั่วไป
  5. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน รายงานประธานกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 จากค่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
    1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงไข้เลือดออกได้รับการดูแลด้านการป้องกันโรคอย่างทั่วถึง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2560 11:52 น.