กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี ตำบลกาลูปัง ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L4155-1-003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลกาลูปัง
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลกาลูปัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.464,101.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การได้รับบริการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นสิทธิพื้นบานของเด็ก เด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบทุกชนิด เพราะโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กไทยจำนวนมากต้องเจ็บป่วยหรือพิการหรือันตรายถึงแก่ชีวิตได้ สาเหตุสำคัญเนื่องจากเด็กจำนวนหนึ่งอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวก การได้รับข้อมูลข่าสารไม่ทั่วถึง เศรษฐานะ พ่อแม่หรือผู้ปกครองขาดจิตสำนึกในการนำบุตรหลานมารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค จากการให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี ในปีพ.ศ. 2559 พบว่าเด็กอายุ 0-1 ปี ได้รับความครอบคลุมในงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค คิดเป็นร้อยละ 78.57 เด็กอายุ 2 ปี ได้รับความครอบคลุมในงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค คิดเป็นร้อยละ 75.00 เด็กอายุ 3 ปี ได้รับความครอบคลุมในงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค คิดเป็นร้อยละ89.29 และเด็กอายุ 5 ปี ได้รับความครอบคลุมในงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค คิดเป็นร้อยละ 46.15 ตามลำดับ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง พบว่าปัญหาการขาดความตระหนักของผู้ปกครองในการพาบุตรหลานมารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การลืมนัดวัคซีน ความเชื่อ ปัญหาข่าวลือในเรื่องของอันตรายถึงแก่ชีวิตในเด็กที่รับวัคซีน เป็นปัญหาสำคัญในการที่ผู้ปกครองไม่พาบุตรหลานมารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กในพื้นที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ปลอดภัยจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและเป็นบันไดสู่ความสำเร็จของการมีสุขภาพดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานมีความครอบคลุม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90
  • ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็ก 0- 5ปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90
2 2. อสม.ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-5 ปี ร้อยละ 90 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและตระหนักในการนำบุตรหลานมารับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อการรับวัคซีน

ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็ก 0- 5ปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90

3 3.ไม่มีอุบัติการณ์และอัตราป่วยจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็ก 0- 5ปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานมีความครอบคลุม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. อสม.ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-5 ปี ร้อยละ 90 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและตระหนักในการนำบุตรหลานมารับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อการรับวัคซีน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.ไม่มีอุบัติการณ์และอัตราป่วยจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ขั้นตรียมการ
  2. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
  3. จัดเตรียม อสม และผู้ปกครองเด็กอายุ อายุ 0 – 5ปี
  4. ประชุม ชี้แจงโครงการแก่ อสม. / ผู้นำสตรี / ผู้นำชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
  5. ประสานงานวิทยากร
  6. จัดเตรียมสื่อการสอนได้แก่ โมเดล แผ่นพับ โปสเตอร์ 2.ขั้นดำเนินการ
    1. จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับการป้องกันโรคได้ด้วยวัคซีน จำนวน 150 คน
  7. ติดตามเด็กติดตามเด็กกลุ่มเป้าหมายรายบ้านที่ขาดนัด โดย อสม หรือเจ้าหน้าที่ให้มารับบริการในครั้งต่อไป
  8. อสม หรือเจ้าหน้าที่ลงเยี่ยมเฝ้าระวังกลุ่มปฎิเสธวัคซีน
    3.ขั้นประเมินผล
  9. จากรายงานผล HDCเว็บไซต์ของสาธารณสุขจังหวัดยะลา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.และผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้วามเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและตระหนักในการนำบุตรหลานมารับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อการรับวัคซีน
  2. ผู้ปกครองตระหนักในการนำบุตรหลานมารับบริการวัคซีนตามนัด 3.ไม่มีอุบัติการณ์และอัตราป่วยจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2560 12:26 น.