กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาโภชนาการเชิงวิถี
รหัสโครงการ 63-L7577-2-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รพ.สต.บ้านเกาะเรียน
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รพ.สต.บ้านเกาะเรียน
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.บ้านเกาะเรียน ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.278,100.007place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข มีเป้าหมายในการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมีนโยบายเมืองไทยสุขภาพดี  Healthy Thailand โดยเน้นเป้าหมายในการดำเนินงาน จำนวน 5 ด้านด้วยกัน คือ การออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์ อโรคยา และอนามัยสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นำมาสู่หมู่บ้านสร้างสุขภาพ และชมรมสร้างสุขภาพที่ตามมา โดยให้ประชาชนรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมสร้างสุขภาพสำหรับตนเอง ครอบครัว และชุมชน อย่างต่อเนื่องและเกื้อกูลกัน สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายที่เข็มแข็งในการสร้างสุขภาพของภาคประชาชน เอกชน และภาครัฐ รวมทั้งเป็นแหล่งหรือสถานที่พบปะสังสรรค์ของสมาชิก และจัดกิจกรรมด้านสุขภาพเช่น ออกกำลังกาย สาธิตการทำอาหาร การตรวจสุขภาพเป็นต้น และเป็นแหล่งปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความรู้ด้านสุขภาพระหว่างสมาชิกในชุมชนเทศบาลตำบลตะโหมด โดยเน้นให้สมาชิกในชุมชนและในครอบครัวสร้างสุขภาพมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี และให้เกิดการสร้างสุขภาพที่ยั่งยืน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ต่อสมาชิก ครอบครัว และชุมชนต่อไป         ดังนั้น ชุมชนบ้านเกาะเรียน – ปากพลี ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเรียน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาโภชนาการเชิงวิถี เพื่อให้สมาชิกในชุมชนบ้านเกาะเรียน – ปากพลี สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านสุขภาพ ทำให้มีความรู้และทักษะด้านโภชนาการในการดูแลสุขภาพมากที่สอดคล้องกับมิติสุขภาพในทุกๆด้านได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อเสริมสร้างความรู้และเพิ่มทักษะในการประกอบอาหารอย่างมีคุณค่าด้านโภชนาการแก่ตัวแทนครัวเรือนและแกนนำสุขภาพในชุมชนเทศบาลตำบลตะโหมด

ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ตัวแทนครัวเรือนและแกนนำสุขภาพในชุมชนไม่น้อยกว่า 100 คน

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อตัวแทนครัวเรือนและแกนนำสุขภาพมีความสามารถประกอบอาหารอย่างมีคุณค่าทางโภชนาการที่ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ตัวแทนครัวเรือนและแกนนำสุขภาพมีความสามารถประกอบอาหารอย่างมีคุณค่าทางโภชนาการที่ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อเสริมสร้างความรู้และเพิ่มทักษะในการประกอบอาหารอย่างมีคุณค่าด้านโภชนาการแก่ตัวแทนครัวเรือนและแกนนำสุขภาพในชุมชนเทศบาลตำบลตะโหมด

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ข้อที่ 2 เพื่อตัวแทนครัวเรือนและแกนนำสุขภาพมีความสามารถประกอบอาหารอย่างมีคุณค่าทางโภชนาการที่ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีได้

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

08.00 – 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 – 09.00 น. พิธีเปิดการอบรมและบรรยายพิเศษ โดยนายกเทศมนตรีตำบลตะโหมด 09.00 - 10.00 น.  กิจกรรมอบรมเสริมสร้างความรู้และเพิ่มทักษะในการประกอบอาหารอย่างมีคุณค่า ด้านโภชนาการเชิงวิถี ช่วงที่ 1               โดยวิทยากร.................................... 10.00 - 10.15 น.  รับประทานอาหารว่าง 10.15 – 12.00 น.  กิจกรรมอบรมเสริมสร้างความรู้และเพิ่มทักษะในการประกอบอาหารอย่างมีคุณค่า ด้านโภชนาการเชิงวิถี ช่วงที่ 2               โดยวิทยากร.................................... 12.00 – 13.00 น.  รับประทานอาหารเที่ยง 13.00 – 15.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสาธิตวิธีการประกอบอาหาร เพื่อการรักษาคุณค่าด้านโภชนาการ ของวัตถุดิบที่เป็นพืชพื้นบ้านอาหารพื้นเมืองในการประกอบอาหาร
โดยวิทยากร...................................... 15.00 - 15.15 น. รับประทานอาหารว่าง 15.15 - 16.30 น. ถอดบทเรียน ด้วยการจัดการความรู้ (KM) โดยวิทยากร...................................... 16.30 น. ปิดการประชุม 1. ประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย   1.1 การประชาสัมพันธ์ และขั้นตอนการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย   1.2 ขั้นตอนรายละเอียดกิจกรรมดำเนินการ ที่สอดคล้องตามสภาวะของสุขภาพของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย   1.3 การวางแผนติดตาม การประเมินผล 2. ดำเนินการตามแผนงานโครงการ   2.1 จัดอบรมให้ความรู้และเพิ่มทักษะในการประกอบอาหารอย่างมีคุณค่าด้านโภชนาการแก่กลุ่มเป้าหมาย   2.2 สาธิตวิธีการประกอบอาหาร เพื่อการรักษาคุณค่าด้านโภชนาการ 3. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ตัวแทนครัวเรือนและแกนนำสุขภาพมีความรู้และทักษะด้านโภชนาการเพิ่มขึ้น
  2. ตัวแทนครัวเรือนและแกนนำสุขภาพมีความสุขภาพมีความสามารถประกอบอาหารอย่างมีคุณค่าทางโภชนาการที่ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2563 10:23 น.