กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝากครรภ์เร็วสักนิด ฝากครบตามเกณฑ์ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 09/2560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลือมุ
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอฮีมะ๊ หะยีสาแล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ในพื้นที่ หมู่ที่ 1,8,และหมู่ 9 ตำบลกรงปินังอำเภอกรงปินังจังหวัดยะลา และสถานบริการสุขภาพ(โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลือมุ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา)
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์คุณภาพเป็นเป้าหมายหลักของการให้บริการฝากครรภ์ทุกหน่วยบริการสาธารณสุข ซึ่งจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการฝากครรภ์คุณภาพคือการที่หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดแก่ทารกในครรภ์ ทำให้ทารกมีสุขภาพแข็งแรง จึงควรพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ และจะดียิ่งขึ้น หากได้รับการเตรียมตัวตั้งแต่ยังไม่ตั้งครรภ์โดยการปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับความเสี่ยงและมารดาที่มีปัญหาสุขภาพบางอย่างหรือความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และควรได้รับโฟเลตตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ 3 เดือนหรือทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของสมองและไขสันหลัง ลดปัญหาซีดในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการตกเลือดหลังคลอดได้ เกิดความปลอดภัยต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์ สถานการณ์การมารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลือมุในปี 2559 ( ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข>60% ) พบว่า
ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผลงาน ร้อยละ 1.การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ 53 41 77.36 % 2.การฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ 49 27 55.10 % ที่มา : ระบบประเมินตัวชี้วัด เขต 12 ซึ่งผลการดำเนินงานพบว่า การฝากครรภ์ ก่อน 12 สัปดาห์ ผ่านเกณฑ์ได้นิดเดียว การฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ยังไม่ผ่านตัวชี้วัด ซึ่งหากยังปล่อยไว้ ไม่รีบแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น อาจจะส่งผลทำให้ผลงานตกต่ำลงเรื่อยๆ แผนกการฝากครรภ์จึงต้องการพัฒนาปรับปรุงให้มีการเข้าถึงผู้รับบริการมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเพิ่มอัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ให้ได้ตามเกณฑ์ 2. เพื่อเพิ่มอัตราการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ 3. เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น 4. เพื่อลดอัตราความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายและลดปัญหาภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ 5. ดำเนินงานได้ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข

1.ร้อยละ 100 สามารถลดปัญหาภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
    1. ชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและแต่งตั้งคณะทำงาน
    2. ประชาสัมพันธ์โครงการ 4.จัดประชุมชี้แจงเรื่องการประชาสัมพันธ์ การมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และอบรมให้ความรู้ แก่บุคลากรสาธารณสุขในสถานบริการ อสม. ตัวแทนชุมชน สมาชิกอบต หมอตำแย ผู้นำศาสานา ในการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ในชุมชนที่รับผิดชอบ 5.รพ.สต. ร่วมกับอสม. ในพื้นที่ที่รับผิดชอบแต่ละหมู่ประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประโยชน์ของการมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ 5.1.ชุมชนร่วมกับอสม.ประจำหมู่บ้านติดป้ายประชาสัมพันธ์และแจกแผ่นพับความรู้เรื่องการมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และการฝากครรภ์ให้ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ในหมู่บ้าน เช่น มัสยิด ร้านค้า ร้านก๋วยเตี๋ยว ศาลาประชาคม
      5.2.เสนอผู้นำศาสนาของมัสยิดในพื้นที่รับผิดชอบของรพ.สต.ช่วยบรรยาย สอดแทรกความรู้และประชาสัมพันธ์ รณรงค์เรื่องการมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ลงในคุตบะห์ละหมาดวันศุกร์ เพื่อประชามสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมายเพศชาย จะได้นำข้อมูลข่าวสารไปบอกต่อแก่ภรรยาที่บ้าน
    3. ค้นหาหญิงตั้งครรภ์ในหญิงวัยเจริญพันธ์ที่มารับบริการตรวจการตั้งครรภ์ในสถานบริการ 6.1ทำทะเบียนแบบสอบถามหญิงวัยเจริญพันธ์ทุกรายที่มารับบริการในรพ.สต.ดังรายละเอียดดังนี้
    • วิธีการคุมกำเนิดหรือวางแผนครอบครัว
    • หากไม่ได้คุมกำเนิดด้วยวิธีใดเลย สอบถามเรื่องการวางแผนการมีบุตร
    • จ่ายยาFolic acid แก่ผู้ที่กำลังวางแผนหรือต้องการมีบุตร
    • สอบถามประวัติประจำเดือนครั้งสุดท้าย(LMP) -ให้คำแนะนำเรื่องการวางแผนครอบครัว การวางแผนการมีบุตร การมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และการฝากครรภ์ให้ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
  2. พัฒนารูปแบบ ขั้นตอนการให้บริการให้สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น 7.1แยกผู้รับบริการฝากครรภ์รายใหม่และรายเก่าเรียงลำดับก่อนหลังเพื่อลดความแออัดและความล่าช้าในการรับบริการฝากครรภ์ในวันพุธ
  3. ติดตามประเมินผลและสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีผู้มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์มากกว่าร้อยละ 60
    1. มีผู้มารับบริการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 60
    2. รูปแบบการให้บริการมีความสะดวก รวดเร็ว และประชาชนสามารถเข้าถึงการรับบริการได้มากขึ้น
    3. ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์ ทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์
    4. อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด ไม่เกินร้อยละ 20 ของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจ ความเข้มข้นของเลือดในครั้งแรก และไม่เกินร้อยละ 50 ของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจเลือดครั้งที่ 2
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2560 12:53 น.