โครงการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย |
รหัสโครงการ | 2563-L3306-2-017 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม. รพ.สตงบ้านพูด |
วันที่อนุมัติ | 19 มิถุนายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 21 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2563 |
งบประมาณ | 44,100.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายวิวัฒน์ เสนาทิพย์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.349,99.958place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 700 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโรคติดต่อโดยเฉพาะไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลายเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดพัทลุง มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม จังหวัดพัทลุงจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายมากำหนดเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงาน โดยที่สถานบริการสุขภาพทุกแห่งจะต้องร่วมมือกับองค์กรชุมชนเพื่อดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายให้คลอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจากรายงานทางระบาดวิทยา 5 ปี ย้อนหลัง สำหรับเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด พบว่า ในปี พ.ศ. 2558 มีรายงานผู้ป่วย จำนวน 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ 57.87 ต่อแสนประชากร โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ปี 2559 นี้ พบผู้ป่วย จำนวน 57 ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ 1,037.41 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ปี 2560 พบผู้ป่วย จำนวน 27 ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ 517.24 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ในปี 2561 นี้ พบผู้ป่วย จำนวน 10 ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ 93.82 ต่อแสนประชากร และในปี 2562 นี้ พบผู้ป่วย จำนวน 31 ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ 567.76 ต่อแสนประชากร และไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต โดยเฉพาะในปี 2559 - 2562 นี้ มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกจำนวนมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกใกล้เคียงกับอัตราป่วยของอำเภอกงหราที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกณฑ์ที่กำหนด คือ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลงร้อยละ ๒๐ ของค่ามัธยฐานของอัตราป่วยย้อนหลัง 5 ปี อัตราป่วยไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากรต่อปี และเกณฑ์สำคัญที่นำมาพิจารณาคือ ค่าร้อยละของครัวเรือนที่พบลูกน้ำยุงลาย (HI) ไม่เกินร้อยละ 10 ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของจำนวนหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งหมด และโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มัสยิด ปลอดลูกน้ำยุงลาย (CI=0) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากเหตุผลดังกล่าว อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด มีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ให้คลอบคลุมทุกพื้นที่ในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ปี 2563 ขึ้น เพื่อลดอัตราป่วย และตายด้วยโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อป้องกันและหยุดการระบาดของโรคติดต่อ และโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ในช่วงการระบาดของโรค ช่วงที่มีการระบาด และหลังการระบาดของโรค กรณีเกิดโรคติดต่อ และไม่เกิดการระบาดของโรคในพื้นที่เป็นรายมี่ 2 ภายใน 28 วันหลังเกิดโรครายแรก |
0.00 | |
2 | เพื่อการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ในชุมชน และในสถานที่ราชการ และลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย ค่า HI ในชุมชน ไม่เกิน 10 |
0.00 | |
3 | เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกองค์กรในชุมชน และประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีการสำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันยุงลายทุก 7 วัน |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 2050 | 44,100.00 | 6 | 44,100.00 | |
22 มิ.ย. 63 | ป้องกันโรคล่วงหน้าใน รร. | 0 | 4,400.00 | ✔ | 4,400.00 | |
1 ก.ค. 63 | ประชุมประชาคมหมู่บ้าน | 700 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
1 - 30 ก.ค. 63 | กิจกรรมกรณีเกิดโรค | 50 | 9,000.00 | ✔ | 9,000.00 | |
22 ก.ค. 63 | อบรมให้ความรู้ | 100 | 13,700.00 | ✔ | 13,700.00 | |
5 ส.ค. 63 | รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง | 600 | 17,000.00 | ✔ | 17,000.00 | |
1 ก.ย. 63 | สำรวจลูกน้ำยุงลายพร้อมคืนข้อม | 600 | 0.00 | ✔ | 0.00 |
- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ประชุมชี้แจงแนวทางในการดำเนินงาน ป้องกัน ควบคุม โรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ในชุมชน เพื่อหามาตรการแนวทาง กติกาชุมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
- ประชุมให้ความรู้ทีม SRRT ในการดำเนินงานป้องกันก่อนการเกิดโรค ขณะเกิดโรค และหลังการเกิดโรคควบคุมกรณี เกิดโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
- กิจกรรมการรณรงค์ สร้างกระแสการดำเนินงานในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ในเขต รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านพูด จำนวน 6 หมู่บ้านของตำบลคลองเฉลิม
- กิจกรรมการประเมินลูกน้ำยุงลายในชุมชน ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านพูด
- กิจกรรมการป้องกันโรคล่วงหน้าในโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ก่อนเปิดเทอม ปี ละ 2 ครั้ง ๆละ 2 รอบ
จำนวน 11 แห่ง - กิจกรรมให้ความรู้เครือข่ายป้องกันโรคในโรงเรียน จำนวน 11 แห่ง
- ดำเนินการควบคุม และป้องกันโรค กรณีเกิดโรคขึ้น เพื่อตัดวงจรการเกิดโรค และการป้องกันการระบาดของโรค ได้ทันท่วงที
- ประเมินผลการดำเนินงานและ สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ ตำบลคลองเฉลิม
- อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด
ลดลง และมีการควบคุมการระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการระบาดซ้ำ (Second generation case)
- ประชาชนเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูดมีความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตัว ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ได้อย่างถูกต้อง และมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรค
- เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อสม. ประชาชน และหน่วยงานสาธารณสุขในการ ควบคุมลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2563 09:50 น.