กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร้านชำคุณภาพ ใส่ใจผู้บริโภค เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านพูด
รหัสโครงการ 2563-L3306-2-021
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านพูด
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 18,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิวัฒน์ เสนาทิพย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่นยาผสมสารสเตียร์รอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง อีกทั้งระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง

      ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด เป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ มีสถานประกอบการต่างๆจำนวนมาก เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านแผงลอย รถเร่ขายยา ตลาดนัด ร้านขายยา และร้านขายของชำในหมู่บ้าน ประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว จึงมีความสะดวกในการชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆโดยเฉพาะการเลือกชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านชำในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่เพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยาหรือของใช้ต่างๆ เครื่องอุปโภค บริโภค ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกชื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่าย ซึ่งจากการสำรวจข้อมูล ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด (หมู่ที่ ๑ , ๒ , ๘ , ๑๑ ,๑๒ และหมู่ที่ ๑๓) มีจำนวนร้านขายของชำ จำนวน 53 ร้าน ข้อมูลการตรวจประเมินร้านชำโดยใช้แบบตรวจประเมินร้านชำมาตรฐาน พบว่าร้านขายของชำยังปฏิบัติไม่ถูกต้องและเป็นปัญหาที่ต้องดำเนินการแก้ไข โดยเร่งด่วน ดังนี้ หมวดที่ ๑ หมวดสถานที่และอุปกรณ์ ที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ คือ ๑) ชั้นวางของ พื้นร้านและบริเวณโดยรอบร้านไม่สะอาด จำวน 7 ร้าน (ร้อยละ ๑๓.20) ๒) การจัดวางสินค้าไม่เป็นระเบียบ ไม่แยกของกินของใช้และวัตถุอันตราย จำนวน 6 ร้าน (ร้อยละ 11.32) ๓) ผู้ประกอบการและผู้ขายไม่สามารถตรวจสอบวันที่ผลิต/วันหมดอายุของสินค้าได้ จำนวน 16 ร้าน (ร้อยละ 30.19) หมวดที่ ๒ หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ยังเป็นปัญหา และไม่ผ่านเกณฑ์ คือ ๑) ตรวจพบผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีเลขสารบบอาหาร จำนวน 5 ร้าน (ร้อยละ ๙.๔๓) ๒) ตรวจพบผลิตภัณฑ์อาหารที่หมดอายุ/เสื่อมคุณภาพวางจำหน่ายในร้าน จำนวน 17 ร้าน (ร้อยละ ๓๒.๐๘) ๓) ตรวจพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเกินจริง จำนวน ๔ ร้าน (ร้อยละ ๗.๕๔) หมวดที่ ๓ หมวดผลิตภัณฑ์ยา พบปัญหาดังนี้ ๑) ตรวจพบมีการจำหน่ายยาแผนปัจจุบัน ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ (นอกเหนือจากยาสามัญประจำบ้าน) จำนวน 23 ร้าน (ร้อยละ ๔๓.๔๐) ๒) ตรวจพบมีการจำหน่ายยาแผนโบราณที่เป็นยาอันตราย/ไม่มีเลขทะเบียนตำรับฯ จำนวน 7 ร้าน (ร้อยละ ๑๓.๒๐) หมวดที่ ๔ หมวดเครื่องสำอาง จากการตรวจพบปัญหา คือ ๑) จำหน่ายเครื่องสำอางฉลากไม่ถูกต้อง จำนวน 4 ร้าน (ร้อยละ ๗.๕๔) ๒) จำหน่ายเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมสารต้องห้าม/ตรวจพบสารต้องห้าม จำนวน ๕ ร้าน (ร้อยละ ๙.๔๓) หมวดที่ ๕ หมวดผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ตรวจพบปัญหาดังนี้ ๑) จำหน่ายวัตถุอันตรายที่มีฉลากไม่ครบถ้วน จำนวน 5 ร้าน (ร้อยละ ๙.๔๓) ๒) จำหน่ายวัตถุอันตรายหมดอายุ/เสื่อมสภาพ จำนวน ๒ ร้าน (ร้อยละ ๓.๗๗) ๓) จำหน่ายวัตถุอันตรายที่ห้ามจำหน่าย ๒๓ ร้าน (ร้อยละ ๔๓.๔๐) หมวดที่ ๖ หมวดผลิตภัณฑ์บุหรี่/สุรา จากการประเมินพบปัญหา ดังนี้ ๑) จำหน่ายบุหรี่แก่เด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี (ร้านจำหน่ายบุหรี่ ๔๗ ร้าน) จำนวน 33 ร้าน (ร้อยละ ๗๐.๒๑) ๒) จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ ณ จุดขายไม่มีการปิดบังผลิตภัณฑ์ ๔๖ ร้าน (ร้อยละ ๙๗.๘๗) ๓) จำหน่ายสุราแก่เด็กอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี (ร้านจำหน่ายสุรา ๓ ร้าน) จำนวน ๒ ร้าน (ร้อยละ ๖๖.๖๖) ๔) จำหน่ายสุราไม่เป็นไปตามเวลาที่กฎหมายกำหนด จำวน ๒ ร้าน (ร้อยละ ๖๖.๖๖)
      ในการนี้ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูดง ซึ่งเป็นกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครคุ้มครองผู้บิโภค และ อย.น้อย ได้เล็งเห็นว่าการพัฒนายกระดับร้านขายของชำในชุมชน ทั้งยังช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยลดน้อยลงไปได้ จึงได้จัดทำโครงการร้านชำปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้และมีทักษะในการเลือกชื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ไม่มีสารเคมีอันตรายเจือปนอยู่ มีการสำรวจเผ้าระวังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง รวมทั้งพัฒนาปรับปรุงร้านขายของชำให้มีคุณภาพ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัย จากการอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดโรค การแพ้และอันตรายต่อสุขภาพของคนในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำให้มีความรู้ และการปฏิบัติที่ถูกต้อง

ผู้ประกอบร้านชำ ได้รับความรู้ ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้อง ไม่มีผลิตภัณฑ์ที่อันตรายหรือห้ามจำหน่ายในร้านขายของชำ

0.00
2 เพื่อให้ความรู้แกกลุ่มอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค ให้มีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบัติงานในชุมชน

อาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้และดำเนินด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง

0.00
3 เพื่อจัดตั้งชมรมผู้ประกอบการร้านชำ

ผู้ประกอบการร้านชำมีการรวมกลุ่มกันดำเนินงานร้าชำคุณภาพ โดยมีชมรมเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
8 ก.ค. 63 จัดทำเวทีประชาคม 80 4,100.00 4,100.00
29 ก.ค. 63 อบรมให้ความรู้ 40 9,500.00 9,500.00
17 ส.ค. 63 ประชุมติดตาม ครั้งที่ 1 40 2,500.00 2,500.00
1 ก.ย. 63 ประชุมติดตาม ครั้งที่ 2 40 2,500.00 2,500.00
รวม 200 18,600.00 4 18,600.00

๑. เสนอแผนงานให้อนุกรรมการกลั่นกรอง
      ๒. เสนอแผนงานต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
๓. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนร้านขายของชำ/ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ   ๔. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาร้านชำคุณภาพ แก่ผู้ประกอบการร้านชำ และประชาชนกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มผู้ดำเนินงานคุมครองผู้บริโภคในชุมชน
      ๕. จัดตั้งกลุ่มหรือชมรมผู้ประกอบการร้านชำ เพื่อดำเนินงาน ให้คำปรึกษา ตลอดจนประเมินคุณภาพร้านชำกันเอง 9]vf0oเฝ้าระวังและติดตามผู้ประกอบอย่างต่อเนื่องทุกเดือน
      ๖. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ร้านชำได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้เป็นไปตามเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ
  ๒. ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานร้านชำ และร้านชำได้รับการติดตามประเมินอย่างต่อเนื่อง
      ๓. กลุ่มอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้และสามารถติดตามแนะนำแก่ร้านชำได้อย่างถูกต้อง
      ๔. ประชาชนได้รับการบริกการผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง ปลอดภัย อันนำไปสู่การมีสุขภาพดี ต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2563 10:31 น.