กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) หมู่ที่ 1 ตำบลคลองเฉลิม
รหัสโครงการ 2563-L3306-023
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ 1
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 11,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเจ๊ะโหด พลนุ้ย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่ได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทั่วโลก โดยองค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” และในส่วนของประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้มีประกาศ เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ กำหนดให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019(COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตราย ซึ่งคณะรัฐมนตรีในคราวประชุม เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๓ เห็นชอบมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤติการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โดยให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง เร่งดำเนินการตามมาตรการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ในตำบลคลองเฉลิม มีประชาชนซึ่งประกอบอาชีพอยู่ต่างจังหวัด และได้รับผลกระทบจากการการระบาดของโรคดังกล่าว และได้เดินทางจากต่างจังหวัด กลับมาพักอาศัยในพื้นที่จังหวัดพัทลุง และคาดว่าจะมีจำนวนคนที่เดินทางกลับมาในพื้นที่ตำบลคลองเฉลิม เพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งบุคคลเหล่านี้ จำเป็นต้องกักกันตัว ติดตาม เฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิดจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยง ของการแพร่ระบาดของโรค ทุกภาคส่วนจึงต้องดำเนินการควบคุมโรคไม่ให้แพร่ระบาดเข้าสู่หมู่บ้านได้       ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 1 ตำบลคลองเฉลิม จึงเล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเข้าสู่หมู่บ้าน จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อคัดกรองและเฝ้าระวังโรคในประชาชนที่เดินทางมาจากที่อื่นและคัดกรองประชาชนในหมู่บ้านตามสถานที่หรือบริเวณที่มีการรวมกลุ่มต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVId-19)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาด และมาพักอาศัยในพื้นที่ตำบลคลองเฉลิม ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID -19)
ร้อยละ ๑๐๐

0.00
2 เพื่อตรวจคัดกรองประชาชนในหมู่บ้าน ที่มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมของหมู่บ้าน

ประชาชนในหมู่บ้าน ที่มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมของหมู่บ้าน ได้รับการคัดกรอง ร้อยละ ๑๐๐

0.00
3 เพื่อให้บุคคลกลุ่มเสี่ยง ที่ต้องกักกันตัวเอง ได้รับการเฝ้าระวังติดตามอาการ

บุคคลกลุ่มเสี่ยงที่ต้องกักกันตัวเองได้รับการเฝ้าระวังติดตามอาการครบ ๑๔ วัน ร้อยละ ๑๐๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVId-19)

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อตรวจคัดกรองประชาชนในหมู่บ้าน ที่มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมของหมู่บ้าน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้บุคคลกลุ่มเสี่ยง ที่ต้องกักกันตัวเอง ได้รับการเฝ้าระวังติดตามอาการ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

20 ก.ค. 63 จัดหาอุปกรณ์ป้องกัน 0.00 11,800.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑. เสนอแผนงานให้อนุกรรมการกลั่นกรอง
      ๒. เสนอแผนงานต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
๓. คัดกรองความเสี่ยงบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของโรค   ๔. คัดกรองความเสี่ยงของประชาชนในหมู่บ้านตามสถานที่ต่างๆ โรงเรียน และมัสยิด
      ๕. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนที่เดินทางเข้าหมู่บ้านและประชาชนในหมู่บ้านได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
๒. ประชาชนที่พบมีความเสี่ยง ทุกคน ได้รับการติดตาม เฝ้าระวัง สังเกตอาการจาก อาสาสมัครสาธารณสุขจนครบระยะเวลากักกันตัว (๑๔ วัน)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2563 11:20 น.