กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ปกครอง0-5 ปี ในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
รหัสโครงการ L4137-05-01-63
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสา
วันที่อนุมัติ 8 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 10,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหาสน๊ะ โต๊ะกูบาฮา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2563 31 ธ.ค. 2563 10,200.00
รวมงบประมาณ 10,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐาน ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดด้วย เพื่อให้เด็กห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของกระทรวงสาธารณสุขที่ว่าด้วย เด็ก 0-5 ปี จะต้องได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบตามเกณฑ์อายุ และผู้ปกครองของเด็กที่มีอายุ 0-5 ปี ควรที่จะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จากการสัมภาษณ์และสอบถามผู้ปกครองของเด็กที่มีอายุ0-5ปีเกี่ยวกับการได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของเด็กที่อยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง ชุมชนเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน ยังพบผู้ปกครองอีกหลายท่านที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของเด็กในการปกครอง
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าการดำเนินงานในกิจกรรมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีประชากรเด็ก 0-5 ปี ปีงบประมาณ 2559 จำนวน 399 คน และวัคซีนตามเกณฑ์ จำนวน 288 คน คิดเป็นร้อยละ 72.18 ซึ่งยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนให้ได้ร้อยละ 95 ฉะนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯจากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่าเด็ก 0-5 ปีในเขตรับผิดขอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสา ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคน พร้อมทั้งให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวไปสู่อนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีทุกคนได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบถ้วนตามเกณฑ์
  1. เด็กอายุ 0-5 ปีทุกคนได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบถ้วนตามเกณฑ์
3.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี

อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลง

3.00
3 3 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพในเด็ก 0-5 ปี

ไม่มีอุบัติการณ์โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

3.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 10,200.00 2 10,200.00 0.00
1 ก.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 กิจกรรมผู้ปกครองเด็กอายุ 0-2 ปี 30 5,100.00 5,100.00 0.00
1 ก.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 กิจกรรมผู้ปกครองเด็กอายุ 2-5 ปี 30 5,100.00 5,100.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 60 10,200.00 2 10,200.00 0.00
  1. จัดทำทะเบียนเด็ก 0-5 ปีทุกราย
  2. ให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่ รพ.สต. ทุกวันพุธ
  3. จัดอบรบผู้ปกครองเด็กเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในเด็ก 0-5 ปี โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น
    • ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-2 ปี
    • ผู้ปกครองเด็กอายุ 2-5 ปี 4.รณรงค์ให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในชุมชนโดยการประสานงานกับ อสม.ผู้รับผิดชอบ 5 ติดตามความครอบคลุมในรายที่รับวัคซีนที่อื่น 6 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในการรณรงค์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในเด็ก 0-5 ปี
      (ได้รับสนับสนุนงบประมาณบริจาคจากหน่วยงานภายนอกส่วนราชการ) 7 สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 0-5 ปีทุกคนได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบถ้วนตามเกณฑ์
  2. อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลง
  3. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี
  4. ชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพในเด็ก 0-5 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2563 16:50 น.