กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2560
รหัสโครงการ 13/2560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลือมุ
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอฮีม๊ะ หะยีสาแล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9 เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลือมุ อำเภอกรงปีนัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานข้อมูลข่าวสารสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ พบว่าตั้งแต่ปี 2548 – 2550 สติถิการเสียชีวิตของคนไทยนั้น เกิดจากโรคมะเร็งสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง โดยเฉพาะในปี 2550 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งสูงถึง 53,434 คน และพบว่าทุกๆหนึ่งชั่วโมงจะมีผู้เสียชีวิต 6 คน โดยในปีที่ผ่านมาพบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งกว่า 120,000 คนทั้งนี้ผู้ชายไทยเป็นมะเร็งตับมากที่สุด รองลงมาคือ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปอดแลมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด รองลงมาคือมะเร็งเต้านม และมะเร็งปอด ตามลำดับ สาเหตุที่ทำให้สตรีเป็นโรคมะเร็งมีหลายสาเหตุด้วยกันไม่ว่าจะเป็น กรรมพันธุ์ วิถีชีวิต การบริโภค และผู้ป่วยที่มารับการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่มักจะมาเมื่ออยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ซึ่งวิธีการป้องกันที่สำคัญที่สุด คือการค้นหาโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการ เพื่อรับการรักษาก่อนจะลุกลาม โดยให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ ถ้าได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง การฝึกทักษาในการสังเกต และการตรวจคัดกรองค้นหาด้วยตนเอง เพื่อค้นหาความผิดปกติ ทำให้สามารถได้รับการดูแล รักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ในขณะเดียวกัน กลุ่มสตรีสามารถดูแล และป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ในระยะแรก ๆ โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทุก ๆ 5 ปี โดยในปี 2555 กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการลดปัญหาสุขภาพ ได้แก่ สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพหามะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 และสตีอายุ 35 ปี ขึ้นไป ผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านลือมุ สะสมตั้งแต่ปี 2558 – 2559 (ร้อยละ 40) ของกลุ่มเป้าหมายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีจำนวน 413 คน ตรวจคัดกรองได้127 คน ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเพียงร้อยละ 30.75 ส่วนการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ผลการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ ปี 2559 มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 421 คน ตรวจคัดกรองได้ 93 คน ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายถึงร้อยละ 22.09 บรรลุเป้าหมายโครงการที่กำหนด คือ ร้อยละ 80) ซึ่งการดำเนินงานโครงการมะเร็งปากมดลูกดังกล่าว ยังไม่บรรลุเป้าหมายเนื่องจากการประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่ทั่วถึง กลุ่มเป้าหมายยังไม่ตระหนักถึงโทษภัยของโรคมะเร็งปากมดลูกและยังไม่เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเท่าที่ครร โดนผู้ที่ได้รับการตรวจคัดกรองก็จะเป็นผู้ที่เข้ารับการอบรมเป็นสวนใหญ่ซึ่งต้องต้องเร่งรัดให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป ทั้งนี้ รพ.สต. บ้านลือมุ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับสตรี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมโดยโครงการดังกล่าวจะรณรงค์เร่งรัดให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย 3 หมู่บ้านที่ยังไม่ได้รับการอบรมในปี 2559 เข้ารับการอบรมให้มีความรู้ เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม สอนการตรวจเต้านม และบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กลุ่มเป้าหมายที่รพ.สต. บ้านลือมุตลอดจนกลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายประชาชนมีสุขภาพดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งระยะลุกลามในสตรี และเพิ่มอัตรารอดชีวิตจากโรคมะเร็ง ส่งเสริมสุขภาพสตรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

1.ร้อยละ ๘0 ของสตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้นสามารถตรวจหาก้อนมะเร็งได้ด้วยตนเอง โดยผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ จำนวน 333 คน (สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป ทั้งหมด 413 คน)
2. ร้อยละ 20 (สะสม 5 ปี เท่ากับร้อยละ 80 ) ของสตรีอายุ 30 – 60 ปี มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้นและได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 88คน (สตรีอายุ 30-60 ปี ทั้งหมดที่ยังไม่ได้รับการตรวจปี 58 ,59 ( จำนวน 286 คน)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

5.1ขั้นเตรียมการ

5.1.1 ประชุมเจ้าหน้าที่ อสม. ตัวแทนอบต. คณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงการ จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 5.1.2ปรึกษาหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องคือคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ต.กรงปินัง 5.1.3 เขียนโครงการฯ เสนอขออนุมัติ 5.1.4ประสานกับหน่วยงานและบุคลากรในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง 5.1.5ประชาสัมพันธ์โครงการ ทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรม/ตรวจมะเร็งปากมดลูกที่รพ.สต. บ้านลือมุ 5.1.6จัดทำทะเบียนคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมของรพ.สต บ้านลือมุ
5.2ขั้นดำเนินการ
5.2.1 อบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำสตรี และสตรีกลุ่มเป้าหมายในชุมชน 3 หมู่บ้านจำนวน 81 คน เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม พร้อมทั้งสอนวิธีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมด้วยตนเองที่ถูกต้องและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก ตลอดจนชี้ถึงโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่รพ.สต. บ้านลือมุ ซึ่งจากการดำเนินโครงการปี 2558 พบว่า สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอบรมจะรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกราย ยกเว้นที่กำลังตั้งครรภ์ จึงต้องมีการจัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายทุกคน เพื่อเป็นการจูงใจในการตรวจอีกทางหนึ่ง 5.2.2 อาสาสมัครสาธารณสุข และแกนนำสตรีที่ผ่านการอบรมของแต่ละหมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้ความรู้สตรีกลุ่มเป้าหมายในชุมชนต่อโดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นพี่เลี้ยง และติดตามหญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30-60 ปี จูงใจให้มารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่รพ.สต. บ้านลือมุ 5.2.3เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่สถานีอนามัย ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ และนำ Specemen ส่งตรวจ ณ โรงพยาบาลยะลา พร้อมทั้งแจ้งผลตรวจให้แก่ผู้รับบริการ 5.2.4เจ้าหน้าที่สาธารณสุข/อสม. ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่มารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก พร้อมทำหนังสือเชิญให้มารับบริการ 5.2.5 ให้สุขศึกษาและส่งต่อพบแพทย์ในรายที่พบภาวะผิดปกติ 5.2.6จนท.ประเมินผลการตรวจเต้านมด้วยตนเองของกลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการที่รพ.สต. บ้านลือมุ และในชุมชน 5.2.7 ติดตามประเมินผลระหว่างดำเนินโครงการ หลังดำเนินโครงการ และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับการอบรม การตรวจมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้น สามารถตรวจหาก้อนมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง และได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น ลดการพบมะเร็งระยะลุกลามในสตรีไทย ส่งผลให้มีสุขภาพดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2560 14:50 น.