กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคระบาด โรคอุบัติใหม่ และรณรงค์การป้องกันโรคระบาดในชุมชน ประจำปี 2563
รหัสโครงการ L4137-07-01-63
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสา
วันที่อนุมัติ 8 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหาสน๊ะ โต๊ะกูบาฮา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2563 31 ธ.ค. 2563 19,300.00
รวมงบประมาณ 19,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and rapid response Team: SRRT) เป็นกลไกในการจัดการกับปัญหาการเกิดโรค ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข หรือภัยคุกคามสุขภาพมีผลกระทบทางสุขภาพเกิดการเจ็บป่วย และเสียชีวิต นั่นหมายถึงความสามารถของบุคลากรภาคีเครือข่ายในพื้นที่ร่วมทีมกันเพื่อรับผิดชอบเฝ้าระวัง และตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ซึ่งการดำเนินงานจึงจะสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จากการสอบถามแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับระบาดวิทยาพื้นฐานและการป้องกันควบคุมโรคของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ตำบลพร่อน ปรากฏว่าทีมยังขาดความรู้ความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวถึงร้อยละ 50 จึงมีความจำเป็นที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ตำบลพร่อน ต้องได้รับความรู้ความเข้าใจตามมาตรฐานงานระบาดวิทยา เพื่อเป็นการยกระดับเป็นทีมที่สามารถทำหน้าที่เฝ้าระวัง ค้นหาเหตุการณ์ผิดปกติได้เร็วขึ้น มีการตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ สื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม และมีความพร้อมในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้ทันทีและมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมาได้มีการจัดทำเวทีประชาคมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีผลการสะท้อนปัญหาโรคติดต่อระบาดเป็นลำดับที่ 1 เนื่องจากในทุกๆ ปีในพื้นที่ตำบลพร่อน พบผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคติดต่อที่หลากหลายและค่อนข้างรุนแรง ซึ่งในปี พ.ศ. 2562 โรคที่พบได้บ่อยได้แก่ โรคไข้เลือดออก พบประชาชนในพื้นที่ตำบลพร่อน จำนวน 6 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 127.82 ต่อแสนประชากร (เกินค่ามาตรฐาน 80 ต่อแสนประชากร) โรคมือ เท้า ปาก ในเด็กปฐมวัยพบ จำนวน 2 ราย วัณโรค จำนวน 4 รายและโรคหัด 1 ราย และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19) ทั่วทุกมุมโลก ป่วยติดเชื้อเป็นจำนวน 10 ล้านกว่ารายและเสียชีวิตนับ 5 แสนกว่าราย ประเทศไทยป่วยติดเชื้อ 3,190 ราย และเสียชีวิต 58 ราย พื้นที่จังหวัดยะลาป่วยติดเชื้อ 134 ราย และเสียชีวิต 2 ราย ส่วนพื้นที่ตำบลพร่อนยังไม่พบผู้ติดเชื้อแต่อย่างใด ถือเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ร้ายแรงอีกโรคหนึ่ง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสา จึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อฟื้นฟูความรู้แก่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ตำบลพร่อน ตามหลักวิชาการระบาดวิทยา เพื่อเตรียมความพร้อมแก่ทีม SRRT ในการดำเนินการเฝ้าระวังเหตุการณ์ ตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ สื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างเหมาะสมและการควบคุมโรค และเพื่อภาคีเครือข่ายชุมชนร่วมกันรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกซึ่งถือเป็นปัญหาสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่ตำบลพร่อน ซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อฟื้นฟูความรู้และเฝ้าระวังเหตุการณ์แก่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ตำบลพร่อน ตามหลักระบาดวิทยา

ทีม SRRT ระดับหมู่บ้าน ตำบล มีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคตามหลักระบาดวิทยา

2.00
2 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายชุมชนมีความรู้ในผลิตนวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกและร่วมใช้ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในพื้นที่

ทีม SRRT ระดับหมู่บ้าน ตำบล มีความพร้อมในการเฝ้าระวังป้องกันโรค สามารถรับมือควบคุมการระบาดของโรค ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 160 19,300.00 2 15,300.00
1 ก.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 กิจกรรมอบรมทีม SRRT การควบคุมป้องกันโรคระบาด โรคอุบัติใหม่ 60 16,800.00 12,800.00
1 ก.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 กิจกรรมรณรงค์ 100 2,500.00 2,500.00
  1. อบรมฟื้นฟูความรู้แก่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับหมู่บ้าน ตำบล เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังเหตุการณ์ ตรวจสอบสาเหตุของเหตุการณ์ สื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างเหมาะสม และการควบคุมโรค ตามหลักวิชาการระบาดวิทยา โดยประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนและหลัง
  2. จัดทำแผนปฏิบัติงานรับการระบาดของโรค หรือโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำและโรคที่เป็นปัญหาของพื้นที่เพื่อรองรับการระบาดของโรค ก่อนเกิด ขณะเกิด และภายหลังเกิดโรค หรือเหตุการณ์ตามบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบนิเทศติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานการจัดตั้งทีม SRRT ระดับตำบล และรายงานผลการดำเนินงาน
  3. เชิญชวนให้ภาคีเครือข่ายภายในชุมชน เช่น ส่วนราชการ องค์การบริหารส่วนตำบล โรงเรียนเครือข่ายภาคประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา โรงงานเอกชน ร่วมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ที่กำหนดเป็นแหล่งระบาดของโรคไข้เลือดออก
  4. ผลิตนวัตกรรมปูนแดงน้ำขิงพิฆาตลูกน้ำยุงลาย เพื่อให้ภาคีเครือข่ายชุมชนร่วมกันผลิตนวัตกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกและร่วมใช้ในการรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในพื้นที่
  5. กิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคระบาดในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายตำบลพร่อน เช่น โรคไข้เลือดออก โรคโควิด-19 โรคไข้หวัด/ไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง วัณโรค และโรคฉี่หนู
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทีม SRRT ระดับหมู่บ้าน ตำบล มีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคตามหลักระบาดวิทยา
  2. ทีม SRRT ระดับหมู่บ้าน ตำบล มีความพร้อมในการเฝ้าระวังป้องกันโรค สามารถรับมือควบคุมการระบาดของโรค ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ภาคีเครือข่ายชุมชนตลอดจนประชาชนเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2563 16:57 น.