กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการส่งเสริม ป้องกัน และเฝ้าระวังทันตสุขภาพมารดาสู่ลูก ปี 2563
รหัสโครงการ L4137-09-01-63
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาสา
วันที่อนุมัติ 8 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 กรกฎาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหาสน๊ะ โต๊ะกูบาฮา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2563 31 ธ.ค. 2563 10,750.00
รวมงบประมาณ 10,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาอุบัติการณ์โรคฟันผุเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคฟันผุสูงในเด็กอายุ 18 เดือนขึ้นไป การส่งเสริม ป้องกัน และเฝ้าระวังทันตสุขภาพมารดาสู่ลูก เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะทำให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี การป้องกันโรคฟันผุในเด็กควรเริ่มตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ เพราะฟันน้ำนมของเด็กเริ่มสร้างและมีการสะสมแร่ธาตุเกือบสมบูรณ์ขณะอยู่ในครรภ์ การเจ็บป่วยด้วยโรคในช่องปากไม่ว่าจะเป็นโรคฟันผุและโรคปริทันต์ ถือได้ว่าเป็นปัญหาและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนไทยทุกกลุ่มอายุ แม้ว่าโรคจะไม่รุนแรงถึงชีวิต แต่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ หากเกิดในหญิงตั้งครรภ์จะส่งผลให้เกิดความรุนแรง ประกอบกับปัจจุบันมีหลักฐานที่สนับสนุนว่า การมีโรคฟันผุในช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ มีผลต่อการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดและเด็กน้ำหนักแรกเกิดน้อย มารดาที่มีฟันผุขณะตั้งครรภ์จะมีเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากจำนวนมาก ซึ่งเชื้อนี้สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ทางน้ำลาย และหากเกิดในเด็กเล็ก ก็จะเป็นปัญหาในการดูแลรักษา เพราะว่าเด็กยังเล็ก ไม่สามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองให้สะอาดได้ด้วยตนเอง ต้องได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากจากมารดา ซึ่งมีการวิจัยว่าโรคฟันผุมีผลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ควรแก้ไขตั้งแต่แรกเริ่ม การเกิดโรคฟันผุมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยร่วมกันไม่ว่าจะเป็น ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านอาหาร ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจและปัจจัยด้านการได้รับบริการทันตกรรม ซึ่งจากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กเล็กเป็นกลุ่มที่ต้องอาศัยการพึ่งพิงผู้อื่นโดยเฉพาะจากบิดา มารดาเป็นสำคัญ พฤติกรรมการเลี้ยงดูจะถูกส่งผ่านทัศนคติ ความรู้และทักษะต่างๆจากบิดา มารดาสู่เด็กเล็ก และปลูกฝังจนเป็นนิสัยของเด็กเล็กต่อไป จากข้อมูลการสำรวจทันตสุขภาพเด็ก ๓ ปี ปราศจากฟันผุ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ๓ ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 – 2๕62 พบว่ามีฟันผุ ร้อยละ 57.63, ร้อยละ 53.74 และร้อยละ 47.25 ตามลำดับ       ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อนได้เล็งเห็นถึงปัญหาฟันผุเหล่านี้ เพื่อลดปัญหาการเกิดโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียน สร้างทัศนคติ และทักษะให้แม่สามารถดูแลช่องปากของตนเองได้ดี เพื่อส่งผลต่อทักษะการดูแลลูกต่อไปในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม ป้องกัน และเฝ้าระวังทันตสุขภาพมารดาสู่ลูก ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปาก

เด็กปฐมวัยฟันดีไม่มีฟันผุ

0.00
2 เพื่อลดอัตราฟันผุในเด็กวัย ๐ - ๓ ปี

เพื่อลดอัตราฟันผุในเด็กวัย ๐ - ๓ ปี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 10,750.00 2 10,750.00
1 ก.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองเด็กอายุ 0-3 ปี 40 6,200.00 6,200.00
1 ก.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มเมาะจิอาสาและกลุ่มผู้นำชุมชน 0 4,550.00 4,550.00

๑. สำรวจข้อมูลพร้อมจัดทำทะเบียนเด็กแรกเกิดถึง ๓ ปี และทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ 2. ประชาสัมพันธ์ชี้แจงการจัดโครงการให้หญิงตั้งครรภ์ ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-3 ปี อสม. และผู้นำชุมชนทราบ เพื่อให้การดำเนินโครงการนี้โดยมีชุมชนมีส่วนร่วมด้วย 3. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ การเลือกรับประทานอาหารที่ไม่เสี่ยงต่อโรคฟันผุ และการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคฟันผุในเด็ก 0-3 ปี
4. ทำแบบทดสอบก่อนอบรม 5. อบรมเชิงปฏิบัติการการแปรงฟัน การเลือกบริโภคอาหารที่ห่างไกลจากฟันผุแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-3 ปี
6. ทำแบบทดสอบหลังอบรม 7. ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก สอนทักษะการแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน ในหญิงตั้งครรภ์ และให้บริการรักษาทันตกรรมในหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก พร้อมบันทึกสภาวะสุขภาพช่องปากทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ สีแดง หมายถึง ต้องรักษาทันตกรรม หรือ มีฟันผุต้องรักษามากกว่า 6 ซี่ ,สีเหลือง หมายถึง อยู่ระหว่างการรักษาทางทันตกรรม หรือได้รับการรักษาทางทันตกรรมที่จำเป็นแล้ว และสีเขียว หมายถึง ได้รับการรักษาทางทันตกรรม แบบ complete case แล้ว หรือไม่มีโรคฟันผุ 8. ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก เคลือบฟลูออไรด์ในเด็ก 0-3 ปี และอุดฟันด้วยวิธี SMART TECHNIQUE ให้แก่เด็กที่มีฟันผุในตำบลพร่อน 9. ออกเยี่ยมบ้านโดยทีมกลุ่มเมาะจิอาสาเพื่อฟันดีตำบลพร่อน มีบริการตรวจสุขภาพช่องปาก ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปาก เคลือบฟลูออไรด์วานิชร่วมกับเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข แก่เด็กที่ไม่ได้มาตามนัดในคลินิกเด็กดีของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน 10. สรุปผลการดำเนินงานสภาวะโรคฟันผุของเด็กอายุ 3 ปี ในปีงบประมาณ 2563

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กปฐมวัยฟันดีไม่มีฟันผุ เพื่อลดอัตราฟันผุในเด็กวัย ๐ - ๓ ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2563 17:00 น.