กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เทศบาลนครสงขลา ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L7250-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ (นางสาวศุภกานต์ พิสิฐศุภกุล) ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
วันที่อนุมัติ 26 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 53,130.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางสาวศุภกานต์ พิสิฐศุภกุล) ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด – 19 (Coronavirus Disease 2019) ซึ่งโรคนี้สามารถแพร่ทางฝอยละอองจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม ประกอบกับกระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ โดยขณะนี้พบผู้ติดเชื้อในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น ๓,๐๘๒ ราย รักษาหายจำนวน ๒,๙๖๕ ราย รักษาอยู่ในโรงพยาบาล จำนวน ๖๐ ราย และเสียชีวิต จำนวน ๕๗ ราย และจังหวัดสงขลามีผู้ป่วยสะสม 131 ราย ข้อมูล ณ วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๓ ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนผู้รักษาหายมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีประชาชนเข้าใช้บริการจำนวนมาก อาทิ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ตลาดสด และแหล่งชุมชนแออัด ดังนั้น งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – ๑๙ ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ตลาดสด และแหล่งชุมชนแออัด ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – ๑๙ และการป้องกันโรคที่ถูกวิธี

๑.  ประชาชนสามารถปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด - ๑๙ ร้อยละ ๑๐๐

100.00
2 ๒. เพื่อให้บุคลากรและประชาชนที่มารับบริการในสถานที่แออัดได้รับการคัดกรองโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙

๒.  สถานที่ที่มีผู้มาใช้บริการเป็นจำนวนมากปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด - ๑๙              ร้อยละ ๑๐๐

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๕.๑ ขั้นตอนการเตรียม ๕.๑.๑ เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ ๕.๑.๒ จัดทำแผนปฏิบัติงาน ๕.๒ ขั้นตอนการดำเนินการ ๕.๒.๑ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ๕.๒.๒ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด - 19 ๕.๒.๓ สำรวจ สอบถาม ให้คำแนะนำ ผู้มาใช้บริการในสถานที่ที่ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ๕.๒.๔ สรุปผลและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๙.๑ ประชาชนสามารถปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19
9.2 สถานที่ที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมากมีมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด - ๑๙

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2563 07:24 น.