โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน |
รหัสโครงการ | 63-L7250-3-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | (นางสาวตรีทิพย์ เครือหลี) ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ |
วันที่อนุมัติ | 26 มิถุนายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 48,900.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | (นางสาวตรีทิพย์ เครือหลี) ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 300 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาภาวะโภชนาการในศตวรรษที่ 21 ของประเทศที่กำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย มีความสอดคล้องกัน คือ การมีภาวะโภชนาทุพโภชนาการ โดยมีปัญหาโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในพื้นที่ยากจนหรือท้องที่ห่างไกลและปัญหาภาวะโภชนาการเกินที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในสังคมเมือง โดยเฉพาะปัญหาโภชนาการเกินที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาก และมักกลายเป็นโรคอ้วน ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดโรคเรื้อรังตามมาได้ ซึ่งเป็นการบั่นทอนคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศในอนาคต (นพร, 2556)
ช่วงวัยก่อนเรียนเป็นช่วงวัยที่สำคัญของชีวิต เป็นช่วงวัยในการพัฒนามนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพเป็นรากฐานของการพัฒนาทั้งปวง เป็นช่วงวัยที่สมองของเด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว (Rosales, Reznick, & Zeisel, 2009) ภาวะโภชนาการที่ดีจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในชีวิตเด็กอย่างมากมาย การได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอจึงมีความสำคัญมากต่อพัฒนาการและสติปัญญาของเด็ก (ประไพพิศ, ศักรินทร์ และอติญาณ์, 2560) การมีภาวะโภชนาการที่ไม่ดี นอกจากจะส่งผลต่อระดับสติปัญญา และการเจริญเติบโตแล้ว ยังส่งผลต่อภาวะ
ภูมิต้านทานโรค ทำให้เจ็บป่วยได้บ่อย ระยะเวลาในการเจ็บป่วยนาน และมีความรุนแรงมากขึ้นได้ นอกจากนี้เด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินและอ้วน จะส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ได้ (นพร, 2556) จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการบริโภคจะพัฒนาในช่วงวัยเด็กและจะติดตัวไปจนเป็นวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นการสร้างนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีตั้งแต่เด็กจะส่งผลต่อไปในอนาคต (ประไพพิศ และคณะ, 2560)
จากการศึกษาสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์ศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา พบว่า ปัญหาทุพโภชนาการยังเป็นปัญหาที่ยังคงพบในเด็กก่อนวัยเรียน โดยเด็กก่อนวัยเรียนมีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 23 และภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ร้อยละ 16.5 นอกจากนี้ยังพบปัญหาการไม่รับประทานผัก พฤติกรรมการรับประทานขนมกรุบกรอบ การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น เลือกรับประทานอาหารมัน อาหารทอด การดื่มนมรสหวาน การรับประทานอาหารหวานและขนมหวาน เป็นต้น
ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งถ้าไม่ได้รับการแก้ไข ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาทุพโภชนาการที่รุนแรงมากขึ้น และส่งผลต่อคุณภาพของชีวิตของเด็กก่อนวัยเรียนได้ (ตรีทิพย์, จิรารัตน์,
เจิดนภา และอมร, 2562)
จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา พบว่า สาเหตุของภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน เกิดจากผู้ปกครองขาดความรู้ในการจัดอาหารสำหรับเด็ก โดยผู้ปกครองจะให้เด็กรับอาหารประทานอาหารตามความสะดวกและให้รับประทานในปริมาณที่มาก รวมทั้งการเลี้ยงดูบุตร หลานแบบตามใจ โดยผู้ปกครองส่วนใหญ่จะอนุญาตให้เด็กรับประทานอาหารที่เด็กชอบ หรือบางครั้งอาจให้เด็กซื้ออาหารได้เองจากร้านค้าได้เองตามความต้องการ
(สมสิริ, อาภาวรรณ, ณัฐธิรา และรุ่งรดี, 2560) ส่งผลให้พฤติกรรมการดูแลเด็กก่อนวัยเรียนและที่บ้านไม่สอดคล้องกัน ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการได้ และจากการศึกษาเรื่องรูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา พบว่า ครู พี่เลี้ยง แม่ครัว และผู้ปกครองมีความต้องการการได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน เนื่องจากเห็นว่ามีความสำคัญต่อการนำไปใช้ในการดูแลบุตร หลานที่อยู่ในช่วงก่อนวัยเรียน เพื่อจะได้ช่วยในการเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนให้เป็นไปตามเกณฑ์ (ตรีทิพย์ และคณะ, 2562) รวมทั้งการเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนให้มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากครอบครัว และโรงเรียนในการวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะโภชนาการที่ดีของเด็กก่อนวัยเรียนได้ (เจิดนภา และคณะ, 2560; สมศิริ
และคณะ, 2560)
ดังนั้นเพื่อให้การเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนให้มีประสิทธิภาพนั้น ครู พี่เลี้ยง แม่ครัว และผู้ปกครองจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อสามารถนำไปสู่การสร้างความตระหนักและการปฏิบัติที่ถูกต้องในการดูแลด้านภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน จากเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงจำเป็นต้องจัดโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ครู พี่เลี้ยง แม่ครัว และผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน
|
80.00 | |
2 | ๒. เพื่อให้ครู พี่เลี้ยง แม่ครัว และผู้ปกครอง ตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน ๒. ร้อยละ ๘๐ ของครู พี่เลี้ยง แม่ครัว และผู้ปกครองได้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน |
80.00 | |
3 | 3. เพื่อให้ครู พี่เลี้ยง แม่ครัว และผู้ปกครอง สามารถนำความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนไปใช้กับเด็กก่อนวัยเรียนได้ ๓. ร้อยละ ๘๐ ของครู พี่เลี้ยง แม่ครัว และผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการในระดับดีขึ้นไป
4. ร้อยละ 80 ของเด็กก่อนวัยเรียนทั้ง 6 ศูนย์ มีภาวะโภชนาการเป็นไปตามเกณฑ์ ภายในระยะเวลา |
80.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ 1. ประสานงานครู พี่เลี้ยงแต่ละศูนย์ฯ เพื่อชี้แจงรายละเอียดการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน 2. จัดเตรียมเอกสารประกอบการบรรยายโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนให้แก่ครู พี่เลี้ยง แม่ครัว และผู้ปกครองในศูนย์ศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 3. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนให้แก่ครู พี่เลี้ยง แม่ครัว และผู้ปกครองในศูนย์ศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาทั้ง 6 ศูนย์
ขั้นดำเนินการ
1. บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียนและความรู้จากการสังเคราะห์จากงานวิจัยเรื่องประสิทธิผลของการเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์ศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน
อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
๒. แบ่งกลุ่มครู พี่เลี้ยง แม่ครัว และผู้ปกครอง เป็น 4 ฐาน เพื่อเข้าฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับ
ภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ฐานที่ 1 ฐานการบันทึกและแปลกราฟการเจริญเติบโตและการอ่านฉลากบริโภคอาหาร
ฐานที่ 2 ฐานการทำแซนวิซ/แพนเค้กเพื่อสุขภาพ
ฐานที่ 3 ฐานการจัดถาดอาหารให้มีสีสันน่ารับประทาน
ฐานที่ 4 ฐานการจัดเครื่องดื่มสุขภาพเพื่อลูกน้อย
ขั้นสรุปผลการดำเนินการ
1. ประเมินความรู้ ความเข้าใจ ของครู พี่เลี้ยง แม่ครัว ผู้ปกครอง ในศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาโดยใช้แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน
2. ประเมินการมีส่วนร่วมการเข้าร่วมโครงการของครู พี่เลี้ยง แม่ครัว ผู้ปกครอง ในศูนย์เด็กก่อน
วัยเรียน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยใช้หลักฐานการเซ็นต์ชื่อเข้าร่วมโครงการ
3. ประเมินความพึงพอใจของครู พี่เลี้ยง แม่ครัว ผู้ปกครอง ในศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน อำเภอเมือง
จังหวัดสงขลา โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ
4. ประเมินภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนทั้ง 6 ศูนย์ โดยใช้โปรแกรมการแปลผลภาวะโภชนาการน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง
- ครู พี่เลี้ยง แม่ครัว และผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน
๒. ครู พี่เลี้ยง แม่ครัว และผู้ปกครอง ตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน
- ครู พี่เลี้ยง แม่ครัว และผู้ปกครอง สามารถนำความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนไปใช้กับเด็กก่อนวัยเรียนได้ ๔. ภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์ศึกษาเด็กก่อนวัยเรียนทั้ง 6 ศูนย์เป็นไปตามเกณฑ์
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2563 07:28 น.