กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการครอบครัวสัมพันธ์ชวนเดิน - วิ่ง
รหัสโครงการ 63=L3356-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม
วันที่อนุมัติ 25 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายถาวร คงศรี
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชกานต์ คงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.585,100.002place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลสถานะและศักยภาพด้านสุขภาพ ของตำบลนาท่อม จากรายงานด้านสุขภาพใน TCNAP และ RECAP ของตำบลนาท่อม และศักยภาพด้านสุขภาพ ดังนี้       ภาพรวมของตำบลนาท่อม  การเจ็บป่วย พบว่า มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามลำดับ ดังนี้ โรคความดันโลหิตสูง 1,487 ราย คิดเป็นร้อยละ 35.47 โรคเบาหวาน 556 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.36 โรคหลอดเลือดสมอง 74 คน คิดเป็นร้อยละ 1.76       มีทุนทางสังคม และทุนศักยภาพเสริมพลังของตำบลนาท่อม ได้แก่ กลุ่มช่วยเหลือกันในชุมชน ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุหมอพื้นบ้าน หมอนวดแผนโบราณ นวดแผนไทย หมอจับเส้น เป็นต้น มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นหน่วยบริการด่านหน้า สนับสนุนข้อมูลด้านสุขภาพ  มีกลุ่มองค์กรที่มีศักยภาพสนับสนุน ได้แก่ มีจำนวนอาสาสมัครผู้ดูแลสุขภาพในชุมชน มี อสม. 84 คน อผส. 7 คน กลุ่มกู้ชีพกู้ภัย กองทุนสุขภาพตำบล กลุ่มอสม. กองทุน สปสช. อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ชมรมกีฬาตะกร้อ ชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ กองทุนพัฒนาระบบบริการสถานีอนามัยตำบลนาท่อม ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานในชุมชนตำบลนาท่อม กองทุนสวัสดิการตำบล ชมรมจิตอาสาพัฒนา เครือข่ายจัดการอาหารปลอดภัย คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตำบลนาท่อม
พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพของคนนาท่อม     จากข้อมูล TCNAP พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพที่เก็บข้อมูลในจำนวน ๖๙๘ คน ได้สะท้อนให้เห็นประชากรในตำบลนาท่อมมีพฤติกรรมเสี่ยง อันดับ 1 คือ การดื่มสุราเป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 49.28 อันดับ 2 การสูบบุหรี่เป็นประจำ (มีการสูบบุหรี่ในทุกวัน) คิดเป็นร้อยละ 47.13 อันดับ 3 ไม่ได้ออกกำลังกายคิดเป็นร้อยละ 27.36 อันดับ 4 ไม่ได้ตรวจสุขภาพประจำปีคิดเป็นร้อยละ 19.05 อันดับ 4 ทำงานหนัก พักผ่อนน้อยคิดเป็นร้อยละ ๑๘.๗๗ ตามลำดับ ปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง
    จากข้อมูล TCNAP จากการสำรวจแสดงให้เห็นว่าประชาชนในตำบลนาท่อมที่มีปัญหาด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง ในจำนวน 549 คน อันดับ 1กลุ่มโรคความดันโลหิต คิดเป็นร้อยละ 68.12 อันดับ 2 โรคไขมันในเลือด คิดเป็นร้อยละ 29.14 อันดับ 3 กลุ่มโรคเบาหวานคิดเป็นร้อยละ 26.79 อันดับ 4 หอบหืดคิดเป็นร้อยละ 6.09     จากข้อมูลด้านสุขภาพดังกล่าวข้างต้นประกอบกับสถานการณ์การเปลี่ยนด้านสภาพแวดล้อมด้านทางสังคม ด้านเศรษฐกิจ ทางศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อมเห็นความสำคัญปัญหาด้านสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวเป็นสำคัญ ที่จะนำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่ขึ้นจนเป็นปัญหาครอบครัวได้ การไม่ได้ออกกำลังกายที่คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๓๖ ของพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ แม้จะเป็นอันดับที่ 3 แต่ก็เป็นปัจจัยการนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือ NCDs เมื่อครอบครัวเห็นความสำคัญ  เรียนรู้การมีกิจกรรมทางกาย อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ จะเป็นการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังได้ระดับหนึ่ง ดังนั้น ทางศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม ได้จัดให้มีโครงการ ครอบครัว.......ชวน เดิน-วิ่ง เพื่อให้ตระหนักถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์จะเป็นการป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงการเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรังได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

0.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-60 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

0.00
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 61 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

0.00
4 เพิ่มการเรียนรู้กิจกรรมในลักษณะ Active learning และ Active play ในชุมชนอย่างถูกวิธี

ร้อยละของกิจกรรมทางกายในชุมชนมีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning) 150 นาทีต่อสัปดาห์อย่างถูกวิธี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 320 25,800.00 4 25,800.00
18 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ประชาสัมพันธ์โครงการรับสมัครประชาชนในพื้นที่ 80 2,000.00 2,000.00
18 ก.ค. 63 - 10 ต.ค. 63 เรียนรู้ ออกแบบกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับกลุ่มวัย และเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ของบุคคลในครอบครัวของชุมชน 80 13,200.00 13,200.00
18 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ครอบครัว.....ชวนเดิน-วิ่ง ในชุมชน” 80 4,800.00 4,800.00
18 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 สรุป ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา 80 5,800.00 5,800.00

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการรับสมัครประชาชนในพื้นที่
กิจกรรมประชุมเตรียมงาน 1. ค่าจ้างทำเอกสารคู่มือ/สมุดบันทึกประกอบการทำกิจกรรม
2. จัดทำสื่อเอกสาร เพื่อเชิญชวนให้คนมีกิจกรรมทางกายลด ด้วยป้ายไวนิล
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) 1.ได้ครอบครัวที่มีสมาชิกทุกช่วงวัยสมัครเข้าร่วมกิจกรรมโครงการครอบครัว....เดิน – วิ่ง จำนวน 80 คน

กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ ออกแบบกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับกลุ่มวัย และเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ของบุคคลในครอบครัวของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ - คัดกรองผู้สมัคร ตรวจร่างกาย(ความดัน เบาหวาน ไขมัน) วัด น้ำหนัก ส่วนสูง และ BMI เก็บข้อมูลมีสมุดบันทึกรายย่อยให้ผู้สมัครก่อนเริ่มกิจกรรมโครงการ   - อบรมเพื่อเรียนรู้กิจกรรมทางกาย จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ วิทยาศาสตร์และการกีฬา โรงพยาบาลพัทลุง รพสต.บ้านนาท่อม หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง   - ออกแบบกิจกรรม/พื้นที่เส้นทางสาธารณะในชุมชนใช้ในกิจกรรมทางกายในการปรับสภาแวดล้อมไว้เพื่อรณรงค์อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพิ่มกิจกรรมทางกาย กิจกรรมการฝึกอบรม จำนวน 1 วัน
ผลผลิต (Output)
• สมาชิกครอบครัว ทุกช่วงวัยจำนวน 80 คนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้กิจกรรมทางกาย 150 นาทีต่อสัปดาห์ • สมาชิกจำนวน 80 คนมีข้อมูลคัดกรองสุขภาพก่อนดำเนินโครงการ

ผลลัพธ์ (Outcome) • ครอบครัวผู้เข้าร่วมโครงการทราบข้อมูลสุขภาพตัวเองก่อนทำกิจกรรม 80 คน • เกิดแผนการทำกิจกรรมทางกายและ สถานที่หรือเส้นทางรณรงค์เพื่อสร้างจูงใจให้ชุมชนมีกิจกรรมทางกายเพิ่ม

กิจกรรมที่ 3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ครอบครัว.....ชวนเดิน-วิ่ง ในชุมชน”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ 1. ประชาสัมพันธ์โครงการให้สมาชิกชมรมทราบและเชิญชวนครอบครัวในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม โดยการ สมัครลงทะเบียนกับ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม 2. รณรงค์การมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชนทุกช่วงเช้า เดิน-วิ่ง ตามความถนัด
3. ส่ง สปอร์ตให้หอกระจายข่าวเสียงตามสายในชุมชนช่วย เพื่อรณรงค์ให้มี กิจกรรมทางกายระดับตำบลเดือนละ 1 ครั้ง วันที่อาทิตย์สุดท้ายของเดือนจำนวน 3 ครั้ง
กิจกรรมการรณรงค์ จำนวน 3 ครั้ง ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) 1.จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ครอบครัวชวนครอบครัว ครั้งที่ 1,2,3
กิจกรรมที่ 4 สรุป ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา กิจกรรมดำเนินการ - คัดกรองผู้สมัครหลังทำกิจกรรม 3 เดือน ตรวจร่างกาย(ความดัน เบาหวาน ไขมัน) วัด น้ำหนัก ส่วนสูง และ BMI เก็บข้อมูลในสมุดบันทึกรายบุคคลผู้สมัครหลังกิจกรรมโครงการเพื่อคืนข้อมูล • กิจกรรมการฝึกอบรม จำนวน 1 วัน ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) • ครอบครัวทุกช่วงวัย จำนวน 80 คน มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) ร้อยละ 50 • ผลลัพธ์ เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่า BMI ที่เกิดจากกิจกรรมขยับกาย เพื่อลดความเสี่ยงการเป็นโรคเรื้อรัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การส่งเสริมให้ครอบครัวที่มีสมาชิกทุกช่วงวัยมีมีความรู้และตระหนักในกิจกรรมทางกายอย่างถูกวิธี
  2. ลดจำนวนการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจและผู้พิการ
  3. ลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการเจ็บป่วยในครอบครัว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2563 11:01 น.